TNN online วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

TNN ONLINE

สังคม

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

28 กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย ย้อนอดีตวิวัฒนาการธงชาติไทยจากอดีตถึงปัจจุบันเปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ พร้อมเปิดที่มาความหมายของสีแดง สีขาว สีน้ำเงิน

28 กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย ย้อนอดีตวิวัฒนาการธงชาติไทยจากอดีตถึงปัจจุบันเปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ พร้อมเปิดที่มาความหมายของสีแดง สีขาว สีน้ำเงิน

28 กันยายน เป็นวันสำคัญของชาติ เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย ธงชาติถือเป็นสัญลักษณ์อันสูงสุดของชาติ ธงชาติไทยแต่เดิมมีหลายรูปแบบ จนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่ในพุทธศักราช 2460 


ความหมายของธงชาติไทย


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงกำหนดความหมายของสีธงชาติไว้ว่า 

"สีแดง" หมายถึง ชาติ คือ ประชาชน 

"สีขาว" หมายถึง ศาสนา

"สีน้ำเงิน" หมายถึง พระมหากษัตริย์ 

"ธงไตรรงค์" หรือ "ธงชาติไทย" ถือเป็นสัญลักษณ์อันสูงสุดของชาติ เป็นสิ่งเตือนใจให้อนุชนได้รำลึกถึงการเสียสละเลือดเนื้อของบรรพบุรุษ เพื่อรักษาไว้ซึ่งแผ่นดิน และร้อยดวงใจคนทั้งชาติให้เป็นหนึ่ง หล่อหลอมความรักสามัคคี สร้างเสริมความภูมิใจในความเป็นชาติ ก่อเกิดเป็นพลังยิ่งใหญ่ในการพัฒนาชาติไทย

ย้อนไปเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 การประกาศให้เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2560 เป็นวันแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ 

รวมทั้งกำหนดให้มีการชักธงและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


ย้อนประวัติความเป็นมา "ธงชาติไทย" ในอดีต


สำหรับวิวัฒนาการของธงชาติไทยนั้น ในอดีตใช้ "ธงสยาม" หรือธงชาติไทยมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานเชื่อกันได้ว่าน่าจะเกิดขึ้น

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เพราะปรากฏเรื่องราวอยู่ในหนังสือจดหมายเหตุของฝรั่งเศส โดยได้กล่าวไว้ว่าเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2223 เรือรบของฝรั่งเศสชื่อ เลอรโวตูร์ โดยมี มองซิเออร์ คอนูแอนเป็นนายเรือ ได้นำเรือเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรีและการค้า นายเรือได้สอบถามทางกรุงศรีอยุธยาว่า ถ้าจะยิงสลุต (ยิงปืนให้ความเคารพ) ให้แก่สยาม เมื่อเรือผ่านป้อมวิไชเยนทร์ (ปัจจุบันคือป้อมวิชัยสิทธิ์) ตามประเพณีของชาวยุโรป จะเป็นการขัดข้องหรือไม่ 

สมเด็จพระนารายณ์ทรงอนุญาตและรับสั่งให้เจ้าเมืองบางกอก คือ ออกพระศักดิ์สงคราม ให้ทางป้อมยิง สลุตตอบด้วย และในการที่เรือรบ ฝรั่งเศลได้ยิงสลุตให้นั้น ทางป้อมก็ชักธงชาติขึ้น แต่ในห้วงเวลานั้นธงชาติสยามยังไม่มี จึงได้ชักธงชาติฮอลันดาขึ้นแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมยิงสลุต เพราะเห็นว่าไม่ใช่ธงของชาติสยาม 

จึงแจ้งให้ทราบว่า หากสยามประสงค์จะให้ฝรั่งเศสยิงสลุตให้ ก็เอาธงฮอลันดาลงเสีย แล้วชักธงอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นแทน เผอิญในสมัยนั้นธงสีแดงถือเป็นธงที่สยามใช้สำหรับเป็นธงนำทัพอยู่แล้ว สยามจึงนำธงแดงชักขึ้น จากนั้นฝรั่งเศสจึงยิงสลุตให้ ด้วยเหตุนี้สยามจึงถือเอาธงสีแดงเป็นธงชาติสยาม
วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325 (ธงเรือหลวง) และ สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398 (ธงเรือเอกชน)


ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังคงใช้ธงสีแดงเกลี้ยงชักเป็นเครื่องหมายประจำเรือค้าขายกับต่างประเทศอยู่ ธงแดงนี้ใช้ชักขึ้นทั้งในเรือหลวงและเรือราษฎร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) 

ทรงมีพระราชดำริว่าเรือหลวงกับเรือราษฎรควรมีเครื่องหมายให้เห็นแตกต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ทำรูป "จักร" สีขาวติดไว้กลางธงสีแดงเป็นgครื่องหมายใช้เฉพาะเรือหลวง ส่วนเรือค้าขายของราษฎรทั่วไปนั้น ยังคงใช้สีแดงเกลี้ยงอยู่

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2360

ขึ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. 2360 - 2366 (รัชกาลที่ 2) ประเทศอังกฤษ ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าขายอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และพระองค์ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือกำปั่นของหลวงขึ้น 2 ลำ เพื่อล่องค้าขายระหว่างสิงคโปร์และมาเก๊า โดยที่เรือหลวงทั้งสองลำดังกล่าวจะชักธงแดงตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา 

กระทั่งวันหนึ่งประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าเมืองสิงคโปร์ ได้บอกกับนายเรือหลวงของสยามให้มากราบบังคับทูลพระเจ้ากรุงสยามว่า ..."เรือเดินทะเลชาวมลายูที่ค้าขายกับสิงคโปร์ก็ชักธงแดงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงขอให้พระเจ้ากรุงสยามใช้ธงอย่างอื่นเสีย เพื่อจะได้จัดการรับรองเรือหลวงได้สะดวกและไม่สับสน"... 

และที่สำคัญในช่วงรัชกาลที่ 2 นี้ พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอกมาสู่พระบารมีถึง 3 ช้าง คือ พระเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ ซึ่งถือเป็นพระเกียรติยศอย่างสูง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปช้างสีขาวยืนพื้นอยู่ในวงจักรสีขาวติดไว้กลางธงแดงอันมีความหมายว่า “พระเจ้าแผ่นดินผู้มีช้างเผือก” และธงรูปช้างเผือกสีขาวอยู่ในวงจักรสีขาวนี้ก็ใช้เฉพาะเรือหลวงเท่านั้น ส่วนเรือพ่อค้าไทยทั่วไปก็ยังคงใช้ธงแดงอยู่ตามเดิม โดยใช้ธงสยามแบบนี้จนถึงรัชกาลที่ 3

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2360 - พ.ศ. 2398


ครั้นขึ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) สยามได้มีการทำหนังสือสัญญาเปิด การค้าขายกับชาวตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีเรือสินค้าของประเทศต่างๆ ทั้งจากยุโรปและอเมริกาล่องเข้ามาค้าขายมากขึ้น พร้อมทั้งมีสถานกงสุลตั้งอยู่ในพระนคร ซึ่งชักธงชาติของประเทศตนเองขึ้นเป็นสำคัญ

ดังนั้น จึงจำเป็นที่ประเทศสยามจะต้องมีธงชาติที่แน่นอน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริ ว่าธงสีแดงซึ่งเป็นธงที่ใช้กับเรือของสามัญชนชาวสยามนั้น ซ้ำกับประเทศอื่น ยากต่อการแยกแยะ สมควรยกเลิกเสีย 

และหันมาใช้ธงอย่างเรือหลวงเป็นธงชาติสยามสำหรับเรือสามัญชนด้วย แต่โปรดเกล้าให้เอารูปวงจักรสีขาวออกเสีย เพราะเป็นของสูงซึ่งถือเป็นเครื่องหมายเฉพาะของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น โดยให้คงไว้แต่รูปช้างเผือกอยู่กลางธงแดง 

แต่ทว่าให้ปรับขนาดช้างเผือกให้ใหญ่ขึ้น โดยในช่วงแรกเป็นแบบช้างเผือกยืนพื้น ต่อมาปรับรูปช้างเป็นแบบช้างเผือกปล่อย


วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2398- พ.ศ. 2459


โดยในช่วงแรกเป็นแบบช้างเผือกยืนพื้น ต่อมาปรับรูปช้างเป็นแบบช้างเผือกปล่อย

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2398- พ.ศ. 2459


ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามเป็นครั้งแรก ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก 110 ต่อมาคือพระราชบัญญัติธงสยาม รัตนโกสินทร์ศก 116 และพระราชบัญญัติธงสยาม รัตนโกสินทร์ศก 118 โดยทุกฉบับได้ยืนยันถึงลักษณะของธงชาติ

สยามเป็นแบบธงพื้นสีแดงตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกสีขาวปล่อยหันหน้าเข้าหาเสา

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2398- พ.ศ. 2459


ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงพระราชดำริว่า เมื่อมองธงชาติซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ไกล จะมีลักษณะไม่ต่างจากธงราชการเท่าไร และรูปช้างที่อยู่กลางธงก็ไม่งดงาม จึงโปรดเกล้าฯให้ออกประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก 129 ตามมาตรา 4 ข้อ 15 โดยแก้ไขลักษณะธงชาติเป็นดังนี้ 

"ให้แก้ธงชาติเปนพื้นสีแดง กลางเปนรูปช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนแท่นหน้าหันเข้าเสา สำหรับเปนธงราชการ" ประกาศมา ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2459 ซึ่งถือเป็นธงช้างรูปสุดท้ายของธงในสมัยรัตนโกสินทร

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2459 - พ.ศ. 2460


และช่วงท้ายในปีพ.ศ. 2459 ก็ได้มีการยกเลิกการใช้ธงชาติแบบช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนแท่น หน้าหันเข้าเสา เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี เพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎรที่ต้องสั่งซื้อธงช้างมาจากต่างประเทศ 

และบางครั้งเมื่อเกิดความสะเพร่าติดธงผิด รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้นเป็นที่น่าละอาย ซึ่งหากเปลี่ยนเป็นธงแถบสีแล้ว ราษฎรก็สามารถทำธงใช้ได้เอง และจะช่วยขจัดปัญหาการติดผิดพลาด โดยก่อนออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ ได้ทรงทดลองใช้ธงชาติไทยแบบริ้วขาวแดงห้าริ้วติดอยู่ที่สนามเสือป่าในช่วงระยะหนึ่ง

วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2459 - พ.ศ. 2460


แต่เนื่องจากธงแดงขาวห้าริ้ว เมื่อดูแล้วไม่สง่างาม จึงมีการปรับเปลี่ยนแถบตรงกลางซึ่งเป็นสีแดงให้เป็นสีน้ำเงินขาบ การเพิ่มสีน้ำเงินนี้ปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาในบันทึกส่วนพระองค์ วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2460 ว่าได้ทอดพระเนตรบทความแสดงความเห็นของผู้ใช้นามแฝงว่า "อะแคว์ริส" ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2460 ได้ทรงแปลข้อความนั้นลงในบันทึกด้วย มีความโดยย่อว่า ...

"เพื่อนชาวต่างประเทศของผู้เขียน (อะแคว์ริส) ได้ปรารภถึงธงชาติแบบใหม่ว่า ยังมีลักษณะไม่สง่างามเพียงพอ ผู้เขียนก็มีความเห็นคล้อยตามเช่นนั้น และเสนอแนะด้วยว่า ริ้วตรงกลางควรจะเป็นสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถ้าเปลี่ยนตามนี้แล้ว 

ธงชาติไทยก็จะประกอบด้วยสีแดง ขาว น้ำเงิน มีสีเหมือนกับธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษ และธงดาวของสหรัฐอเมริกา ประเทศพันธมิตรทั้งสามประเทศ คงเพิ่มความพอใจในประเทศไทยยิ่งขึ้น 

เพราะเสมือนยกย่องเขา ทั้งการที่มีสีของพระมหากษัตริย์ในธงชาติ ก็จะเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระองค์ในวาระที่ประเทศไทยได้เข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ด้วย... "

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ เมื่อทรงทดลองวาดภาพธงสามสีลงในบันทึก ทรงเห็นว่างดงามดีกว่าริ้วขาวแดงที่ใช้อยู่ ต่อมาเมื่อเจ้าพระยารามราฆพ (ขณะนั้นยังเป็นพระยาประสิทธิศุภการ) ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ 

ได้นำแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความเห็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ทรงเห็นชอบและรับสั่งว่าถ้าเปลี่ยนในขณะนั้นจะได้เป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้พระยาศรีภูริปรีชา ร่างประกาศแก้แบบธงชาติสยาม และได้ทรงนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อฟังความเห็น ที่ประชุมลงมติเห็นชอบธงสามสีตามแบบที่คิดขึ้นใหม่ 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นเรียกว่า พระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 ออกประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 มีผลบังคับใช้ภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว 30 วัน ซึ่งต่อมาธงสยามแบบล่าสุดนี้ถูกเรียกว่า "ธงไตรรงค์"


วันธงชาติไทย 28 กันยายน วิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน เปลี่ยนมาแล้ว 9 แบบ

พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน


สำหรับธงไตรรงค์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน แบ่งด้านยาวเป็น 5 แถบ แถบตรงกลางเป็นสีน้ำเงินแก่กว้าง 2 ส่วน ถัดจากแถบสีน้ำเงินแก่ทั้งสองข้างเป็นสีขาว กว้างข้างละ 1 ส่วน และต่อจากแถบสีขาวทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน 

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ รัฐบาลได้เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ร่วมจัดกิจกรรมประดับธงชาติไทยตามอาคารสถานที่ราชการ สถานศึกษาและบ้านเรือน.


ข้อมูลและภาพประกอบจาก บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด

ภาพปกโดย TNN Online

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง