TNN online 'อาหารติดหลอดลม' จากเคสน้องอลิส! เกิดขึ้นตอนอยู่คนเดียว ต้องทำอย่างไร?

TNN ONLINE

สังคม

'อาหารติดหลอดลม' จากเคสน้องอลิส! เกิดขึ้นตอนอยู่คนเดียว ต้องทำอย่างไร?

'อาหารติดหลอดลม' จากเคสน้องอลิส! เกิดขึ้นตอนอยู่คนเดียว ต้องทำอย่างไร?

อาหารติดหลอดลมเสียชีวิต จากเคสอุทาหรณ์ อลิสเน็ตไอดอล เปิดวิธีแก้ไขเมื่อคนใกล้ตัวเกิดมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดคอ หรือ เมื่ออยู่คนเดียวต้องทำอย่างไร?

วันนี้ ( 7 มิ.ย. 65 )จากกรณี น้องอลิส เน็ตไอดอลชื่อดัง ที่เสียชีวิตจากอาการ อาหารติดหลอดลม จนขาดอาการหายใจกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรานานกว่า 2 เดือนก่อนจะเสียชีวิตในวันนี้ที่รพ.พระนั่งเกล้าเมื่อเวลา 12.50 น. ของวันที่ 6 มิ.ย. ที่ผ่านมา 

โดยเรื่องราวดังกล่าวถือเป็นอุทาหรณ์ให้กับประชาชนทั่วไป และมีคำถามว่า หากมี อาหารติดคอ หรือ อาหารติดหลอดลม ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไว้ดังต่อไปนี้

หากสำลักอาหารจนติดคอ หรือ สิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดคอ-หลอดลมต้องทำอย่างไร? 

การสำลัก มักเกิดจากอาหาร หรือ สิ่งแปลกลอมอื่นๆ เข้าไปอุดตันคอ หรือ หลอดลม ผู้ที่สำลัก มักไม่สามารถพูด ไอ หรือหายใจได้ และมักมีลักษณะเฉพาะคือใช้มือจับไปที่คอของตนเอง เนื่องจากหายใจไม่ออก 

หากพบว่าเพื่อนของคุณสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม สิ่งแรกที่ควรกระทำคือการประเมินความรุนแรง หากยังมีสติดี และสามารถไอได้ด้วยตัวเอง อันดับแรกบอกเพื่อนของคุณให้พยายามไอออกมาด้วยตัวเอง ระหว่างนั้นเฝ้าสังเกตอาการ หากไม่สามารถไอออกมาได้ หรือไม่มีแรงไอออก หรือเริ่มมีอาการของการขาดอากาศหายใจ เช่น สีของใบหน้า เริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ให้ขอความช่วยเหลือด้วยการตามรถพยาบาล และเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยทันที

ในกรณีที่ไม่สามารถไอได้ด้วยตนเอง หรือได้ลองให้พยายามไอแล้วไม่ได้ผล หากผู้ป่วยหมดสติไปแล้ว ให้โทรแจ้งสายด่วน 1669 และเริ่มทำการกู้ชีวิต (CPR, ปั๊มหัวใจหากมีหัวใจหยุดเต้น) ทันที หากยังไม่หมดสติ ให้เรียกรถพยาบาล และทำการตบแรงๆ ที่บริเวณหลังของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไอ สามารถทำซ้ำได้ 5 ครั้ง หากสิ่งแปลกปลอมยังไม่ออก ให้ทำ Heimlich Maneuver (ใช้ในผู้ใหญ่ หรือเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ) ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ขั้นที่ 1 ให้ผู้ป่วยยืนขึ้น

ขั้นที่ 2 ยืนข้างหลังผู้ป่วย โดยให้ขาข้างหนึ่ง อยู่ระหว่างขาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วย เพื่อพยุงผู้ป่วยในกรณีที่หมดสติ

ขั้นที่ 3 แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า เรากำลังจะให้ความช่วยเหลือ 

ขั้นที่ 4 ใช้แขนทั้ง 2 ข้าง โอบรอบเอวผู้ป่วย อย่าให้แขนอยู่บริเวณกระดูกซี่โครง เนื่องจากอาจมีผลทำให้ซี่โครงหักได้

ขั้นที่ 5 กำมือข้างหนึ่ง โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ชิดกับตัวผู้ป่วย ในบริเวณที่เหนือสะดือขึ้นมาเล็กน้อย และอยู่ใต้ต่อกระดูกแผงหน้าอก 

ขั้นที่ 6 ใช้มืออีกข้างจับมือข้างที่กำเอาไว้

ขั้นที่ 7 ออกแรงดันมือที่กำไว้ขึ้นมาทางด้านบนอย่างรวดเร็ว

ขั้นที่ 8 ออกแรงให้มากพอที่จะดันสิ่งแปลกปลอมออกมา

ขั้นที่ 9 ระลึกไว้ว่า การออกแรงดัน จะทำให้กระบังลมดันให้อากาศออกมาจากปอดของผู้ป่วย ทำให้เกิดลักษณะที่คล้ายกับการไอ

ขั้นที่ 10 ออกแรงพยุงผู้ป่วยไว้ เนื่องจากผู้ป่วยอาจหมดสติหาก ไม่ได้ผล

ขั้นที่ 11 ทำซ้ำ สามารถทำได้ถึง 5 ครั้ง หากไม่ได้ผลต้องรีบทำการกู้ชีพทันที

หากสำลักอาหารจนติดหลอดลมเมื่ออยู่คนเดียวต้องทำอย่างไร? 

อ.พญ.ภัทรานิษฐ์ ภัทรพรเจริญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกคำแนะนำผ่านช่องยูทูป รามา ชาแนล หากอาหารติดคอเมื่ออยู่คนเดียวสามารถแก้ไขด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

- หาวัตถุ หรือ เครื่องเรือนที่มีความโค้งมน

- โน้มตัวบริเวณกึ่งกลางลิ้นปี่ และ สะดืออยู่ที่วัตถุนั้น 

- ออกแรงกระแทกจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา 


ข้อมูลจาก  : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ / RAMA Chanel

ภาพจาก :   AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง