TNN online เปิด 3 วิธีป้องกัน-ลดความเสี่ยง 'โรคซึมเศร้า' ด้วยตัวเองทำอย่างไร?

TNN ONLINE

Health

เปิด 3 วิธีป้องกัน-ลดความเสี่ยง 'โรคซึมเศร้า' ด้วยตัวเองทำอย่างไร?

เปิด 3 วิธีป้องกัน-ลดความเสี่ยง 'โรคซึมเศร้า' ด้วยตัวเองทำอย่างไร?

เปิด 3 วิธีป้องกัน-ลดความเสี่ยงการเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ ด้วยตัวเอง หากเป็นแล้วต้องรักษาอย่างไร?

วันนี้ ( 28 มิ.ย. 66 )ในปัจจุบันผู้ป่วย ‘โรคซึมเศร้า’ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นโดยสาเหตุอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และมีเหตุการณ์ หรือมีปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต


ภาวะโรคซึมเศร้าคืออะไร? 

ภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้า เป็นความเจ็บป่วย ไม่ใช่ความอ่อนแอทางจิตใจ  โดยผู้ป่วยมีความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ เศร้า ท้อแท้ ซึม เบื่อไม่อยากพูดหรือทำกิจกรรมเหมือนเดิม ถ้าไม่รีบรักษาอาการจะรุนแรงขึ้น จากการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า ภาวะซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยมีความเครียดทางสังคมจิตใจเป็นตัวกระตุ้นกลุ่มเสี่ยง


วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า

พบแพทย์หรือจิตแพทย์ ไปเป็นเพื่อนเมื่อถึงวันตรวจตามนัดดูแลให้รับประทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง ส่วนใหญ่จะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ ดูแลการกินการนอนให้เป็นเวลาชวนออกกำลังกาย ร่วมกิจกรรมในชุมชน มองสิ่งรอบข้างอย่างมีความสุข ไม่นึกถึงสิ่งบั่นทอนจิตใจหากมีอาการมาก บอกไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เก็บสิ่งที่อาจเป็นอันตรายไม่ให้มีในบ้าน เช่น เชือก ของมีคม อาวุธปืน ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง หรือยาอันตรายต่างๆ สำหรับการรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ มีทั้งการรักษาด้วยยาต้านเศร้าจิตบำบัด และสติบำบัด


ลดความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าด้วยตนเองได้อย่างไร ?

1.สังเกต


หมั่นสำรวจอารมณ์ของตนเอง เพื่อเป็นการสังเกตว่าสิ่งใดช่วยทำให้อารมณ์เศร้าหมอง หรือ สดชื่น แจ่มใส
และพยายามรักษาจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ

2.ไม่กระตุ้น


ไม่นำตนเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า รวมถึงการใช้สารเสพติด

3.ทำกิจกรรม

เลือกกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น การออกกำลังกาย กิจกรรมสันทนาการ พบปะเพื่อนฝูง เข้าสังคม

หากพบว่าตนเองมีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ไร้เรี่ยวแรง ขาดสมาธิ กินไม่ได้นอนไม่หลับ หรือนอนมาก และมีความคิดอยากตาย รู้สึกตัวไร้คุณค่าเป็นภาระ โดยมีอาการติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแเพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป


โรคซึมเศร้า ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ปัญหาใหญ่ระดับโลก 

องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการว่า ประชากรมากกว่า 300 ล้านคน หรือร้อยละ 4 ของประชากรโลก เป็น ‘โรคซึมเศร้า’ และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึง ร้อยละ 20.4 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี เสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ 1.5 ล้านคนหรือร้อยละ2.5ของประชากรไทย และยังพบว่าผู้หญิงเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายถึง 1.7 เท่า


ข้อมูลจาก  : สถาบันราชานุกูล รพ.จุฬาลงกรณ์

ภาพจาก : AFP 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง