TNN online "พายุยุนยาง” พายุลูกใหม่ก่อตัวแปซิฟิก จับตาเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?

TNN ONLINE

Earth

"พายุยุนยาง” พายุลูกใหม่ก่อตัวแปซิฟิก จับตาเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?

พายุยุนยาง” พายุลูกใหม่ก่อตัวแปซิฟิก จับตาเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?

พยากรณ์อากาศเผย พายุลูกใหม่ “ยุนยาง” ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก จับตาเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว? ส่งผลกระทบหรือไม่

วันนี้ ( 7 ก.ย. 66 ) ความคืบหน้าสถานการณ์พายุลูกใหม่ กรมอุตุนิยมวิทยาเปิดเผยข้อมูลล่าสุด พายุโซนร้อน "ยุนยาง พายุลูกที่ 13 มีศูนย์กลางบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามกรมอุตุนิยมวิทยาได้ชี้แจงแล้วว่า พายุนี้อยู่ห่างไกลจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยแต่อย่างใด  


ทั้งนี้คำว่า ยุนยาง หมายถึงเป็ดแมนดาริน ตั้งชื่อโดยเขตปกครองพิเศษฮ่องกง


สำหรับสภาพอากาศ และ ปริมาณฝนตกในประเทศไทย 10 วันล่วงหน้านั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 


พายุยุนยาง” พายุลูกใหม่ก่อตัวแปซิฟิก จับตาเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?


พายุยุนยาง” พายุลูกใหม่ก่อตัวแปซิฟิก จับตาเข้าไทย กรมอุตุฯชี้แจงแล้ว?


พยากรณ์สภาพอากาศฝนตก 7 - 8 ก.ย. 66


ประเทศไทยตอนบน ยังมีโอกาสเจอฝนกระจายหลายพื้นที่ มีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณใกล้แนวร่องมรสุม ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก  ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้บริเวณใกล้แนวร่องมรสุมพาดผ่าน 


ส่วนภาคใต้ฝนเริ่มน้อยลงบ้าง เนื่องจากมวลอากาศเย็นจากซีกโลกใต้แผ่ลิ่มขึ้นมาปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง  คลื่นลมมีกำลังอ่อนลงด้วย อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง  ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมที่พัดปกคลุมในขณะนี้เริ่มมีกำลังปานกลาง  ส่วนร่องมรสุมได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามและอ่าวตังเกี๋ย   


พยากรณ์สภาพอากาศฝนตก 9-16 ก.ย.66


 ฝนยังมีต่อเนื่อง แต่ปริมาณฝนส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง อาจมีฝนหนักบางแห่งด้านรับมรสุม   มรสุมมีกำลังแรงขึ้นบ้าง  ส่วนร่องมรสุมยังคงสวิงขึ้นลงพาดผ่านทางภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน   ทำให้ยังมีฝนเกิดขึ้นได้บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง  (รวม กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนด้านรับมรสุม คลื่นลมยังมีกำลังปานกลาง ชาวเรือ ชาวประมงต้องระมัดระวัง


พยากรณ์สภาพอากาศฝนตก 15 -16 ก.ย.66


ต้องลุ้นการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ ว่าพอจะแรงขึ้นเป็นพายุได้หรือไม่ 


ข้อมูลจาก :  กรมอุตุนิยมวิทยา

 ภาพจาก  AFP 


ข่าวแนะนำ