TNN จีนจะเดินหน้าอย่างไรในการพัฒนาชนบทในปีมังกร (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

TNN

คอลัมนิสต์

จีนจะเดินหน้าอย่างไรในการพัฒนาชนบทในปีมังกร (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

จีนจะเดินหน้าอย่างไรในการพัฒนาชนบทในปีมังกร (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

จีนจะเดินหน้าอย่างไรในการพัฒนาชนบทในปีมังกร (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

จีนจะเดินหน้าอย่างไรในการพัฒนาชนบทในปีมังกร (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน


“ขอให้ท่านผู้อ่านเปิดศักราชใหม่พร้อมกับความสุขทั้งกายและใจนะครับ” แต่ในปีมังกร จีนก็ยังมี “งานใหญ่” มากมายรออยู่ หนึ่งในนั้นได้แก่ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทอย่างเต็มกำลัง ...


ท่านผู้อ่านคงทราบกันดีว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รายได้ของผู้คนในพื้นที่ชนบทขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าของคนในชุมชนเมือง แต่การเพิ่มรายได้ของคนในชนบทก็ยังเป็น “การเดินทางไกล” ที่จีนต้องมุ่งมั่นทำต่อไป

โดยขณะที่เรากำลังเตรียมฉลองปีใหม่สากลกัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จัดประชุมคณะทำงานกลางด้านชนบท (Central Rural Work Conference) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและความท้าทายที่จะต้องเผชิญในการเดินหน้าพัฒนางานด้านการเกษตร พื้นที่ชนบท และเกษตรกรในปี 2024


สี จิ้งผิง ผู้นำจีนกล่าวในระหว่างการเป็นประธานที่ประชุมว่า “... เรียนรู้จากประสบการณ์ของโครงการฟื้นฟูชนบทสีเขียว (Green Rural Revival Program) พยายามดําเนินนโยบายเฉพาะ ทําตามขั้นตอนที่มั่นคงเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาความก้าวหน้าและบรรลุผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน”


สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเตรียมภารกิจเพื่อพัฒนาการฟื้นฟูชนบทแบบทั่วกระดาน และส่งเสริมความทันสมัยของชนบทในปี 2024 ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร การดํารงชีวิตของผู้คนในชนบท และการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคเกษตรกรรม


สี จิ้นผิงเคยกล่าวเอาไว้ว่า “ชามข้าวจีนต้องเต็มไปด้วยอาหารจีน” สิ่งนี้สะท้อนว่า การรักษา “ชามข้าว” และ “ความมั่นคงด้านอาหาร” ของจีนนับเป็น “ความปรารถนาทางการเมือง” และเป็นเป้าหมายที่ท้าทายยิ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน


จีนจะเดินหน้าอย่างไรในการพัฒนาชนบทในปีมังกร (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ภาพจาก AFP


เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนมีระดับการพึ่งพาตนเองด้านอาหารที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 93.6% ในปี 2000 เหลือเพียง 65.8% ในปี 2020 ทำให้จีนต้องพึ่งพาการนําเข้าอาหารที่มากขึ้นโดยลำดับ 


ทั้งนี้ ในปี 2022 จีนนําเข้าธัญพืชสูงถึง 140 ล้านตัน นับเป็นประเทศที่นำเข้าอาหารรายใหญ่สุดของโลก แถมยังนำเข้ามากที่สุดจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่กรณีสงครามการค้า (Trade War) ในช่วงหลายปีหลังอีกด้วย


ที่ประชุมคณะทำงานกลางฯ จึงเน้นย้ําถึงการผลิตธัญพืชและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สําคัญ อันได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และพืชตระกูลถั่ว โดยให้คํามั่นว่าจะรักษาเสถียรภาพพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตธัญพืชต่อไร่


โดยในชั้นนี้ จีนกำหนดเป้าหมายผลผลิตธัญพืชในปี 2024 ไว้ที่มากกว่า 650 ล้านตัน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างการคุ้มครองและพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกอย่างเข้มแข็ง ปรับแต่งกลไกการประสานงานในการปกป้องปริมาณ คุณภาพ และระบบนิเวศของพื้นที่เพาะปลูก และการพัฒนาเกษตรทันสมัยอย่างจริงจังต่อไป


เป้าหมายมากกว่า 650 ล้านตันดังกล่าวนับว่าอยู่ในระดับเดียวกับเป้าหมายผลผลิตในปี 2023 ซึ่งทำสถิติแตะระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่กว่า 680 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 ติดต่อกัน 


ประเด็นหลังนี้ถือเป็นความสำเร็จที่จีนภาคภูมิใจ ถึงขนาดว่าผู้นำจีนหยิบยกไปกล่าวในการอวยพรปีใหม่เมื่อวันสิ้นปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว


ทั้งนี้ ส่วนสำคัญของความสำเร็จเกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเกษตรในช่วงที่ผ่านมา จนนำจีนสู่ “เกษตรทันสมัย”


จีนจะเดินหน้าอย่างไรในการพัฒนาชนบทในปีมังกร (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ภาพจาก AFP

 


ในหลายปีหลัง เราได้เห็นการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรอย่างแพร่หลาย จากสถิติพบว่า ในปี 2023 อัตราการใช้เครื่องจักรเพื่อการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวพืชผลทั่วประเทศอยู่ในระดับกว่า 73% และจํานวนเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตรที่เชื่อมโยงกับระบบดาวเทียมฯ ก็สูงถึง 1.8 ล้านหน่วย 


หลายเทคโนโลยีถูกนำไปใช้อย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things) บิ๊กดาต้า ระบบดาวเทียมนำทางเป๋ยโต่ว (BeiDou Navigation Satellite System) ที่นำไปสู่การเกษตรแม่นยํา การชลประทานอัจฉริยะ และโดรนเพื่อการป้องกันโรคพืชและแมลง 


นี่สะท้อนถึงความ “อัจฉริยะ” ที่เป็นอัตโนมัติด้านการเกษตรจีนได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ในเมืองโช่วกวง (Shouguang) มณฑลซานตง เกษตรกรสามารถใช้สมาร์ตโฟนเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ขณะที่เซ็นเซอร์ IoTs ที่ติดตั้งในเรือนกระจกก็ให้ข้อมูลสําคัญที่สามารถช่วยเกษตรกรควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น


ขณะที่ในนครฝูโจว (Fuzhou) เมืองเอกของมณฑลฝูเจี้ยน ทางตอนใต้ของจีน เกษตรกรสามารถสำรวจพื้นที่เพาะปลูกด้วยแอปพลิเคชันในมือถือที่แจ้งเตือนเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ผิดกฎหมายบนที่ดินของพวกเขา

เมล็ดเรพซีด (Rapeseed) ชนิดใหม่ที่วงจรการเพาะปลูกที่สั้นลง แต่สามารถเพิ่มผลผลิตน้ำมันได้ ก็ได้รับการปลูกอย่างกว้างขวางในจีอัน (Ji’An) มณฑลเจียงซี ทางตอนใต้ของจีน


นอกเหนือจากการอัพเกรดอุปกรณ์การเกษตรแล้ว นักวิจัยยังพัฒนาการเพาะปลูกสายพันธุ์ทางการเกษตรใหม่อีกด้วย ในปีที่ผ่านมา จีนได้พัฒนากุ้งขาว 12 สายพันธุ์ใหม่ และไก่เนื้อสายพันธุ์ใหม่ที่คิดเป็นกว่า 20% ของตลาดการบริโภคภายในประเทศ


การแก้ไขปัญหาการสูญเสียที่ดินเพื่อการเพาะปลูกเป็นอีกภารกิจสำคัญที่จีนดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง อันที่จริง จีนนับว่ามีพื้นที่เพาะปลูกน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรโดยรวม 


กล่าวคือ จีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ในเชิงภูมิศาสตร์ แต่ก็มีความหลากหลายเชิงภูมิศาสตร์ โดยจีนมีที่ราบสูงอยู่ในวงกว้างที่ทอดยาวจากเทือกเขาหิมาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณซีกตะวันตกของจีน อาทิ ทิเบต ชิงไห่ ซินเจียง และเฉิงตู 


ในอดีต พื้นที่เหล่านี้ถูกใช้เพื่อการทำปศุสัตว์แบบโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้ไม่มีใครสนใจดูแลรักษาคุณภาพของดิน เวลาผู้คนมีโอกาสไปท่องเที่ยวในพื้นที่นอกเมืองในย่านนั้น ก็อาจจะตื่นตาตื่นใจไปกับฝูงสัตว์นานาชนิดที่เลี้ยงอยู่ในทุ่งหญ้าสองฟากฝั่งถนน โดยไม่ทันนึกถึงปัญหาคุณภาพดินที่เสื่อมโทรมโดยลำดับ


แล้วรัฐบาลจีนดำเนินการอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินเพิ่อการเพาะปลูก เราไปคุยกันต่อในตอนหน้า ...




ภาพจาก AFP


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง