TNN online นาซาส่งงานวิจัยของเด็กมัธยม 30 ชิ้น ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์

TNN ONLINE

Tech

นาซาส่งงานวิจัยของเด็กมัธยม 30 ชิ้น ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์

นาซาส่งงานวิจัยของเด็กมัธยม 30 ชิ้น ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์

นาซาส่งโครงงานวิจัยของเด็กมัธยมต้นและมัธยมปลายในสหรัฐอเมริกา 30 แห่ง จำนวนงานวิจัย 30 ชิ้น ขึ้นไปทดลองบนชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์

วันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา นาซาได้ทำการคัดเลือกโครงงานวิจัยของเด็กมัธยมต้นและมัธยมปลายในสหรัฐอเมริกา 30 แห่ง จำนวนงานวิจัย 30 ชิ้น โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแข่งขัน TechRise Studen Challenge ที่จัดขึ้นโดย TechRise หน่วยงานในสังกัดของนาซา 


แนวคิดของกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมการศึกษาชั้นบรรยากาศใต้วงโคจรและส่งเสริมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้กับนักเรียนมัธยมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในอนาคตสามารถพัฒนาและเติบโตเป็นทีมงานวิศวกรหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานอวกาศ 


ผลงานวิจัยทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกถูกส่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์โดยใช้บอลลูนขนาดใหญ่ บริเวณฐานปล่อยเมืองทูซอน รัฐแอริโซนา โครงงานวิจัยทั้ง 30 ชิ้น ของนักเรียนอยู่บนชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์เป็นเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ที่ระดับความสูง 96,000 ฟุต หรือ 29 กิโลเมตร ก่อนถูกนำกลับสู่พื้นโลกเพื่อศึกษาข้อมูล


ตัวอย่างโครงงานวิจัยของนักเรียนมัธยมที่น่าสนใจ เช่น การวิจัยสารมลพิษในชั้นบรรยากาศ การเรียนรู้ของเครื่องในวงโคจรต่ำของโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อากาศ คุณภาพและหัวข้อการสำรวจอวกาศและการสังเกตโลกอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนจากโรงงานต่าง ๆ เป็นเวลากว่า 4 เดือน


สำหรับโครงงานวิจัยที่โดดเด่น เช่น วัดผลกระทบของระดับความสูงที่มีต่อการส่งพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ เซ็นเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ที่ระดับความสูงต่าง ๆ ระหว่างการขึ้นและลงของบอลลูน โดยเป็นผลงานของนักเรียนมัธยม Herberger Young Scholars Academy ในเมืองเกลนเดล รัฐแอริโซนา


สำหรับโครงการแข่งขัน TechRise Studen Challenge ครั้งต่อไปคาดว่าจะเริ่มต้นในเดือนสิงหาคมนี้ โดยนาซาจะเปิดให้โรงเรียนต่าง ๆ ส่งโครงงานวิจัยเข้าร่วมโครงการ ก่อนทำการคัดเลือกเพื่อส่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของหน่วยงานด้านอวกาศที่พยายามเชื่อมต่อเทคโนโลยีและเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ เยาวชนได้ร่วมโครงการสำรวจอวกาศ


ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ NASA

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง