TNN online "มะกรูด" ผลศึกษาจีนพบสารมีฤทธิ์ต้านโควิดในเซลล์มนุษย์-สัตว์

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

"มะกรูด" ผลศึกษาจีนพบสารมีฤทธิ์ต้านโควิดในเซลล์มนุษย์-สัตว์

มะกรูด ผลศึกษาจีนพบสารมีฤทธิ์ต้านโควิดในเซลล์มนุษย์-สัตว์

นักวิจัยจีน พบส่วนประกอบใน "มะกรูด" มีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับเซลล์มนุษย์และในหนูแฮมสเตอร์ซีเรียสีทอง

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ผลการศึกษาจากคณะนักวิจัยของสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน พบส่วนประกอบของพืชตระกูลส้มอย่าง มะกรูด มีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับเซลล์

วารสารแอนติไวรัล รีเสิร์ช (Antiviral Research) อ้างอิงหลักฐานการทดลองที่ระบุว่า เบอร์กามอตติน (Bergamottin) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพตามธรรมชาติของมะกรูด อาจมีศักยภาพยับยั้งเชื้อไวรัสโควิดในเซลล์มนุษย์และในหนูแฮมสเตอร์ซีเรียสีทอง โดยสามารถสกัดกั้นการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ปกติ (wild-type) รวมถึงสายพันธุ์อัลฟาและเบตาที่กลายพันธุ์ใหม่

ส่วนประกอบของมะกรูดชนิดนี้แทรกแซงวัฏจักรชีวิตของเชื้อไวรัสหลายขั้นด้วยการปิดกั้นเชื้อเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้าน โดยจะขัดขวางการหลอมรวมระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์กับโปรตีนหนาม และลดการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสโควิด

การทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่า การป้อนเบอร์กามอตตินให้แฮมสเตอร์ซีเรียสีทองผ่านทางปาก ปริมาณ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสโควิดในกระดูกจมูกและเนื้อเยื่อปอดของหนู ขณะความเสียหายของปอดและภาวะน้ำหนักตัวลดลงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมีแนวโน้มดีขึ้นหลังการรักษา

การศึกษาก่อนหน้านี้เผยว่าเบอร์กามอตตินในมะกรูดถูกนำไปใช้รักษาก้อนเนื้อร้ายหลายชนิด อาทิ มะเร็งกระเพาะอาหาร ทั้งในการทดลองในหลอดทดลองและสิ่งมีชีวิต

ทั้งนี้ ผลการศึกษาเสริมว่า เบอร์กามอตตินมีศักยภาพการใช้งานทางคลินิกที่หลากหลายสำหรับต่อสู้กับโรคโควิด-19 และอาจนำไปใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการต้านเชื้อไวรัสด้วย





ภาพจาก TNN Online / รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง