TNN online ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า สะท้อนมุมมอง ว่าด้วยเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว

TNN ONLINE

สังคม

ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า สะท้อนมุมมอง ว่าด้วยเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว

ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า สะท้อนมุมมอง ว่าด้วยเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว

ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า สะท้อนมุมมอง ว่าด้วยเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว ชี้ไม่ใช่การทารุณกรรมสัตว์

วันนี้ (5ก.ค.63) เอ็ดวิน เจ วิค ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า ระบุว่า ในช่วง3-4ปี ที่ผ่านมา มีชาวบ้าน ติดต่อให้ดูแลลิงกังเก็บมะพร้าว ตอนนี้มีประมาณ30-40 ตัว ซึ่งตั้งแต่มีข่าวการทารุณกรรมลิงกัง เนื่องจากมีการใช้งานให้เก็บมะพร้าวนั้น พบว่า ทุกสัปดาห์ จะมีชาวบ้านติดต่อนำลิงกังมาให้เลี้ยงเพิ่มขึ้น ขณะที่สถานการณ์ลิงกังเก็บมะพร้าวในประเทศไทย พบว่า ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่า ในอนาคต จะหมดไปอย่างแน่นอน โดย ลิงกังที่ถูกนำมาเลี้ยง จะมีรูปร่างใหญ่ แข็งแรง แต่จะมีอาการเครียด เนื่องจากถูกเลี้ยงให้อยู่ในบ้าน อยู่กับคน มีการล่ามโซ่ ปัญหาสำคัญ คือ ไม่สามารถสื่อสาร เข้าฝูงกับลิงตัวอื่นได้ จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ต้องเลี้ยงดูแลลิงแยกกรงต่อตัว

ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า สะท้อนมุมมอง ว่าด้วยเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว

ส่วนกระแสข่าวการใช้ลิงกังเก็บมะพร้าวว่าทำงานหนักหรือไม่ เอ็ดวิน ระบุว่า จากการไปดูงานในพื้นที่ภาคใต้ เช่น จังหวัด ชุมพร ประจวบฯ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง ซึ่ง ไม่เคยเห็นว่ามีการใช้แรงงานลิงกังที่หนักอย่างที่ถูกกล่าวอ้าง ส่วนมาก1ครอบครัว ที่เลี้ยงลิงเก็บมะพร้าว จะออกไปเก็บมะพร้าวที่สวนประมาณ4-5 วัน ไม่ได้มีการเก็บมะพร้าวทุกวัน และที่บอกว่ามีการเก็บมากถึง1,000ลูกต่อวัน เป็นไปไม่ได้

ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่เลี้ยงลิงกัง จะล่ามโซ่ หรือผูกเชือกไว้ จะไม่ปล่อยลิงเนื่องจากอาจไปกัดคนได้ แต่สำหรับที่มูลนิธิ จำเป็นที่ต้องเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน คือ มีกรงที่ปลอดภัย กว้างพอ ที่ลิงสามารถอยู่ได้ ไม่ทารุณ โดย1กรงใช้งบประมาณ 20,000 - 30,000 บาท โดยได้มีการพูดคุยกับชาวบ้านที่เลี้ยงลิงกัง หากลิงที่เลี้ยงถูกกฎหมาย ขอให้เลี้ยงต่อไปไม่ต้องกลัว ซึ่งลิงกังเป็นสัตว์คุ้มครอง ส่วนมากคนที่เลี้ยงมีใบอนุญาต แต่หากไม่มีใบอนุญาต ก็อาจจะมีโทษผิดกฎหมายได้ 

จากการคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ พบว่า มะพร้าวที่ปลูกไว้ ตอนนี้ ส่วนมากเป็นพันธุ์เตี้ย ไม่สูง ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ลิงเหมือนเช่นแต่ก่อน ทำให้ความต้องการในการใช้ลิงเก็บมะพร้าวจึงลดลงเรื่อยๆ

ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า สะท้อนมุมมอง ว่าด้วยเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว

"การเลี้ยงลิงเก็บมะพร้าว ในไทย เหมือนเป็นวัฒนธรรม ประเพณีไปแล้ว พระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ละเว้นอยู่แล้ว ส่วนที่มีข่าวออกมาว่า ใช้ลิงทำงาน7วัน วันละ12ชั่วโมง เก็บวันละ1000ลูก ถ้าเป็นแบบนั้ยจริงๆ ทารุณกรรมสัตว์อยู่แล้ว ก็ต้องจัดการ แต่ในประเทศไทย ยังไม่เห็นข้อมูลหลักฐาน ที่ชี้ชัดว่าไทยเราทำขนาดนั้นจริงๆ" เอ็ดวิน กล่าว

หากโชคดี ลิงกังที่รับมานั้น อาจจะเข้าฝูงได้ หากลิงยังมีอายุไม่มากโอกาสที่จะปรับพฤติกรรม เข้าฝูง เป็นไปได้ แต่หากลิงที่รับมีอายุมาก ประมาณ20 ปี จะปรับสภาพยากมา ในพฤติกรรมต่างๆ เช่น ห่วงอาหาร ชอบกัด ยิ่งอายุน้อยยิ่งเข้าฝูงง่าย ยิ่งแก่ยิ่งลำบาค 

ลิงเก็บมะพร้าว ในไทย มองว่า ไม่ใช่การทารุณกรรมสัตว์ ตามที่มีกระแสข่าวออกมา ตลอด20ปีที่ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือสัตว์ เห็นจำนวนลิงที่อยู่ในอุตสหากรรมการเก็บมะพร้าวลดลง อีก10ปีอาจจะหมดไป หากถามว่าทารุณกรรมลิงไหม การขังลิงในกรงละ ทารุณไหม จริงๆแล้วสัตว์ป่า ควรอยู่ในป่า ไม่ได้ถูกเลี้ยงให้อยู่ในกรง การแถลงข่างของ พิต้า และการ บอนคอตสินค้ามะพร้าวจากไทย มองว่า เกิดเหตุไป 

พฤติกรรมของลิงกัง จะอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ อพยพตลอดเวลา โดยมีตัวผู้เป็นเจ้าฝูง เนื่องจากจะตัวใหญ่ และจะแข็งแรงสุด ทำหน้าที่จัดระเบียบให้ลิงตัวอื่นๆภายในฝูง เวลาลิงกังถูกเลี้ยงกับครอบครัวคน จะติดคนใดคนคนหนึ่งภายในครอบครัว แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ลิงกังจะดุร้าย หากมีการเข้าหาดับคนที่ไม่คุ้นเคย มีเขี้ยวยาวประมาณ5 เซนติเมตร เวลากัดจะกัดไม่ปล่อยกัดซ้ำ

ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า สะท้อนมุมมอง ว่าด้วยเรื่อง ลิงเก็บมะพร้าว

ส่วนเหตุผลที่ชาวบ้านนำลิงกังมาให้มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าเลี้ยง 

1. กลัวลิงไปกัดคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน คนเลี้ยง กลัวโดนฟ้อง เรียกค่าเสียหาย เลยนำมาให้เลี้ยงต่อ 

2. อยากให้ลิงได้ปล่อยโซ่ ออกจากเชือก ให้ลิงได้อยู่กับฝูง 

3. ลิงถูกปลดระวาง ไม่ได้ใช้งานต่อ เลยอยากให้ลิงมาอยู่ที่สบายขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

องค์กรสัตว์ฯ แนะรัฐทำหนังสือชี้แจงกรณีใช้ "ลิงเก็บมะพร้าว"

ซูเปอร์มาร์เก็ตในอังกฤษเลิกขายมะพร้าวจากไทย อ้างใช้แรงงานลิง



เกาะติดข่าวที่นี่ 
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand 
facebook live : TNN Live 
twitter : @TNNThailand 
Line : @TNNONLINE 
Youtube Official : TNNThailand 
Instagram : @tnn_online 
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง