TNN จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

TNN

คอลัมนิสต์

จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน


ผมมีโอกาสพูดคุยกับคณะผู้ประกอบการไทยที่พามาส่องจีนเกี่ยวกับปัญหาของบ้านเมืองของเราในหลายเรื่อง ซึ่งเรื่องหนึ่งที่แลกเปลี่ยนกันมากก็ได้แก่ เรื่องการพัฒนาคน 


บางคนตั้งประเด็นด้วยความสงสัยว่า “ทำไมจีนจึงพัฒนาคนของเขาให้มีคุณภาพได้ดีเช่นนี้” บ้างให้ความสนใจในประเด็นนี้เพราะว่ากำลังรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจส่งลูกหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ และอยากได้คำแนะนำว่า ควรส่งไปจีนหรือไม่ อย่างไร 


ผมก็เลยรับปากว่าจะรวบรวมข้อมูลเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาการศึกษาของจีนมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องคิดยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย ...


ก่อนอื่น ผมเรียนว่า ในอดีต จีนไม่ได้มีระบบการศึกษาที่ดีดังเช่นปัจจุบัน แต่ด้วยสภาพปัจจัยแวดล้อมโดยรวมที่มีระดับการแข่งขันสูง ทำให้คนจีน “ใฝ่รู้” “คิดเก่ง” และ “ทำเก่ง” อยู่เป็นทุนเดิม


คนที่ไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาทิ คนขับรถแท๊กซี่ และพนักงานเสิร์ฟอาหาร ต่างติดตามข่าวสารและมีความสามารถในการสื่อสารด้วยมุมมองความคิดที่เฉียบคม


หลายคนรู้จักประเทศไทยมากจนน่าแปลกใจ เคยมาเที่ยวเมืองไทยหลายครั้ง กินอาหารไทยจนมีร้านโปรดในเมือง บ้างก็รู้จักคำทักทายในภาษาไทย และจำนวนมากรู้ว่าพวกเราพูดภาษาไทยกัน นัยว่าดูละครไทยผ่านโลกสื่อสังคมออนไลน์จนคุ้นหู ผมจึงชอบหาโอกาสพูดคุยกับคนจีน เพราะจะได้เรียนรู้หลายสิ่ง


จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร


ในส่วนของการพัฒนาด้านการศึกษา ภายหลังการเปิดประเทศสู่ภายนอกเมื่อราว 45 ปีที่แล้ว จีนพยายามพัฒนาระบบการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง และเปิดเสรีด้านการศึกษาตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้กับองค์การการค้าโลกโดยลำดับ


ปัจจุบัน จีนมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษารวมกว่า 3,000 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศที่ใหญ่กว่าไทยราว 18 เท่าตัวบางเมืองมีมหาวิทยาลัยนับร้อยแห่ง จึงต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายด้านและระดับในเวลาเดีบวกัน อาทิ การแข่งขันระหว่างสถาบันการศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียง การพัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพควบคู่ไปกับการลดความเหลื่อมล้ำด้านศึกษาในระดับประเทศ


แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาตลอดหลายปีที่ผ่านมาทั้งในการลงทุนด้านการศึกษาและความเป็นสากลของมหาวิทยาลัย และความร่วมมืออันดียิ่งระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่มี“คุณภาพสูง” เป็นเป้าหมายเดียวกัน ก็ทำให้ระบบและผลผลิตด้านการศึกษาจีนก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละภาคส่วนของจีน


ท่านผู้อ่านอาจทราบว่า ย้อนกลับไป 40 ปีก่อน จีนนิยมใช้คำว่า “การพัฒนา”ขณะที่ 20 ปีต่อมา จีนเปลี่ยนมาใช้คำว่า “การพัฒนาเชิงคุณภาพ” และในช่วง 5 ปีและอนาคตอันใกล้ จีนหันมาใช้คำว่า “กาารพัฒนาคุณภาพสูง” พัฒนาการดังกล่าวเกิดขึ้นกับด้านการศึกษาเช่นเดียวกัน


ในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าว เราจึงเห็นการพัฒนาคนของจีนเปลี่ยนจากการการใช้คำว่า “บุคลากร” ไปสู่ “ทรัพยากรมนุษย์” และ “ผู้ที่มีพรสวรรค์” ตามลำดับ


การพัฒนาสถาบันการศึกษาก็เป็นเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญอย่างมาก และเพื่อสะท้อนสถานะด้านการศึกษาของจีนได้อย่างเหมาะสม ผมก็ขอใช้การประเมินของ QS World University Rankings ที่จัดอันดับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลกมานับแต่ปี 2004


จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร


ข้อมูลระบุว่า คนจีนติดตามผลการประเมินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในจีนถึงปีละ 450 ล้านคน ครับผมไม่ด้พิมพ์ตัวเลขผิด ซึ่งสะท้อนถึงชื่อเสียงและการให้การยอมรับอย่างกว้างขวางของการประเมินนี้ในหมู่พ่อแม่ผู้ปกครองชาวจีน

จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World ประจำปี 2023 พบว่า จีนมีส่วนแบ่งมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับมากเป็นอันดับ3 ของโลก ตามหลังสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร


โดยจีนมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่จำนวน 71 แห่ง ขณะที่อันดับ 1 และ 2 มีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ 201 และ 90แห่ง ตามลำดับ 


ผลจากการจัดอันดับด้านการศึกษาดังกล่าวในปี 2023 จีนยังนับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในหลายมิติ 


ประการแรก จีนมีมหาวิทยาลัยที่ทะยานขึ้นไปติด 15 อันกับแรกของ QS Worldเป็นครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยปักกิ่งขยับจากอันดับ 18 เมื่อปีก่อนเป็น 12 ในปีนี้ และมหาวิทยาลัยชิงหัวจากอันดับที่ 17 เป็น 14

ในอีกประการหนึ่ง จีนก็มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจำนวน 8แห่งติดอยู่ในลิสต์มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก 200 อันดับแรกขณะที่จำนวน5แห่งติดท๊อป 100เทียบกับเพียง 1 แห่ง (มหาวิทยาลัยปักกิ่ง) เมื่อ 20 ปีก่อน


จีนปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างไร จึงสร้างคนคุณภาพสูงได้ (ตอน 1) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร


ลิสต์รายชื่อสถาบันการศึกษา 10 อันดับแรกใน QS World Ranking 2023

              

1. มหาวิทยาลัยปักกิ่ง อันดับ 12

2. มหาวิทยาลัยชิงฮวา อันดับ 14

3. มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น อันดับ 34

4. มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง อันดับ 42

5. มหาวิทยาลัยเจียวทงเซี่ยงไฮ้ อันดับ 45

6. มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจีน อันดับ 94

7. มหาวิทยาลัยหนานจิง อันดับ 133

8. มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น  อันดับ 194

9. มหาวิทยาลัยถงจี้ (เซี่ยงไฮ้) อันดับ 212

10. สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน อันดับ 217


คราวหน้าผมจะมาเล่าถืงโครงการพัฒนาสถาบันการศึกษาของจีนที่รัฐบาลจีนโดยกระทรวงศึกษาธิการที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ได้ริเริ่มและดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ จนนำไปสู่ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม อดใจรอหน่อยนะครับ ...


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง