TNN online จุฬาฯเปิดผลวิจัยพบ “กลิ่นเหงื่อบอกภาวะซึมเศร้าได้”

TNN ONLINE

Health

จุฬาฯเปิดผลวิจัยพบ “กลิ่นเหงื่อบอกภาวะซึมเศร้าได้”

จุฬาฯเปิดผลวิจัยพบ “กลิ่นเหงื่อบอกภาวะซึมเศร้าได้”

จุฬาฯต่อยอดวิจัยเครื่องมือตรวจโควิด​ คัดกรองความเสี่ยงการป่วยภาวะความเครียดโรคซึมเศร้า​จากเหงื่อ

วันนี้ ( 28 มิ.ย. 66 )จากงานวิจัยของคณะแพทย์ศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย  ประสบความสำเร็จการพัฒนาการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงผู้มีภาวะความเครียดป่วยโรคซึมเศร้า ด้วยการเก็บตัวอย่างของสารในเหงื่อ


แนวคิดการทดลองตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าและความเครียด เนื่องจากเหงื่อมีสารระเหยที่สามารถวิเคราะห์แยกหาอาการป่วยได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายนำร่องทดลองในอาชีพนักดับเพลิง 1 พันกว่าคน 


โดยทีมนักวิจัยจะใช้ก้านสำลีเก็บตัวอย่างเหงื่อบริเวณใต้รักแร้ 10-15 นาที และนำไปฉีดเข้าเครื่องวิเคราะห์ ซึ่งจะใช้เวลาในการวิเคราะห์ประเมินผลอีก 15 นาที โดยการอ่านค่า เครื่องมือตรวจคัดกรองความเสี่ยงภาวะความเครียดและซึมเศร้า จะให้ค่าออกมาคล้ายแผนที่ 


แยกกลุ่มอาการป่วยเป็นกลุ่ม เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มมีภาวะความเครียดเสี่ยงป่วยซึมเศร้า ซึ่งจากการทดลองที่ผ่านในกลุ่มตัวอย่างอาชีพนักดับเพลิงให้ผลแม่นยำกว่าร้อยละ 90 


โดยข้อดีของการตรวจคัดกรอง หาความเสี่ยงภาวะความเครียดและป่วยซึมเศร้าด้วยเหงื่อ คือ ทำได้ง่าย รู้ผลเร็ว หากพบความเสี่ยงจะเข้าสู่การรักษาบำบัดได้เร็ว 


สำหรับการวิจัยพัฒนาเครื่องมือคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้าจากสารเหงื่อ เป็นการต่อยอดการวิจัยพัฒนามาจากเครื่องมือตรวจคัดกรองโควิด โดยคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าที่จะนำข้อมูลจากการวิจัยไปพัฒนาขยายไปถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงอาการป่วยโรคอื่นๆจากเหงื่อด้วย 


สำหรับความสำเร็จตรวจคัดกรองความเครียดซึมเศร้าจากเหงื่อในกลุ่มอาชีพนีกดับเพลิงที่ค่อนข้างแม่นยำ ขณะนี้อยู่ระหว่างทดลองเก็บตัวอย่างในกลุ่มอาชีพพยาบาล อนาคตจะขยายให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงความเครียดโรคซึมเศร้าจากเหงื่อได้อีกด้วย 


ภาพจาก : AFP 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง