TNN online สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน

TNN ONLINE

ภูมิภาค

สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน

สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน

ชาวบ้านหนองยาง อำเภอวังทรายพูน จัดการแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงรอดบ่วง วัฒนธรรมประเพณีที่จัดในงานบุญกฐินเพื่อขอบคุณเทวดาและสิ่งศักดิสิทธิ์ที่ให้น้ำและพืชผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์

วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ที่บ้านหนองยาง ในตำบลวังทรายพูนและอำเภอวังทรายพูน  จังหวัดพิจิตร  นายสมหมาย  สนามทอง  กำนันตำบลวังทรายพูน ร่วมกับชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้านช่วยกันประดิษฐ์บั้งตะไลไฟพะเนียง   เพื่อนำไปเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน  "จุดบั้งตะไลไฟพะเนียง"  ซึ่งเป็นวัฒนประเพณีของชาวไทยจากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ที่อพยพมาตั้งรกรากถิ่นฐานประกอบอาชีพในพื้นที่หมู่บ้านดังกล่าวนำติดตัวมาด้วยตั้งแต่สมัยบรรพบรุษ   ทั้งนี้เป็นการจุดเพื่อขอบคุณพระยาแถน      สิ่งศักดิ์สิทธิ์และเทวดาที่ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  มีปริมาณน้ำฝนอุดมสมบูรณ์  อันจะส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์  ขายได้ราคาดี  โดยมีพันตำรวจเอกกฤษฏา ภัทรประสิทธิ์ ทีมพัฒนาจังหวัดพิจิตร เป็นประธานเปิดการแข่งขันและเข้าร่วมเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีดังกล่าวด้วย  


สำหรับขั้นตอนการประดิษฐ์บั้งตะไลไฟพะเนียงดังกล่าวเดิมสมัยโบราณจะใช้ไม้ไผ่  แต่ด้วยยุคสมัยจะประดิษฐ์จากท่อน้ำพลาสติก(PVC)ขนาดความกว้าง 0.5 นิ้ว  และมีความยาวโดยเฉลี่ย 10 นิ้ว   และจะบรรจุเชื้อเพลิง (ดินปะสิวคล้ายบั้งไฟ) ลงไปในท่อพลาสติกและมีการเจาะรูเพื่อใช้เป็นด้ายฉนวนสำหรับจุดไฟ    โดยชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน   จะออกมาแห่บั้งตะไลไฟพะเนียงออกจากหมู่บ้านมายังบริเวณลานวัดหนองยางนั้น  ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงดังกล่าว   โดยตลอดเส้นทางจะมีการจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงโยนขึ้นบนท้องฟ้า ควบคู่ไปกับการร้องรำทำเพลงตามจังหวะดนตรีอย่างสนุกสนาน   และไฮไลท์สำคัญเมื่อขบวนแต่ละหมู่บ้าน   แห่มาถึงบริเวณลานวัดจะมีบ่วงวงกลมที่คณะกรรมการนำมาติดกับเสาไม้ไผ่ความสูงประมาณ 10 เมตร  เพื่อให้ตัวแทนในแต่ละหมู่บ้านจำนวนกว่า 30 คน  นำบั้งตะไลไฟพะเนียงมาจุดแข่งขันกัน   


โดยกำหนดกติกาผู้แข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียง โยนเข้าบ่วงได้คนละ 3 ครั้ง ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันหมู่บ้านสามารถจุดและโยนบั้งตะไลไฟพะเนียงให้ลอดห่วงและโยนขึ้นไปบนท้องฟ้าให้มีความสูงที่สุด  ก็จะเป็นผู้ชนะและได้รับเงินรางวัลจำนวน 3 พันบาท ซึ่งมีผู้สนใจล้วนเป็นชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านต่างประดิษฐ์บั้งตะไลไฟพะเนียงเพื่อชิงชัยเอาเงินรางวัลจำนวนมาก และชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านมาลุ้นเชียร์จำนวนมากถึงขอบสนามทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวทุกๆปีจะมีขึ้นในงานบุญกฐิน เพื่อสร้างความรักความสามัคคีในหมู่บ้าน ตลอดจนการแข่งขันดังกล่าวนั้นเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป

สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน สีสันแข่งขันจุดบั้งตะไลไฟพะเนียงลอดบ่วงประเพณงานบุญกฐิน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง