TNN online ผลวิจัยชี้ "โควิด-19" ฝังใน DNA มนุษย์ เหมือนซากเชื้อไวรัส

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ผลวิจัยชี้ "โควิด-19" ฝังใน DNA มนุษย์ เหมือนซากเชื้อไวรัส

ผลวิจัยชี้ โควิด-19 ฝังใน DNA มนุษย์ เหมือนซากเชื้อไวรัส

งานวิจัยชี้ "ไวรัสโควิด-19" สามารถแทรกสารพันธุกรรมของตัวเองเข้าไปใน DNA มนุษย์ ทำให้อาจกลายเป็นซากเชื้อไม่แสดงอาการ

วันนี้( 12 ก.พ.64) ทีมวีจัยไบโอเทค สวทช. เผยผลศึกษา จากทีมวิจัยจากากมหาวิทยาลัย  Harvard และ MIT ความเป็นไปได้ที่ไวรัส SARS-CoV-2 หรือ ไวรัสโรคโควิด-19 จะสามารถส่งชิ้นส่วน RNA ของไวรัสไปฝังรวมกับ DNA ของโฮสต์อย่างเซลล์มนุษย์ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Integration ซึ่งคล้ายกับไวรัสในตระกูล HIV ที่เปลี่ยน RNA เป็น DNA สามารถแทรกไปอยู่ใน DNA ของโฮสต์ได้ เมื่อเซลล์นั้นแบ่งตัวสารพันธุกรรมที่ไวรัสฝากไว้ก็จะเพิ่มจำนวนตามไปด้วย ทำให้จีโนมของไวรัสอยู่กับเราไปตลอดชีวิตตราบใดที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเซลล์ที่ไวรัสฝากของเอาไว้ได้หมด 

งานวิจัยนี้พบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการหายดีแล้วหลายคน ยังสามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสได้อยู่ จึงเชื่อได้ว่าป่วยเหล่านั้นเซลล์ในร่างกายอาจจะมีสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 แฝงอยู่เหมือนกับกรณีที่พบในผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งเหมือนกับที่เรียกกันว่าซากไวรัส แต่ทีมวิจัยยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพราะบางกลไกยังไม่เหมือนกับ HIV  

นอกจากนี้ยังมีผลศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ในกลุ่ม ผู้ป่วยที่มีข้อมูลของปริมาณไวรัส (Viral load) และอาการของโรค (กลุ่มแสดงอาการหรือไม่) งานวิจัยของสเปน ดูผู้ป่วย 314 คน พบว่า ผู้ป่วยที่มีไวรัสต่ำ สามารถแพร่เชื้อต่อได้ ร้อยละ12 ส่วนผู้ป่วยที่มีไวรัสสูง จะแพร่เชื้อต่อได้ร้อยละ 24 ทีมวิจัยเชื่อว่าปริมาณไวรัสในตัวผู้ป่วยเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายของเชื้อ และ การแพร่เชื้อเกิดได้ง่ายสุดเมื่อการสัมผัสเกิดขึ้นที่ในครอบครัว เนื่องจากมีเวลาอยู่ด้วยกันนานทำให้การแพร่เชื้อเกิดได้สูงขึ้นไปอีก 

ทั้งนี้ ยังพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ มีการสัมผัสบุคคลอื่นมีจำนวนถึง 421 ครั้ง และมีจำนวน181 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 43 สามารถแพร่เชื้อไปให้คนอื่นและทำให้คนที่ได้รับเชื้อป่วยหนักได้ หลังพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไม่มีไข้ กลับมีปริมาณไวรัสสูงเพียงแต่ไม่แสดงอาการให้สังเกตได้

ข้อมูลตรงนี้แสดงให้เห็น ความเชื่อที่ว่าคนที่มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการใดๆเพราะมีไวรัสอยู่ในร่างกายน้อยจึงไม่น่าจะถูกต้อง จากการศึกษานี้ได้เปรียบเทียบปริมาณไวรัสในคนที่มีไข้กับไม่มีไข้ มีไวรัสในตัวสูงทั้งคู่  จากข้อมูลตรงนี้อาจทำให้ต้องย้อนกลับมาคิดว่า การตรวจวัดไข้ เพื่อการคัดกรองอย่างเดียวเพียงพอสำหรับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อหรือไม่ ดังนั้นการที่สวมหน้ากากอนามัยทุกคนจึงป้องกันได้ดีที่สุด



เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง