TNN online แนะสอนทักษะวิธีการเอาชีวิตรอด! หากเด็กติดอยู่ภายในรถยนต์

TNN ONLINE

สังคม

แนะสอนทักษะวิธีการเอาชีวิตรอด! หากเด็กติดอยู่ภายในรถยนต์

แนะสอนทักษะวิธีการเอาชีวิตรอด! หากเด็กติดอยู่ภายในรถยนต์

แนะนำเด็ก ผู้ปกครอง และ ครู ควรเน้นย้ำทักษะวิธีการเอาตัวรอด หากเกิดกรณีเด็กติดในรถยนต์ เพื่อลดความสูญเสีย

แนะนำเด็ก ผู้ปกครอง และครู ควรเน้นย้ำทักษะการเอาตัวรอด หากเกิดกรณีเด็กติดในรถยนต์ เพื่อลดความสูญเสีย ส่วนใหญ่เด็กที่ถูกลืมในรถและเสียชีวิต สาเหตุหลักเกิดจากได้รับความร้อนสูง จนสมองบวม และหากเกิน2 ชั่วโมง ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ จะเสียชีวิตในที่สุด 

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำการสอนทักษะชีวิตเด็กในการเอาตัวรอดเมื่อติดภายในรถยนต์ สามารถทำได้ เช่น การบีบแตร การปลดล็อคประตู  

ทั้งนี้ ยืนยันว่าการสอนทักษะวิธีการเอาตัวรอดให้กับเด็ก ซึ่งไม่ใช่วิธีแก้ไขหรือป้องกันการเกิดเหตุทั้งหมด แต่สิ่งที่ควรทำ คือการกำกับดูแลผู้ขับขี่รถรับส่งนักเรียนให้มีความรอบคอบละเอียด ต้องมีการตรวจสอบรายชื่อเด็กโดยสารทุกครั้งที่ขึ้นหรือลงจากรถ เพราะส่วนใหญ่เด็กที่ถูกลืมในรถและเสียชีวิต สาเหตุหลักเกิดจากได้รับความร้อนสูง จนสมองบวม และหากเกิน2 ชั่วโมง ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ  จะเสียชีวิตในที่สุด

หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  แนะนำเด็ก ผู้ปกครอง และ ครู ควรเน้นย้ำทักษะการเอาตัวรอด หากเกิดกรรีเด็กติดในรถยนต์ เพื่อลดความสูญเสีย ชี้  ส่วนใหญ่เด็กที่ถูกลืมในรถและเสียชีวิต สาเหตุหลักเกิดจากได้รับความร้อนสูง จนสมองบวม และหากเกิน2 ชั่วโมง ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจะเสียชีวิตในที่สุด 

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ระบุว่า โดยเฉลี่ยมีเด็กเสียชีวิตจาการติดอยู่ในรถ ปีละ 2-3 ราย แต่มักเกิดกับกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่กรณีดังกล่าว ถือเป็นเด็กที่อายุมากและสามารถเรียนรู้การช่วยเหลือตนเองได้ แต่ต้องดูสาเหตุว่าทำไหมถึงยังเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น 

ทั้งนี้ ในอนาคต รศ.นพ.อดิศักดิ์ อยากผลักดันให้กลุ่มรถรับส่งนักเรียน ทั้งผู้ประกอบการภายนอกหรือของสถานศึกษาเอง ต้องมีหน่วยงานหรือสมาคมเข้ามากำกับดูแล และผู้ขับขี่ต้องผ่านการประเมินเรื่อง การดูแลความปลอดภัยทุก 6 เดือน พร้อมกับการเพิ่มความเข้มงวดในการทำใบขับขี่รถสาธารณะ  

นอกจากนี้ หากมีเหตุการณ์เด็กเสียชีวิตในรถ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทำรายงานแจ้งเหตุการณ์เพื่อมาศึกษาดูข้อมูลจุดอ่อน เพื่อการแก้ไขโดยผู้ใหญ่ทั้ง พ่อ แม่ ครู สถานศึกษา รวมถึงผู้ขับขี่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบการเสียชีวิตของเด็กเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองเด็ก


ภาพจาก TNN ONLINE (แฟ้มภาพประกอบข่าว)

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง