TNN online "โควิด-ไข้หวัดใหญ่" พบมีการกลายพันธุ์ตลอด เตือนต้องฉีดวัคซีนทุกปี

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

"โควิด-ไข้หวัดใหญ่" พบมีการกลายพันธุ์ตลอด เตือนต้องฉีดวัคซีนทุกปี

โควิด-ไข้หวัดใหญ่ พบมีการกลายพันธุ์ตลอด เตือนต้องฉีดวัคซีนทุกปี

"หมอยง" ย้ำ"โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่" พบมีการกลายพันธุ์ตลอด เตือนกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนทุกปี

เปิดข้อมูลการกลายพันธุ์ของโควิด 19 และไข้หวัดใหญ่ เตือนกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนทุกปี

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด 19 การกลายพันธุ์ของ covid 19  และไข้หวัดใหญ่ 

ทั้ง covid19 และไข้หวัดใหญ่มีการกลายพันธุ์ ทีละเล็กทีละน้อยไปโดยตลอด ที่เราเรียกว่า drift ในไข้หวัดใหญ่ 

ในปีนี้ จะเห็นว่าไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดในประเทศไทยอยู่นี้ เป็น H3N2 เกือบทั้งหมด

จากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส H3N2 ของทุกปีที่ผ่านมา รวมทั้งปีนี้ ตั้งแต่ต้นปี จะเห็นว่ามีการกลายพันธุ์มาตลอด เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีน จากรูปจะเห็นได้ชัดเจนว่า สายพันธุ์ที่กำลังระบาดในประเทศไทยขณะนี้ (ที่อยู่ข้างบนของกิ่ง) กำลังตีห่างออกไปจากสายพันธุ์วัคซีนที่เราได้ฉีดกัน (สี่เหลี่ยมสีแดง) จึงไม่แปลกที่ทำไมสายพันธุ์วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปตลอด ดังแสดงในรูป ที่แสดงทั้งสีแดงและสีเหลืองในแต่ละปี ข้อมูลนี้เป็นการศึกษาที่ศูนย์ทำมาโดยตลอด

ในทำนองเดียวกัน เชื้อ covid19 ก็มีการกลายพันธุ์แตกลูกหลานออกไป 

การกำหนดชื่อรหัสของไวรัสจึงมีการกำหนดกระจายไปเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่นไข้หวัดใหญ่ H3N2 ที่กำลังระบาดอยู่นี้จะอยู่ใน clade 3C.2a1b.2a.2 วัคซีนเองก็จะเปลี่ยน clade ไปตามแต่ละปี ด้วยรหัสต่างๆกัน ขณะนี้เราคงคุ้นเคยกับรหัสใน covid-19 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ของไข้หวัดใหญ่ก็กำหนดเป็นรหัสเช่นเดียวกัน แต่เราไม่ค่อยได้พูดถึงกัน

ในปัจจุบันการถอดรหัสพันธุกรรมทำได้ง่าย และเมื่อมีการทำกันมากโดยเฉพาะใน covid 19  ที่ทำกันเป็นล้านๆ สายพันธุ์ ก็ไม่แปลกที่จะมีสายพันธุ์ย่อยเกิดขึ้นมา อย่างที่เราเห็นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

เมื่อดูจากไข้หวัดใหญ่ ประสิทธิภาพของวัคซีน ก็ไม่ได้สูงมาก แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ในเด็กเล็ก  และ 608 กลุ่มเสี่ยงก็ควรจะได้ฉีดทุกปี




ข้อมูลจาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ภาพจาก AFP / TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง