TNN ทำความรู้จัก "เมฆคิวมูโลนิมบัส" เมฆแนวทิ้งดิ่ง ก่อนเกิดพายุฤดูร้อน

TNN

Earth

ทำความรู้จัก "เมฆคิวมูโลนิมบัส" เมฆแนวทิ้งดิ่ง ก่อนเกิดพายุฤดูร้อน

ทำความรู้จัก เมฆคิวมูโลนิมบัส  เมฆแนวทิ้งดิ่ง ก่อนเกิดพายุฤดูร้อน

ช่วงฤดูร้อนมักมีคำเตือนให้ระวังพายุฤดูร้อนบ่อยครั้ง ซึ่งเราสามารถสังเกตลักษณะเมฆก่อนจะเกิดพายุฤดูร้อนได้

สำหรับพายุฤดูร้อน จะเกิดในช่วงฤดูร้อนที่มีอากาศอบอ้าว ความชื้นสูงเลยทำให้มวลอากาศร้อนลอยตัวขึ้นไปก่อตัวเป็นเมฆฝน หรือเรียกว่า ก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ทางวิชาการแล้ว เรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumolonimbus) เป็นก้อนเมฆฝนขนาดใหญ่ยักษ์ ขยายตัวและการพัฒนาในแนวดิ่ง จะมีโครงสร้างที่ดูใหญ่และมีปลายแหลมซึ่งมักจะมีรูปร่างเหมือนเห็ด เป็นเมฆที่ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และเกิดฟ้าผ่าได้ โดยลักษณะอากาศแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ แต่จะไม่กระจายพื้นที่เป็นวงกว้าง จะหนักเฉพาะพื้นที่ ที่เป็นจุดศูนย์กลางของพายุฤดูร้อน รัศมี ตั้งแต่ 1-2 ตารางกิโลเมตร และ อาจจะถึง 10 กิโลเมตร สำหรับเมฆคิวมูโลนิมบัสนั้น เป็นเมฆที่มีความอันตรายต่อการบินด้วย เพราะรวมสภาพอากาศที่เป็นอันตรายต่อการบินทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorm) ภาวะกระแสอากาศแปรปรวน (Turbulence) ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า (Lightning) สภาวะน้ำแข็ง (Icing condition) และอีกมากมาย ดังนั้นถ้าช่วงนี้เห็นเมฆคิวมูโลนัมบัส ก้อนเมฆแนวทิ้งดิ่ง ก็ต้องระวัง เพราะอาจเกิดพายุ ลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าตามมา ต้องระวังอันตรายไว้ด้วย

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง