TNN online “พายุลูกใหม่”ก่อตัวขนาบไทย 2 ลูก กรมอุตุฯแจงแล้วกระทบไทยจริงหรือ?

TNN ONLINE

Earth

“พายุลูกใหม่”ก่อตัวขนาบไทย 2 ลูก กรมอุตุฯแจงแล้วกระทบไทยจริงหรือ?

“พายุลูกใหม่”ก่อตัวขนาบไทย 2 ลูก กรมอุตุฯแจงแล้วกระทบไทยจริงหรือ?

“พายุลูกใหม่”ก่อตัวขนาบไทย 2 ลูก กรมอุตุฯชี้แจงชัดเจน กระทบไทยจริงหรือไม่? พร้อมย้ำฝนตกต่อเนื่องหลายพื้นที่

เมื่อวานที่ผ่านมา (  9 พ.ค. 66 )นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แถลง ณ ศูนย์ปฎิบัติการพยากรณ์อากาศชั้น 11 อาคาร 50 ปีอุตุนิยมวิทยาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับประเด็นที่ได้รับความสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้กรณี "ฝนชุ่มฉ่ำวันเลือกตั้งมาพร้อมกับพายุ 2 ลูกขนาบซ้ายขวา" และ "จะมีพายุหมุนเขตร้อนสองลูกก่อตัวในเอาเบงกอลและในทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 8-13 พฤษภาคม 2566" โดยกล่าวว่าจากการตรวจสอบสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาล่าสุดพบในช่วงหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้า (9-15 พ.ค. 66) นั้น ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยแต่อย่างใด เบื้องต้น พบพายุก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอลเพียง 1 ลูก และไม่มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนในทะเลจีนใต้ยังไม่ปรากฏว่ามีพายุเกิดขึ้นเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำเท่านั้น


นายชัยวุฒิ เผยว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอล มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงวันที่ 9-10 พ.ค. 2566 คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นอีกอีกเป็นพายุไซโคลน “โมคา” (MOCHA) ในวันที่ 11 พ.ค. 2566 แนวโน้มการเคลื่อนตัวจะขึ้นไปทางเหนือค่อนไปทางตะวันตกเข้าสู่บริเวณอ่าวเบงกอลในตอนกลาง และอ่าวเบงกอลในตอนบน ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ค. 2566 แม้จะไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มีฝนต่อเนื่องในประเทศไทยตอนบน โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 2566 นอกจากนั้น คลื่นลมในทะเลอันดามันจะแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


สำหรับสภาพอากาศในวันที่ 14 พ.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ จากอิทธิพลทางอ้อมของพายุไซโคลน “โมคา” ซึ่งทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยยังมีกำลังแรง โดยจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะ ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ซึ่งมีโอกาสเกิดฝนประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนภาคอื่นๆรวมถึงก็ กทม. และปริมณฑล มีโอกาสเกิดฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการออกไปใช้สิทธิในวันติดตั้งได้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาจะติดตามลักษณะอากาศและเปิดให้บริการสอบถามสภาพอากาศที่สายด่วน 1182


นายชัยวุฒิ กล่าวอีกว่า ถึงสถานการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในปีนี้ว่า สถานการณ์ลานีญาที่ต่อเนื่องมาสามปีตั้งแต่กลางปี 2563 ได้สิ้นสุดลงแล้วในช่วงต้นปีสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์แบบจำลองศูนย์ภูมิอากาศชั้นนำของโลกคาดว่าสภาวะเอลนีโญจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งจะส่งผลให้สภาวะอากาศของประเทศไทยปี 2566 มีแนวโน้มที่อุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5 และจะน้อยกว่าปี 2565 ที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ส่วนแนวโน้มสภาวะอากาศปี 2567 อุณหภูมิเฉลี่ยจะยังคงสูงกว่าค่าปกติ (ประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียส) อาจจะใกล้เคียงกับปี 2559 ซึ่งเป็นปีที่เกิด เอลนีโญ รุนแรง ปริมาตรผลตรวจของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 10 และมีโอกาสสูงที่จะเกิดความแห้งแรงได้


ข้อมูลจาก  : กรมอุตุนิยมวิทยา

ภาพจาก :  AFP 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง