TNN online สธ.พบผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 28 ราย มี 12 ราย ไม่เกี่ยววัคซีน ที่เหลือรอสอบสวนโรค

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

สธ.พบผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 28 ราย มี 12 ราย ไม่เกี่ยววัคซีน ที่เหลือรอสอบสวนโรค

สธ.พบผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 28 ราย มี 12 ราย ไม่เกี่ยววัคซีน ที่เหลือรอสอบสวนโรค

กรมควบคุมโรค รายงานผู้เสียชีวิตหลังเข้ารับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 28 ราย ซึ่งผู้จำนวนผู้เสียชีวิตได้รับการพิจารณาโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ 12 ราย พบว่าไม่ใช่เป็นผลมาจากวัคซีน ขณะที่อีก 16 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค

วันนี้ (9 มิ.ย.64) นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวสรุปการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้หน่วยบริการ ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.64 - 8 มิ.ย.64 รวมทั้งสิ้น 6,756,493 โดส จำแนกเป็น

- วัคซีนซิโนแวค จำนวนวัคซีนทั้งหมดที่ได้จัดสรร จำนวน 4,982,313 โดส

- วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวนวัคซีนทั้งหมดที่ได้จัดสรร จำนวน 1,774,180 โดส

สธ.พบผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 28 ราย มี 12 ราย ไม่เกี่ยววัคซีน ที่เหลือรอสอบสวนโรค

สำหรับยอดสะสมผู้เข้ารับวัคซีนโควิดแล้ว 5,107,069 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 3,672,372 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 1,434,697 ราย เฉพาะเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.64 เพิ่มขึ้นอีก 472,128 โดส รวมยอด 2 วันตั้งแต่เริ่มคิกออฟฉีดทั่วประเทศ 888,975 โดส

สธ.พบผู้เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 28 ราย มี 12 ราย ไม่เกี่ยววัคซีน ที่เหลือรอสอบสวนโรค

นอกจากนี้ นพ.เฉวตสรร ยังได้ให้ข้อมูลภาพรวมการฉีดวัคซีน ที่ประชาชนให้ความสนใจเกี่ยวกับอาการที่ไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน ว่า ในขณะนี้มีการฉีดวัคซีน ทั้งของซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า รวม 6,756,493 โดส โดยมีระบบติดตามเฝ้าระวังเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ มีผู้เสียชีวิตภายหลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับรายงาน 28 ราย รวมเคสล่าสุดเช้านี้ (9 มิ.ย.)โดยจำนวนผู้เสียชีวิตได้รับการพิจารณาโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ 12 ราย พบว่าการเสียชีวิต "ไม่ใช่เป็นผลมาจากวัคซีน" โดยในจำนวนดังกล่าวนั้นพบว่า เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 8 ราย ภาวะ Immune Thrombotic thrombocytopenic purpura 1 ราย ลิ่มเลือดอุดตันในปอด 1 ราย purulent meningitis 1 ราย และเลือดออกในช่องท้องจาก intra abdominal aneurysm 1 ราย ขณะที่อีก 16 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคหรือรอผลการผ่าชันสูตรพลิกศพ

โดยหลักการแล้วเมื่อมีการเสียชีวิตจะต้องมีการหาสาเหตุให้ชัดเจนโดยระบบเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ในระดับพื้นที่จะมีการรวบรวมข้อมูลรายงานในเบื้องต้น พร้อมมีการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในระดับเขต เพื่อดูสาเหตุและความเชื่อมโยงมีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ เพราะบางกรณีอาจมีความเกี่ยวข้องและบางกรณีก็อาจจะไม่เกี่ยวข้อง จึงต้องให้เวลาในการเก็บข้อมูล

ทั้งนี้ การที่จะรู้สาเหตุจะต้องมีกระบวนการดูแลรักษาการส่งตรวจในโรงพยาบาลหรือการตรวจผ่าชันสูตรหลังเสียชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมาก รวมถึงชิ้นเนื้อในการส่งตรวจก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยได้ยกตัวอย่างกรณีของ จ.ปทุมธานี ที่มีผู้เสียชีวิตภายหลังการฉีดวัคซีน แต่เมื่อมีการตรวจชันสูตรแล้ว พบว่ามีอาการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุคนละเรื่องกันกับวัคซีน เป็นอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงแต่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่มาจากวัคซีน

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนมั่นใจในความปลอดภัยของวัคซีน เกิดภูมิคุ้มกันหมู่และทำให้หยุดการระบาดได้

ส่วนที่ประชาชนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับสมอง หรือโรคประจำตัวอื่นๆ มีความกังวลในการเข้ารับวัคซีนมากขึ้น นั้น นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ที่มีโรคประจำตัวสามารถฉีดได้ โดยไม่ต้องเลื่อนนัด หากวันที่ฉีดมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่ได้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่ได้มีการกำเริบของโรค แต่หากความกังวลใจ ก็สามารถปรึกษากับแพทย์ที่รักษาเป็นประจำเพิ่มเติมได้

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีผู้หญิง มีอาการปวดหัว เป็นไมเกรน หลังฉีดวัคซีน และเสียชีวิตเมื่อช่วงเช้าวันนี้นั้น ขอให้สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการปวดรุนแรงควรไปปรึกแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอ



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง