TNN online หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

TNN ONLINE

สังคม

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

รู้จัก Pseudobulbar affect (PBA) ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ อาการป่วยของตัวร้ายชื่อดังในภาพยนตร์เรื่อง "Joker" จนกลายมาเป็นที่มาของเสียงหัวเราะชวนหลอน!

เรื่องราวของ "โจ๊กเกอร์" (Joker) ที่ถ่ายทอดออกมาจากฝีมือการแสดงของ "วาคีน ฟีนิกซ์" ชายคนหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับความโหดร้ายทารุณและสังคมที่เต็มไปด้วยการเหยียดหยาม ต้องเผชิญกับความอ้างว้างจนเปลี่ยนจากคนอ่อนแอกลายเป็นคนโหดเหี้ยม โดยมีเอกลักษณ์ คือ "เสียงหัวเราะชวนหลอน" ที่มาจากอาการป่วยด้วย "ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้" 

แต่รู้หรือไม่ว่า การหัวเราะแบบโจ๊กเกอร์ เป็นอาการของ Pseudobulbar affect หรือ PBA หรือ ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ ซึ่งจะมีสาเหตุจากอะไร รวมทั้งแตกต่างกับไบโพลาร์หรือซึมเศร้าอย่างไร ติดตามได้...

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

รู้จัก Pseudobulbar impact ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้

Pseudobulbar impact (PBA) เป็นอาการที่เกิดจากตอนที่หัวเราะหรือร้องไห้ไม่สามารถควบคุมได้และไม่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้ว Pseudobulbar จะเกิดขึ้นกับคนที่มีอาการทางระบบประสาทหรือการบาดเจ็บบางอย่าง ซึ่งอาจส่งผลต่อวิธีที่สมองควบคุมอารมณ์ จะแสดงความรู้สึกด้วยวิธีที่เกินจริงหรือไม่เหมาะสม เป็นผลให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอับอาย รวมทั้งยังก่อกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

อย่างไรก็ตาม หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นความผิดปกติของอารมณ์ หรือ "ไบโพลาร์" แต่โรคดังกล่าวสามารถรักษาได้ด้วยยา

อาการ PBA

1.มีการร้องไห้หรือหัวเราะรุนแรงควบคุมไม่ได้

2.การร้องไห้หรือหัวเราะนั้นไม่เข้ากับสถานการณ์

3.การแสดงสีหน้าไม่ตรงกับอารมณ์

4.การเป็นอย่างยาวนานเกินกว่าที่คาดไว้

5.อาจเกิดได้หลายครั้งต่อวัน

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

สาเหตุที่พบเชื่อว่า PBA เกิดจากปัญหาที่สมองส่วนหน้า(Prefrontal contex) พบได้ในโรคต่างๆคือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความจำเสื่อมและโรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมองบางชนิด โรคปลอกประสาทเสื่อม Multiple Sclerosis เป็นต้น

จากข้อมูลพบว่า มีผู้ป่วยเกือบ 2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่มีอาการทางระบบประสาทหรือบาดเจ็บสมองบาดแผลที่มีอาการ PBA และมีมากกว่า 7 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาเข้าข่ายที่จะเป็น PBA

อัตราของผู้ป่วยทางระบบประสาท ที่มีอาการ PBA

50% โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
จากการสำรวจผู้ป่วย ALS 40 คน พบว่า 50% มีอาการที่อาจเป็น PBA จากข้อมูลนี้ผู้ป่วย ALS เกือบ 15,000 รายในสหรัฐอเมริกามีอาการเข้าข่ายที่จะเป็น PBA

48% ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บทางสมอง 
จากการสำรวจของผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางสมอง 326 ราย พบว่า 48% มีอาการที่อาจเป็น PBA จากข้อมูลนี้ผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางสมอง มากกว่า 2.5 ล้านคนในสหรัฐอเมริกามีอาการเข้าข่ายที่จะเป็น PBA

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

46% โรคปลอกประสาทเสื่อม
จากการสำรวจผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis หรือ MS) 504 คน พบว่า 46% มีอาการต่างๆ ที่เข้าข่าย PBA จากข้อมูลนี้ผู้ป่วยโรค MS เกือบ 185,000 คนในสหรัฐอเมริกามีอาการเข้าข่ายที่จะเป็น PBA

39% ผู้ป่วยอัลไซเมอร์
จากการสำรวจผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 499 คน พบว่า 39% ที่มีอาการที่อาจเป็น PBA จากข้อมูลนี้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มากกว่า 2.6 ล้านคนในสหรัฐอเมริกามีอาการเข้าข่ายที่จะเป็น PBA

28% โรคหลอดเลือดสมอง
จากการสำรวจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 500 คน พบว่า 28% มีอาการที่อาจเป็น PBA จากข้อมูลนี้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกือบ 1.5 ล้านคนในสหรัฐอเมริกามีอาการเข้าข่ายที่จะเป็น PBA

24% โรคพาร์กินสัน
จากการสำรวจผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน 449 คน พบว่า 24% มีอาการที่อาจเป็น PBA จากข้อมูลนี้ผู้ป่วยพาร์กินสัน 240,000 คนในสหรัฐอเมริกามีอาการเข้าข่ายที่จะเป็น PBA

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

ความแตกต่างระหว่าง 'PBA' และ 'ซึมเศร้า' 

PBA เป็นการแสดงออกทางอารมณ์การร้องไห้หรือการหัวเราะที่เกินความจริงหรือไม่ตรงกับที่คุณรู้สึก แตกต่างจากภาวะซึมเศร้า โดย PBA เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ขณะที่ ภาวะซึมเศร้า เกี่ยวข้องกับสภาวะอารมณ์หรือจิตใจของบุคคล ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะมี PBA และภาวะซึมเศร้าในเวลาเดียวกัน 

PBA : มีอาการร้องไห้ หรือ หัวเราะบ่อยๆ 

ซึมเศร้า : อาจหรือไม่ได้ร้องไห้ เพราะการร้องไห้ไม่ได้เป็นเครื่องรับรองว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า

PBA : ไม่สามารถควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ได้

ซึมเศร้า : สามารถควบคุมการร้องไห้ได้

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

PBA : การหัวเราะหรือร้องไห้ "เกินความจริง" หรือ ไม่ตรงกับ "ความรู้สึก" ที่แท้จริง

ซึมเศร้า : การร้องไห้ตรงกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น

PBA : การหัวเราะหรือร้องไห้นานเป็นนาที

ซึมเศร้า : การร้องไห้เป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้าและอยู่นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน

PBA : มีอาการทางระบบประสาท หรือการบาดเจ็บของสมอง

ซึมเศร้า : อาจจะไม่มีอาการทางระบบประสาท หรือการบาดเจ็บของสมอง

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

ผลกระทบของตอน PBA ที่มากกว่าการร้องไห้และหัวเราะ

อาจทำให้หงุดหงิดเพราะคุณไม่ได้เศร้า หรือสิ่งที่ไม่ตลก เนื่องจากอาการ PBA เกิดขึ้นบ่อยครั้งอันเป็นผลมาจากสภาพระบบประสาทอื่นหรือการบาดเจ็บของสมอง ทำให้สามารถรู้สึกได้ถึงความยากลำบากในการจัดการกับอาการเหล่านี้

หากคิดว่าคุณอาจจะเป็น PBA สามารถเช็กอาการเบื้องต้นได้ที่ https://www.pbainfo.org/pba-quiz

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

วิธีดูแลตนเองหรือคนที่มีอาการ

1.พูดคุยทำความเข้าในเกี่ยวกับอาการนี้กับครอบครัว เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้พวกเขาประหลาดใจหรือสับสนเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น

2.บันทึกช่วงเวลา อาการลงในไดอารี่ 

3.พูดคุยกับคนอื่นที่มี PBA และแชร์ข้อมูลกัน เพราะอาจมีเคล็ดลับอื่นๆ ที่อาจช่วยได้

4.เปลี่ยนตำแหน่ง หากรู้สึกว่ากำลังหัวเราะหรือร้องไห้ ให้เปลี่ยนวิธีนั่งหรือยืน

5.หายใจเข้า-ออก ช้าๆ และลึก จนกว่าจะสามารถควบคุมอาการได้

6.ฝึกการผ่อนคลายทุกๆวัน

7.ศิลปะและดนตรีบำบัดเพื่อบรรเทาอาการหรือความรุนแรงของอาการ

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

วิจารณ์เสียหายจากความไม่รู้! หนึ่งเรื่องราวของผู้ป่วยโรค PBA

เวย์น บี วัย 52 ปี อดีตผู้จัดการฝ่ายไอทีและโลจิสติกส์ รัฐอิลลินอยส์ ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมอง ผลที่ตามมาทำให้เขาเป็นโรค PBA ด้วย โดยเวย์นจะร้องไห้อย่างไม่สามารถควบคุมได้ หรือบางครั้งก็จะหัวเราะอย่างบ้าคลั่งในสิ่งที่ไม่ตลกเลย เวย์นไม่สามารถควบคุมการตอบสนองให้เป็นปกติได้ โดยบางครั้งเขาร้องไห้ถ้าเห็นเด็กล้มลงแม้ว่าจะไม่รู้จักเด็กและเห็นได้ชัดว่าเด็กไม่เจ็บ ซึ่งเขามักจะร้องไห้อย่างง่ายดายและบ่อยครั้งกว่าการหัวเราะ

สิ่งที่แย่ไปกว่านั้น ก็คือ เวย์นรู้สึกอับอาย หงุดหงิด และโกรธ เพราะไม่เข้าใจว่าทำไมคนอื่นๆ ถึงขอให้เขาหยุดร้องไห้หรือหัวเราะ แม้แต่คนรอบตัวก็ไม่เข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้วนั้น เขาไม่สามารถควบคุมการ้องไห้หรือหัวเราะที่เกิดได้เลย ดังนั้น จึงทำให้คนรอบข้างมักจะวิจารณ์รูปลักษณ์ หรือแสดงความคิดเห็นไม่ดี

ภรรยาของเวย์น เปิดเผยว่า เมื่อเธออยู่กับสามีในขณะที่เกิดอาการที่ควบคุมไม่ได้ เธอจะแก้ปัญหาโดยการอธิบายเหตุผลที่เกิดขึ้นด้วยน้ำเสียงนิ่งๆ เพื่อช่วยให้เวย์นเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งก็ได้ผล และบางครั้งก็ไม่ได้ผลเช่นกัน แต่บ่อยครั้งที่เวย์นจะพยายามหลีกหนีจากสถานการณ์นั้นไปที่ห้องนอน หรือหาสถานที่เงียบสงบและเป็นส่วนตัวที่สามารถนั่งพัก เพื่อขจัดอาการของโรคที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ป่วยโรค PBA ต้องการคือ การให้สาธารณชนรับรู้และ "เข้าใจ" ว่าโรคนี้ไม่สามารถควบคุมอาการร้องไห้หรือหัวเราะได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอาย หรือต้องการปลีกตัวออกไปอยู่คนเดียว รวมทั้ง ไม่ต้องถูก "รังแก" เหมือนอย่าง "โจ๊กเกอร์" ด้วย

หยุดหัวเราะ-ร้องไห้ไม่ได้! ภาวะ PBA หนึ่งอาการป่วยที่ต้องการความ 'เข้าใจ'

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
https://www.pbainfo.org/about-pba 
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pseudobulbar-affect/symptoms-causes/syc-20353737 
https://www.psycom.net/living-with-pseudobulbar-affect 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- กินเสี่ยงตาย! ไขอาการ 'แพ้อาหาร' เช็กก่อนเผลอกิน

- ขำ-ไม่ขำ ต้องลอง! สอนเทคนิค 8 ท่าหัวเราะง่ายๆ ประโยชน์เหลือล้น






เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง