TNN online ติดเชื้อโควิดซ้ำภายใน 1 เดือน น่ากังวลหรือไม่ เพราะเหตุใด?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ติดเชื้อโควิดซ้ำภายใน 1 เดือน น่ากังวลหรือไม่ เพราะเหตุใด?

ติดเชื้อโควิดซ้ำภายใน 1 เดือน น่ากังวลหรือไม่ เพราะเหตุใด?

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ไขข้อสงสัย ติดเชื้อโควิดซ้ำใน 1 เดือน น่ากังวลหรือไม่ เพราะเหตุใด? เช็กเลยกับ 4 คำตอบที่จะช่วยให้เข้าใจการติดเชื้อซ้ำมากสุด

วันนี้( 30 มี.ค.65) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19

โดยระบุว่า "การติดเชื้อซ้ำสายพันธุ์ "โอมิครอน" ในคนเดียวกันภายในเวลา 1 เดือน เป็นสิ้งที่น่ากังวลใจหรือไม่ เพราะเหตุใด กับ "สี่" คำตอบที่จะช่วยให้ปชช. เข้าใจการติดเชื้อซ้ำของ"โควิด-19 " 

มากขึ้น

Q1: การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซ้ำภายใน 1 เดือนและติดในช่วงนี้ (กุมภาพันธ์-มีนาคม 2565) น่ากังวลใจหรือไม่ เพราะเหตุใด 

A1: คำตอบคือ “น่ากังวล” เพราะการแพร่ระบาดในช่วงนี้ของประเทศไทยและของโลกเป็นช่วงการเปลี่ยนถ่ายจากโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 มาเป็น BA.2 โดยทาง WHO ยังคงจัดให้ BA.1 และ BA.2 เป็นเพียงสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน และให้คำแนะนำในการป้องกัน ดูแล และรักษา BA.1 และ BA.2 ที่ไม่แตกต่างกัน

Q2: มีการพบผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน BA.1 จากนั้นภายใน 20-60 วันถัดมามีการติดเชื้อซ้ำอีกครั้งหรือไม่ (reinfection) จำนวนมากน้อบแค่ไหน

A2: มีการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในประชากรประเทศเดนมาร์ก ระหว่าง 22 พ.ย. 2564 -11 ก.พ. 2565 จากผู้ติดเชื้อจำนวน  1,848,466 คน พบผู้ติดเชื้อซ้ำด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่ามีการติดเชื้อ BA.2 จำนวน 187 ราย และมีเพียง 47 รายที่จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมพบว่ามีการติดเชื้อ BA.1  ก่อนและตามด้วยการติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 ในระยะเวลาระหว่าง  20-60 วัน  

สรุปได้ว่า

จากผู้ติดเชื้อ 1.8  ล้านคน มีการติดเชื้อจาก BA1 มาก่อนจากนั้นมาติด BA.2 ซ้ำจำนวน 47 ราย และไม่ติด 1,848,419  ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน  คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ “1 in 40,000” ของผู้เคยติดเชื้อ BA.1 แล้วมาติด BA.2 ซ้ำ https://www.medrxiv.org/.../2022.02.19.22271112v1.full.pdf

Q3: เหตุใด WHO ยังจัดคงจัดให้ BA.1 และ BA.2 เป็นเพียงสายพันธุ์ย่อยในโอมิครอนสายพันธุ์หลัก และให้คำแนะนำในการป้องกัน ดูแล และรักษา BA.1 และ BA.2 ที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งที่พบมีผู้ติดเชื้อซ้ำ

A3: เพราะข้อมูลที่ WHO ได้รับจากทั่วโลกสรุปได้ว่าการติดเชื้อซ้ำจาก “BA.1 แล้วไปติด BA.2 ซ้ำ” เกิดขึ้นได้ แต่พบไม่บ่อยครั้งนัก (ประชากรเดนมาร์ก พบ  1 ใน 40,000) ประกอบกับผู้ติดเชื้อซ้ำ BA.2  ไม่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้า รพ.  หรือเสียชีวิต อันหมายถึงภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการติดเชื้อ “BA.1” ตามธรรมชาติยังคงสามารถป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง และป้องกันการเสียชีวิตจาก BA.2 ได้ดีแม้ไม่ 100% ก็ตาม ประกอบกับผู้ติดเชื้อซ้ำ BA.2 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มิได้รับฉีดวัคซีน อันหมายถึงการฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้

Q4: พบผู้ติดเชื้อ BA.2 ครั้งแรกแล้วกลับมาติดเชื้อ BA.1 หรือบรรดาสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้า เช่น เดลตา หรือไม่

A4: จากการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในประชากรประเทศเดนมาร์ก ระหว่าง 22 พ.ย. 2564-11 ก.พ. 2565 จากผู้ติดเชื้อจำนวน 1.8 ล้านคน ยัง “ไม่พบ” การติดเชื้อ BA.2 ครั้งแรกแล้วกลับมาติดเชื้อ BA.1 หรือบรรดาสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้าซ้ำอีก อันพอสรุปได้ว่าภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ BA.2 ตามธรรมชาติน่าจะคุ้มครองการติดเชื้อ BA.1 และสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี"






ภาพจาก AFP/รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง