TNN online อาการ Long COVID อยู่นาน 2 ปี ‘ผู้หญิงพบปัญหามากที่สุด’

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

อาการ Long COVID อยู่นาน 2 ปี ‘ผู้หญิงพบปัญหามากที่สุด’

อาการ Long COVID อยู่นาน 2 ปี ‘ผู้หญิงพบปัญหามากที่สุด’

หมอธีระเผยงานวิจัยของอังกฤษพบ Long COVID อยู่นาน 2 ปี ในผู้ป่วยกว่า 21% ‘ผู้หญิงพบปัญหามากที่สุด’

วันนี้ ( 8 ก.ค. 65 )ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาการ  Long COVID  อัปเดตล่าสุดในสหราชอาณาจักร ล่าสุด Office for National Statistics (ONS) ของสหราชอาณาจักรได้ออกรายงานประเมินสถานการณ์ Long COVID เมื่อวานนี้ 7 กรกฎาคม 2565

จากการสำรวจพบว่า มีคนที่ประสบภาวะ Long COVID อยู่ราว 2,000,000 คน หรือคิดเป็น 3% ของจำนวนประชากรทั้งหมด

21% นั้นมีอาการคงค้างหลังติดเชื้อครั้งแรกมานานกว่า 2 ปี

41% มีอาการคงค้างหลังติดเชื้อครั้งแรกมานานกว่า 1 ปี

74% มีอาการคงค้างหลังติดเชื้อมานานกว่า 3 เดือน

และ 21% หลังติดเชื้อมาน้อยกว่า 3 เดือน

ในจำนวนผู้ป่วยที่ประสบปัญหา Long COVID ทั้งหมดนั้น มีถึง 642,000 คนที่เกิดปัญหาขึ้นหลังจากติดเชื้อในช่วง Omicron ระบาด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 33% กว่า 1,400,000 คน (72%) ที่รายงานว่า ปัญหา Long COVID ที่เป็นอยู่นั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมีถึง 409,000 คน (21% หรือหนึ่งในห้าของคนที่เป็น Long COVID) แจ้งว่าส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ช่วงอายุที่พบปัญหา Long COVID มากที่สุดคือ 35-69 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ข้อมูลสถิติจากสหราชอาณาจักรนั้นเป็นตัวตอกย้ำให้เราเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ

ความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าหลังติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นคนที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการมาก เพศใด วัยใด ก็ล้วนเสี่ยงต่อการเป็น Long COVID ได้ทั้งสิ้น

ผู้ใหญ่เสี่ยงกว่าเด็ก หญิงเสี่ยงกว่าชาย

การฉีดวัคซีนครบโดสจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็น Long COVID ได้ราว 15% ซึ่งแปลว่าถึงฉีดวัคซีน หากไม่ป้องกันตัวให้ดี ก็ติดเชื้อได้ ป่วยได้ ตายได้ และเป็น Long COVID ได้

Long COVID นั้นเชื่อว่าอาจเกิดจากหลายกลไกที่เป็นไปได้ เช่น การติดเชื้อไวรัสแฝงในเซลล์หรืออวัยวะต่างๆ ระยะยาว (Persistent infection), การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติหลังติดเชื้อ (immune dysfunction) ฯลฯ ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้หลากหลายอวัยวะทั่วร่างกาย อาทิ ระบบประสาทและสมอง ความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบต่อมไร้ท่อ หรือแม้แต่ปัญหาผมร่วงก็ตาม 

ยังไม่มีวิธีป้องกันและรักษา Long COVID แบบเฉพาะเจาะจง 

การป้องกัน Long COVID ที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ

สถานการณ์ไทยในปัจจุบัน ระบาดกันหนัก

"การใส่หน้ากากเป็นเรื่องที่จำเป็นครับ"


อาการ Long COVID อยู่นาน 2 ปี ‘ผู้หญิงพบปัญหามากที่สุด’

อาการ Long COVID อยู่นาน 2 ปี ‘ผู้หญิงพบปัญหามากที่สุด’


ข้อมูลจาก  :เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat 

ภาพจาก  : เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง