TNN online กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4

กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงวันนี้เจอชายไทย 1 ราย เดินทางจากประเทศดีอาร์ คองโก ตรวจหาเชื้อมีโอกาสที่จะเป็นโอไมครอน ขณะที่ ผลตรวจ 2 หญิงไทย ยืนยันพบเป็นสายพันธุ์โอไมครอน

วันนี้ (9 ธ.ค.64) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าววันนี้ ระบุว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังเรื่องการตรวจรหัสพันธุกรรมมาโดยตลอด 1 พ.ย.-8 ธ.ค. ได้ตรวจแล้วด้วย 2 วิธีคือ 1. การตรวจเฉพาะตำแหน่งเฉพาะยีน เป็นเบื้องต้น และ 2. การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เพื่อการยืนยันสายพันธุ์ 

โดยในส่วนของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและการสุ่มตรวจคนที่อยู่ในประเทศไทย โดยตรวจทั้งหมด 1,649 ตัวอย่าง เจอเดลต้าเกือบทั้งหมด 99% กว่าๆ มี 4 ราย เป็นโอไมครอน คิดเป็นประมาณไม่ถึง 1% ดังนั้นศัตรูในประเทศไทยคือเชื้อเดลต้า

กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ผลการตรวจตำแหน่งกลายพันธุ์พบเพิ่มอีก 1 รายที่เข้าข่ายโอไมครอน โดยเป็นเพศชาย สัญชาติไทย อายุ 41 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ UN เดินทางจากประเทศดีอาร์ คองโก โดยเข้าประเทศไทยในกลุ่มของ Test & Go มีประวัติเข้ารับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว 2 เข็ม หลังจากทำการตรวจหาเชื้อ พบตำแหน่งกลายพันธุ์สอดคล้องกับตำแหน่งที่พบในสายพันธุ์โอไมครอน

อย่างไรก็ตาม ต้องรอผลการตรวจสายพันธุ์ยืนยันอีกครั้ง คาดว่าออกภายใน 1-2 วัน ส่วนไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อ กรมควบคุมโรคจะสรุปอีกครั้ง

กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4

ขณะเดียวกัน ผลตรวจคัดกรองโอไมครอน 2 หญิงไทย ที่เดินทางมาจากประเทศไนจีเรียแล้วพบติดโควิด ผลจากห้องปฏิบัติด้วยการตรวจหาไวรัสทั้งตัว ยืนยันพบเป็นสายพันธุ์โอไมครอน

กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4


ไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อโอไมครอน รายที่ 2

หญิงไทยอายุ 46 ปี อาชีพล่าม ประจำคริสตจักรแห่งหนึ่ง (ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19) มีไทม์ไลน์การติดเชื้อดังนี้

เข้าร่วมประชุมตัวแทนคริสตจักร เมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย ระหว่างวันที่ 13-23 พฤศจิกายน 2564

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเดินทางกลับได้ตรวจ RT-PCR ที่ไนจีเรีย ผล negative

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เริ่มป่วย มีอาการไอ เจ็บคอเล็กน้อย

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 น. เดินทางถึงไทย Flight QR803 เข้า ASQ ที่โรงแรมแห่งหนึ่งผล RT-PCR - Detected (พบเชื้อ)

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 รักษาตัวที่ Hospitel แห่งหนึ่งได้รับยาฟาวิพิราเวียร์

วันที่ 5 ธันวาคม 2564 คุมไว้สังเกตเพิ่มเติมอีก 7 วัน ประสานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำ specimen เดิมตรวจย้อนหลังหา Omicron

กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4

ไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อโอไมครอน รายที่ 3

หญิงไทย อายุ 36 ปี อาชีพล่ามประจำคริสตจักรแห่งหนึ่ง ยังไม่ได้รับวัคซีน เดือนกรกฎาคม 2564 เคยป่วยติดเชื้อโควิด รักษาโรงพยาบาลบุษราคัม

วันที่ 13 - 23 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมประชุมตัวแทนคริสตจักร เมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเดินทางกลับได้ตรวจ RT-PCR ที่ไนจีเรีย ผล negative

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 น. เดินทางถึงไทย flight QR 803 เข้า ASQ โรงแรมแห่งหนึ่ง ผล RT-PCR-Detected (พบเชื้อ)

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 เริ่มป่วย ไอ เจ็บคอ เล็กน้อย และเข้ารักษาตัวที่ Hospitel ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์

วันที่ 5 ธันวาคม 2564 คุมไว้สังเกตเพิ่มเติมอีก 7 วัน และประสานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำ specimen เดิมตรวจย้อนหลังหา Omicron

กรมวิทย์ฯ พบชายไทยทำงาน UN ติดโควิด คาดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นรายที่ 4

นพ.ศุภกิจ สรุปข้อมูลผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่ตรวจพบในประเทศไทย ณ วันที่ 9 ธ.ค.64 กรมวิทยาศาสตร์ ได้มีการตรวจหาเชื้อผู้ที่เดินทางเข้าไทยย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2564 กว่า 1,600 ราย พบผู้ติดเชื้อโอมิครอน 3 ราย และผู้เข้าข่ายติดเชื้อโอไมครอน 1 ราย ทั้งหมดเป็นเชื้อนำเข้าจากต่างประเทศ เดินทางผ่านระบบคัดกรอง ขณะที่ อีก 1 ราย รอผลยืนยันอีกครั้ง

ขณะเดียวกัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างเพาะเลี้ยงเชื้อโอไมครอน เพื่อทดสอบหาภูมิหลังฉีดวัคซีน ว่าจะส่งผลต่อประสิทธิภาพต่อภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีนหรือไม่ โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกสักระยะ เนื่องจากปริมาณเชื้อน้อยอยู่ 

ส่วนความกังวลเชื้อโอไมครอนกลายพันธุ์ นพ.ศุภกิจ ยืนยันว่า การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ยังสามารถตรวจหาเชื้อได้อยู่ ส่วนกรณีเชื้อโอไมครอนไลท์ที่พบในต่างประเทศนั้น ขอให้ประชาชนอย่ากังวลจนเกินไป หากสายพันธุ์โอไมครอนไม่รุนแรง หรือต่อให้มาแทนสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งอาการไม่รุนแรงกว่า มองว่าอาจจะดีกว่า


ภาพจาก แถลงข่าวกระทรวงสาธารณสุข

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง