TNN online รพ.จุฬาฯ เปิดผลข้างเคียง-ประสิทธิภาพวัคซีน "ไฟเซอร์" ในเด็ก

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

รพ.จุฬาฯ เปิดผลข้างเคียง-ประสิทธิภาพวัคซีน "ไฟเซอร์" ในเด็ก

รพ.จุฬาฯ เปิดผลข้างเคียง-ประสิทธิภาพวัคซีน ไฟเซอร์ ในเด็ก

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดข้อมูลประสิทธิภาพและผลข้างเคียง "วัคซีนไฟเซอร์" ในเด็ก

วันนี้( 27 ส.ค.64) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยแพร่ข้อมูลประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีน "ไฟเซอร์" ในเด็ก โดยระบุว่า วัคซีน Pizer เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mNA ที่มีการอนุมัติใช้กับเด็กอายุตั้งแต่ 12-18 ปี ภายในประเทศไทยเป็นชนิดแรก (ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564) โดยมีข้อมูลการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัย ดังต่อไปนี้

ประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer ในเด็ก

1.วัคซีน Pfizer มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่แสดงอาการ เมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพการป้องกันในผู้ใหญ่

2.วัคซีน Pfizer สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็ก ระดับใกล้เคียงกับผู้ใหญ่อายุ 16-25 ปี โดยมีระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก

ผลข้างเคียงของวัคซีน Pfizer ในเด็ก

1.ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น เจ็บบริเวณตำแหน่งที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ

2.อาการข้างเคียงเฉพาะที่ที่เกิดขึ้นเล็กน้อย เช่น บวม แดงในตำแหน่งที่ฉีด

3.อาการข้างเคียงทั้งระบบ เช่น ไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ

4.อาการข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอาการข้างเคียงที่พบรายงานในอัตราต่ำมาก

คำแนะนำจากแพทย์

จากภาพรวมข้อมูลด้านประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer ที่มีการฉีดในเด็กพบว่า มีผลดีมากกว่าผลข้างเคียง ซึ่งพบได้ในอัตราที่ต่ำ ปัจจุบันในประเทศไทยแนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ป่วยเด็กที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงซึ่งขณะนี้มีเพียงวัคซีนชนิด mRNA เช่น วัคซีน Pfizer ที่มีข้อแนะนำให้สามารถฉีดในเด็กได้ ส่วนวัคซีนชนิดอื่น ๆ เช่น วัคซีนชนิดเชื้อตาย หรือชนิดไวรัสเวกเตอร์ ยังไม่มีคำแนะนำการฉีดในเด็ก

รพ.จุฬาฯ เปิดผลข้างเคียง-ประสิทธิภาพวัคซีน ไฟเซอร์ ในเด็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง