TNN online เช็กเลย! ภาษี ภ.ง.ด.1ก-ภ.ง.ด.2ก-ภ.ง.ด.3ก ผ่าน New E-Filing ใครยื่นแบบไหน?

TNN ONLINE

TNN Exclusive

เช็กเลย! ภาษี ภ.ง.ด.1ก-ภ.ง.ด.2ก-ภ.ง.ด.3ก ผ่าน New E-Filing ใครยื่นแบบไหน?

เช็กเลย! ภาษี ภ.ง.ด.1ก-ภ.ง.ด.2ก-ภ.ง.ด.3ก  ผ่าน New E-Filing ใครยื่นแบบไหน?

เช็กรายละเอียดการยื่นภาษี ภ.ง.ด.1ก-ภ.ง.ด.2ก-ภ.ง.ด.3ก มีรายได้ประเภทไหน ต้องยื่นอย่างไร และใครที่จะต้องยื่นภาษี 3 ประเภทนี้บ้าง?

เรียกได้ว่าเข้าสู่ฤดูของการวางแผนภาษีหรือช่วงเวลาแห่งการ ยื่น ภาษี เลยก็ว่าได้  เพราะทาง กรมสรรพากร ได้เปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้ยื่นแบบภาษีกันได้แล้ว ซึ่งปัจจุบันการยื่นภาษีก็สะดวกมากขึ้น เนื่องจากสามารถยื่นแบบภาษีได้ผ่านช่องทางออนไลน์ แถมยังปลอดภัยจากการต้องไปเผชิญกับโควิด-19 โอมิครอน ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ด้วย 


การยื่นภาษีนอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้วกับ การยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 หากเป็นผู้มีรายได้ประจำ  ล่าสุด กรมสรรพากร ได้เปิดให้ยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (New E-Filing) สำหรับผู้เสีย ภาษี แบบ ภ.ง.ด.1ก แบบ ภ.ง.ด.2ก และ แบบ ภ.ง.ด.3ก  ซึ่งในแต่ละประเภทก็จะมีรายละเอียดการยื่นที่แตกต่างกันออกไป โดยจะแบ่งตามแหล่งที่มาของรายได้ต่างๆ 


ประเภทภาษีภ.ง.ด.1ก ภ.ง.ด.2ก ภ.ง.ด.3ก
เงินได้พึงประเมิน

1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

- เงินค่าเช่าบ้านที่นายจ้างออกให้

- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่ฟรี

- เงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้อื่นออกแทนให้

- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้

- เงิน ทรัพย์สิน เนื่องจากการจ้างงาน

2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งที่ทำหรือจากการรับทำงานให้

- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด

- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส

- เงินค่าเช่าบ้านที่ผู้จ่ายเงินออกให้

- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า

- เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ไม่ว่าในทอดใด

- เงินที่ผู้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ

- เงิน ทรัพย์สินจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้นั้น 


- ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

  • - เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์ที่ได้จากบริษัท, กองทุนรวม,สถาบันการเงิน
  • -เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น /ผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • -เงินลดทุนของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร,เงินที่กันไว้รวมกัน
  • - เงินเพิ่มทุนของบริษัท ซึ่งตั้งจาก กำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
  • - ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัท
  • - ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น
  • - หุ้นกู้พันธบัตรหรือตั๋วเงิน/ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท

1. เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่า/ซื้อขายเงินผ่อน ที่ผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงิน

2. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ

3. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน

4. เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์การเกษตรการอุตสาหกรรมการขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40 (1) ถึง 40 (7) แล้ว


ใครต้องยื่นแบบภาษี?บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวข้างต้นห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามประเภทเงินได้ข้างต้น
รัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามประเภทเงินได้
ยื่นเมื่อไหร่?ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป 
( ปี65 ให้ยื่นแบบกระดาษได้ภายในวันที่ 28 ก.พ.65 /ยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 8 มี.ค.65 )
ยื่นภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป 
(ปี 65 ยื่นแบบกระดาษได้ภายในวันที่ 31 ม.ค.65 /ยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 8 ก.พ.65)
ยื่นภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป 
(ปี 65 ยื่นแบบกระดาษได้ภายในวันที่ 31 ม.ค.65 /ยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 8 ก.พ.65 
อ้างอิง : กรมสรรพากร


ภาษี ภ.ง.ด.1ก  

โดย เงินได้พึงประเมินที่ต้องแสดงรายการตามแบบ ภาษี  ภ.ง.ด.1ก  ได้แก่ 

1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ได้แก่  

  • เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
  • เงินค่าเช่าบ้านที่นายจ้างออกให้
  • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้อื่นออกแทนให้ไม่ว่าในทอดใด
  • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
  • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
  • เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
  • เงินค่าเช่าบ้านที่ผู้จ่ายเงินออกให้
  • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
  • เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ไม่ว่าในทอดใด
  • เงินที่ผู้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
  • เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

โดยผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภาษี ภ.ง.ด.1ก ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวข้างต้น   ซึ่งตามกฎหมายกรมสรรพากรให้ผู้ยื่นภาษียื่นแบบฯภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป  สำหรับในปี 2565 กรมสรรพากรแจ้งให้ยื่นแบบกระดาษได้ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 หรือยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 8 มีนาคม 2565


เช็กเลย! ภาษี ภ.ง.ด.1ก-ภ.ง.ด.2ก-ภ.ง.ด.3ก  ผ่าน New E-Filing ใครยื่นแบบไหน?

ภาษี ภ.ง.ด.2ก

เงินได้พึงประเมินที่ต้องแสดงรายการตามแบบ ภ.ง.ด.2ก ได้แก่ 

  • ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
  • เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงิน
  • เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำ ไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
  • เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งจาก กำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
  • ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
  • ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น
  • หุ้นกู้พันธบัตรหรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภาษี ภ.ง.ด.2ก นั้น จะอยู่ในส่วนของ ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามประเภทเงินได้ข้างต้น  โดยจะต้องยื่นภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยสำหรับในปี 2565 กรมสรรพากรแจ้งให้ยื่นแบบกระดาษได้ภายในวันที่ 31 มกราคม 2565 หรือยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565


ภาษี ภ.ง.ด.3ก

สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ต้องแสดงรายการตามแบบ ภ.ง.ด.3ก ได้แก่ 

1. เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หรือการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

2. เงินได้จากวิชาชีพอิสระคือวิชากฎหมายการประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชีประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพ อิสระอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำ หนดชนิดไว้

3. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

4. เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์การเกษตรการอุตสาหกรรมการขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40 (1) ถึง 40 (7) แล้ว

ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภาษี ภ.ง.ด.3ก ก็ได้แก่ รัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามประเภทเงินได้ โดยต้องยื่นภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยสำหรับในปี 2565 กรมสรรพากรแจ้งให้ยื่นแบบกระดาษได้ภายในวันที่ 31 มกราคม 2565 หรือยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565


เช็กเลย! ภาษี ภ.ง.ด.1ก-ภ.ง.ด.2ก-ภ.ง.ด.3ก  ผ่าน New E-Filing ใครยื่นแบบไหน?

หากสำรวจรายได้ของตนเองแล้ว ก็อย่าลืมที่จะวางแผน ภาษี โดยเฉพาะการนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษี เพื่อที่จะได้ลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงบ้าง ที่สำคัญยื่นออนไลน์สะดวกกว่า หากยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมแนะนำเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซตื๘องกรมสรรพากร  https://www.rd.go.th/272.html หรือ  RD Intelligence Center 1161 ก็ได้เช่นกัน 


ที่มา : กรมสรรพากร 

ภาพประกอบ : AFP 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง