TNN online PM 2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐาน "หน้ากากอนามัย" ใส่แบบไหนช่วยป้องกันดีที่สุด

TNN ONLINE

สังคม

PM 2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐาน "หน้ากากอนามัย" ใส่แบบไหนช่วยป้องกันดีที่สุด

PM 2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐาน หน้ากากอนามัย ใส่แบบไหนช่วยป้องกันดีที่สุด

ฝุ่นละออง PM 2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัยแนะควรใส่ "หน้ากากอนามัย" แบบไหนช่วยป้องกันดีที่สุด

ฝุ่นละออง PM 2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัยแนะควรใส่ "หน้ากากอนามัย" แบบไหนช่วยป้องกันดีที่สุด

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 57-97 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 72.5 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 67 พื้นที่ 

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 71-121 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 31 ม.ค.- 6 ก.พ. 66 จะไม่ดี เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับในช่วงวันที่ 4-6 ก.พ.66 คาดว่าอัตราการระบายอากาศ ดี/อ่อน มีฝนบางพื้นที่ จากทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมแทนที่ลมหนาว 

ส่วนมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น กลางวันอากาศร้อน ตอนเช้ายังมีอากาศเย็นถึงหนาว และมีหมอกบางพื้นที่ ส่งผลให้ช่วงวันที่ 3-5 ก.พ.66 มีอากาศค่อนข้างเปิด ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มลดลง

ช่วงวันที่ 2 - 4 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม) 

ข้อมูลจาก กรมอนามัย ระบุไว้ว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระบบต่าง ๆ เช่น ระบบตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และระบบหัวใจและ หลอดเลือด หากร่างกายได้รับสัมผัส PM2.5 เข้าไป จะก่อให้เกิดอาการต่างๆ 

ความรุนแรงของอาการ

ความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อย เช่น แสบตา คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก มีน้ำมูก แสบจมูก แสบคอ ไอแห้งๆ คันตามร่างกาย มีผื่น อาการ ระดับปานกลาง เช่น ตาแดง มองภาพไม่ชัด เลือดกำเดาไหล เสียงแหบ ไอมีเสมหะ หัวใจเต้นเร็ว และอาการระดับรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด เหนื่อยง่าย หากมีอาการรุนแรง ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

ประชาชนควรเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจาก PM2.5

1) ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ จากสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุชุมชน เป็นต้น โดยให้สังเกตสีเป็นหลัก หากเป็นสีส้มและ สีแดง ซึ่งเป็นค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานและมีผลกระทบต่อสุขภาพควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด 

2) ประเมินตนเองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ เช่น มีอาชีพอยู่กลางแจ้งต้องสัมผัสฝุ่นเป็นเวลานานหรืออาศัยในพื้นที่เสี่ยง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ โรคหัวใจและหลอดเลือด หากพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นและต้องดูแลป้องกันตนเองเป็นพิเศษ 

3) ในช่วงที่ฝุ่นละอองสูง ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมนอกบ้าน 

4) ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงฝุ่นสูง ให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นทั้งหน้ากากอนามัยหรือ N95 สามารถเลือกสวมได้ความตามเหมาะสมของแต่ละกลุ่ม หรือสวมหน้ากาก 2 ชั้นได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกรองฝุ่นได้ 

5) ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดในช่วงฝุ่นสูง ทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ โดยการเช็ด/ถู แบบเปียก 

6) หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในบริเวณที่มีฝุ่นสูง เช่น ริมถนน และห้ามสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นทุกชนิดขณะออกกำลังกายโดยเด็ดขาด หรือเปลี่ยนมาออกกำลังกายในบ้าน 

7) สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและคนในครอบครัว หากพบว่ามีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง หรืออาการผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที

PM 2.5 พุ่งเกินค่ามาตรฐาน หน้ากากอนามัย ใส่แบบไหนช่วยป้องกันดีที่สุด


ภาพจาก TNN ONLINE / AFP



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง