TNN online สบส.เผย ครม.ชะลอถอดโรคโควิด-19 ออกจาก UCEP คงโรคฉุกเฉินมีสิทธิทุกที่

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

สบส.เผย ครม.ชะลอถอดโรคโควิด-19 ออกจาก UCEP คงโรคฉุกเฉินมีสิทธิทุกที่

สบส.เผย ครม.ชะลอถอดโรคโควิด-19 ออกจาก UCEP คงโรคฉุกเฉินมีสิทธิทุกที่

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผย คณะรัฐมนตรียังคงระบบดูแลผู้ป่วยโควิดเป็น UCEP เหมือนเดิม ยังไม่ปรับระบบ โดยโควิด-19 ยังเป็นโรคฉุกเฉินสถานพยาบาลทุกสังกัดรัฐ-เอกชน ยังคงต้องรับการดูแลไม่สามารถปฏิเสธได้ 

วันนี้ (22 ก.พ.65) ที่ ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ระบุถึงแนวทางการรักษาและเบิกจ่ายโควิด-19 "UCEP PLUS" ที่จะเริ่ม 1 มีนาคมนั้น ในการปรับระบบบริการรักษาโรคโควิดตามสิทธิ์ ส่วนผู้ป่วยโควิดสีเหลือง สีแดงสามารถใช้บริการได้ทุกสถานพยาบาลและทุกสิทธิ์  

เบื้องต้นวันนี้ ได้มีการนำอัตราค่าใช้จ่ายเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงสาธารณสุขกลับไปทบทวนกระบวนการและการทำความเข้าใจกับประชาชนในช่องทางการติดต่อการรักษาก่อน โดยขอให้ยังคงระบบดูแลผู้ป่วยโควิดยังเป็น UCEP โควิดเหมือนเดิมยังไม่ปรับระบบ

โดยโรคโควิด-19 ยังเป็นโรคฉุกเฉินสถานพยาบาลทุกสังกัดรัฐ-เอกชน ยังคงต้องรับการดูแล ไม่สามารถปฏิเสธได้ หากไม่มีศักยภาพในการดูแลต้องส่งต่อ และต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินมัดจำก่อน

ขณะที่ Hospitel ยังคงเป็นกระบวนการหนึ่งที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประกาศเป็นสถานพยาบาลชั่วคราว ในการดูแลผู้ป่วยโควิด ขณะนี้ มี 200 แห่ง มีเตียงรองรับ 36,000 เตียง อัตราการเข้าพักอยู่ที่ ร้อยละ 30 ส่วนใหญ่รักษากลุ่มอาการน้อย เบื้องต้นมีการขอมาเปิดเพิ่ม 2-3 แห่ง 

สบส.เผย ครม.ชะลอถอดโรคโควิด-19 ออกจาก UCEP คงโรคฉุกเฉินมีสิทธิทุกที่

ส่วนกรณีที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ก.พ.65 ที่เสนอโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพให้นำโรคโควิด-19 ออกจาก "UCEP" ภาวะวิกฤติฉุกเฉิน นั้น เบื้องต้นจะไม่เป็นผลเพราะยังไม่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้ให้กระทรวงสาธารณสุขกลับมาทบทวนระบบการรักษาก่อน 

นอกจากนี้ นพ.ธเรศ กล่าวถึงการตรวจคัดกรองโควิด-19 ว่า ยังคงให้การตรวจชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเอง หรือ ATK เป็นระบบแรกก่อน หากพบผลบวก จะเข้าระบบการรักษา HI หรือ CI ในพื้นที่ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ติดเชื้อโควิด

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อโควิค-19 ทำประกันไว้แล้วบริษัทประกันมีการเรียกหาผลตรวจโควิดด้วยวิธี RT-PCR เพื่อนำมาประกอบว่าเป็นผู้ป่วยโควิดจริง เบื้องต้น นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งหนังสือไปยัง คปภ.ให้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกับบริษัทประกัน ว่าผู้ป่วยโควิดไม่ว่าจะเข้าสู่ระบบการรักษา HI หรือ CI หรือ Hospital ให้เป็นผู้ป่วยโควิดจริง.


ภาพจาก ทีมข่าว TNN ช่อง 16 , AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง