TNN online ยกระดับ Soft Power 'ไหมไทย' จากอาชีพ 'แก้จน' คนชนบท เชื่อมสู่แฟชั่นตลาดโลก

TNN ONLINE

สังคม

ยกระดับ Soft Power 'ไหมไทย' จากอาชีพ 'แก้จน' คนชนบท เชื่อมสู่แฟชั่นตลาดโลก

ยกระดับ Soft Power 'ไหมไทย' จากอาชีพ 'แก้จน' คนชนบท เชื่อมสู่แฟชั่นตลาดโลก

"14 ปี กรมหม่อนไหม สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาสู่ความยั่งยืน" ยกระดับ Soft Power ไหมไทย


ยกระดับ Soft Power 'ไหมไทย' จากอาชีพ 'แก้จน' คนชนบท เชื่อมสู่แฟชั่นตลาดโลก



"ข้าพเจ้าก็พยายามคิดว่าจะทำอย่างไรดี ได้เห็นชาวบ้านที่มาเฝ้ารับเสด็จโดยเฉพาะผู้หญิงใส่ผ้าซิ่นสวยงาม แม้ว่าจะดูเก่า แต่ฝีมือที่ทอละเอียดงดงามมาก เป็นศิลปะที่งดงาม ของพื้นบ้าน ข้าพเจ้าจึงมีความคิดขึ้นมาว่า ทำไมเราไม่ขอเขาทอผ้ามัดหมี่ลายต่างๆ ที่เค้าใส่ ทำไมไม่ใช้ความงดงามของผ้ามัดหมี่ที่ชาวบ้านใส่มานั่งเฝ้าอยู่กับพื้นให้เป็นประโยชน์ 


ข้าพเจ้าบอกเขาว่าผ้าที่ใส่นี่สวยมาก ทอให้พระราชินีได้ไหม ชาวบ้านก็บอกว่าพระราชินีจะเอาไปทำอะไร เพราะผ้าแบบนี้ที่คนเค้าจะนุ่งห่มก็มีแต่คนยากจนเท่านั้น  พระราชินีจะใส่ไปทำไม 


ข้าพเจ้าก็ตอบไปว่า ถ้าทอให้พระราชินีจะใส่ตลอด เค้าจึงตกลง มีการเข้าชื่อกันว่า ใครบ้างจะรับอาสาทอผ้าไหมมัดหมี่ถวาย ข้าพเจ้าได้ให้เงินล่วงหน้าไว้กับคนที่จะทอให้ข้าพเจ้าทุกคน 


สังเกตเห็นว่าแววตาของเค้าทั้งหลาย มีความหวังว่าเค้าจะมีงานทำ เป็นงานที่เขาคุ้นเคยและถนัด บางคนก็ทอผ้าฝ้ายใช้ แต่ทอผ้าไหมสำหรับใส่ไปทำบุญที่วัด ต่อมาเขาก็ทอให้ข้าพเจ้าเสมอ


ข้าพเจ้าก็นำมาตัดใส่ตลอด จากนั้นมีผู้อาสาทอผ้ามากขึ้น จึงได้โอกาสตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปะชีพขึ้น และชาวบ้านก็เริ่มทอผ้าส่งเข้ามามากมาย" 


-----------------------------------------

พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2547 ณ ศาลาดุสิตดาลัย พระราชวังดุสิต



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ห่างไกลในชนบทซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้น้อยและประสบปัญหาความยากจน จึงทรงตระหนักและทรงให้ความสำคัญในการสร้างอาชีพเสริม เพื่อแก้ปัญหาความยากจน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่พสกนิกร สนับสนุนอาชีพทางด้านหัตถกรรมไหมลวดลายต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2513 จนเป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวาง




ยกระดับ Soft Power 'ไหมไทย' จากอาชีพ 'แก้จน' คนชนบท เชื่อมสู่แฟชั่นตลาดโลก



เมื่อวันที่ 4 – 6 ธันวาคม 2566  ที่ผ่านมา ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม เนื่องในโอกาสครบรอบ 14 ปี “14 ปี กรมหม่อนไหม สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาสู่ความยั่งยืน”


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหม จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชปณิธานที่จะส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร อันนำมาสู่การสถาปนา กรมหม่อนไหมขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริม วิจัย และพัฒนาหม่อนไหมทั้งระบบ รวมถึงการอนุรักษ์สืบสานศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไหม ให้คงอยู่คู่ประเทศไทย


สำหรับการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมหม่อนไหม ครบรอบ 14 ปี ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ รวมถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและภารกิจสำคัญของกรมหม่อนไหมที่ดำเนินงานต่อไปในอนาคต ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหมได้ดำเนินงานภายใต้ภารกิจสำคัญเพื่อทำให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีอาชีพและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง 


สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ 20 ปี และนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม โดยใช้การตลาดนำการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาสินค้าผ้าไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับมุ่งสู่ Soft Power ของไทย


นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของกรมหม่อนไหม แนวทางการยกระดับ “หม่อนไหมพะเยา” สู่ความยั่งยืน การยกระดับผลิตภัณฑ์หม่อนไหมรองรับ BCG Model ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดหนองบัวลำภู (ผ้าหมี่สลับขิด) การพัฒนาผ้าไหมยกดอกลำพูน ด้วยภูมิปัญญาโดยใช้เส้นไหมไทย เทคโนโลยีพันธุ์ไหมที่เหมาะสมแก่การผลิตผ้าห่มใยไหมการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือ มกษ.5900-2565 Buriram Model และการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหม่อนไหมระบบแปลงใหญ่ เป็นต้น 


รวมถึงภายในงานมีการจัดจำหน่ายผ้าไหม ผลิตภัณฑ์หม่อนไหมจากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และผู้ประกอบการ เพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรอีกด้วย



ภาพ : รัฐบาลไทย 

ข้อมูล : รัฐบาลไทย

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง