พยากรณ์อากาศ 9-18 ตุลาคม ภาคไหน เตรียมสัมผัสลมหนาว ระวังฝนตกหนัก
พยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 9 - 18 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมยังพาดผ่าน ภาคไหน ? เตรียมรับลมหนาว ช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศมีความแปรปรวนสูง ยังเฝ้าระวังฝนตกหนัก
พยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า 9 - 18 ตุลาคม 2566 ร่องมรสุมยังพาดผ่าน ภาคไหน ? เตรียมรับลมหนาว ช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศมีความแปรปรวนสูง ยังเฝ้าระวังฝนตกหนัก
เพจเฟซบุ๊ก Weatherradio กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ทุกๆ 24 ชม. (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง ุ9 - 18 ต.ค.66 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
- วันที่ 9-11 ต.ค.66 ร่องมรสุมยังพาดผ่านภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่อง และตกหนักบางแห่ง ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน เริ่มมีลมเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมหนาว) พัดปกคลุม จากมวลอากาศเย็นแผ่ซึมลงมา เป็นช่วงท้ายๆของฝนที่จะเกิดขึ้นในบริเวณประเทศไทยตอนบน ช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศมีความแปรปรวนสูง ยังเฝ้าระวังฝนตกหนัก
- ช่วง 12 -18 ต.ค.66 มวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) เริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว ทำให้มีอากาศเย็นในตอนเช้า ทิศทางลมเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ ปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศกัมพูชา ฝนยังเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุม ยังต้องเฝ้าระวังและติดตามฝนตกหนักบางพื้นที่
สำหรับสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้ตอนบน: พายไต้ฝุ่น "โคอินุ (KOINU) ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้ว มีศูนย์กลางทางตอนใต้ของประเทศจีน เมื่อปะทะกับมวลอากาศเย็นจะอ่อนกำลังลงอีก พายุนี้จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ฝนที่เกิดขึ้นมาจากร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมในขณะนี้ และ ในมหาสมุทรแปซิฟิกมี พายุโซนร้อนกำลังแรง "บอละเวน(BOLAVEN)" ก่อตัวคาดว่าจะแรงขึ้นอีก แต่อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบ
ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำทางด้านตะวันออกของฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคล่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 13 -16 ต.ค.66 แต่ก่อตัวในช่วงที่มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมเหนือ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ(ลมหนาว) จะเริ่มพัดลงมาปกคลุม แต่ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 8 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 8 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 8 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 14 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 8 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 35 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 14 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 9 – 10 ต.ค. 66 ในวันที่ 8 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 14 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 10 – 11 ต.ค. 66 ในวันที่ 8 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 14 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 8 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 14 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 10 – 11 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 34 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล ในวันที่ 8 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 14 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 9 – 10 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 33 องศาเซลเซียส
ที่มา Weatherradio กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก Weatherradio / TNN Online