TNN online จับตา! 3 ปัจจัยหลักหลังสงกรานต์ อาจทำยอดโควิดในไทยเพิ่มสูงขึ้น

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

จับตา! 3 ปัจจัยหลักหลังสงกรานต์ อาจทำยอดโควิดในไทยเพิ่มสูงขึ้น

จับตา! 3 ปัจจัยหลักหลังสงกรานต์ อาจทำยอดโควิดในไทยเพิ่มสูงขึ้น

จับตา! 3 ปัจจัยหลักหลังสงกรานต์ อาจทำยอดโควิดในไทยเพิ่มสูงขึ้น เพราะจะมีการแพร่เชื้อ ติดเชื้อกันมากขึ้น

วันนี้ (21 มี.ค.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า 21 มีนาคม 2565

คาดว่าระบาดของไทยในช่วงหลัง 10 มีนาคมเป็นต้นมานั้น slope การลงน่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ ดังเช่นธรรมชาติที่เห็นจากหลายประเทศทั่วโลกที่ขาลงจะนาน

แต่น่าจะมีโอกาสเห็นการถีบตัวขึ้นราวกลางสัปดาห์ที่ 4 ของเมษายนเป็นต้นไป อันมีอิทธิพลมาจาก 3 ปัจจัยหลักได้แก่

หนึ่ง หลังเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีการแพร่เชื้อติดเชื้อกันมากขึ้น เป็นไปตามธรรมชาติระบาดไทยตลอดปีกว่าที่ผ่านมา ทุกครั้งหลังเทศกาล 

สอง อัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังน้อย อยู่ระดับ 30+% 

สาม ผลจากสมรรถนะของ BA.2 ที่แพร่ได้ไวกว่า BA.1 และตอนนี้ครองสัดส่วนการระบาดมากขึ้นในประเทศไทย เฉกเช่นเดียวกับทวีปยุโรปและอื่นๆ

คล้ายกับระลอกสามในปีที่แล้ว ที่เจออัลฟ่าต่อด้วยเดลต้าในระลอกเดียวกัน

ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากสหราชอาณาจักร ซึ่งตอนนี้มีการติดเชื้อสูงขึ้นเร็ว พบว่า อาการจาก BA.2 นั้นกลับมาเด่นในเรื่องน้ำมูกไหล (runny nose) ราว 80.75% ตามมาด้วยปวดหัว อ่อนล้าอ่อนเพลีย เจ็บคอ และคัดจมูก ในระดับพอๆ กันคือ 70% ในขณะที่ไอ หรือเสียงแหบ มีราวครึ่งหนึ่ง

ส่วนเรื่องไข้จะเจอเพียงหนึ่งในสาม

ยังไงคงต้องรอข้อมูลทางการอีกที แต่การรับทราบไว้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับเราแต่ละคน เพื่อจะได้สังเกตอาการตนเอง สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน ให้ฉุกคิดถึงโควิด-19 ไว้เสมอหากมีอาการดังกล่าว เพื่อไปตรวจรักษา และรีบแยกห่างจากคนใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อติดเชื้อ

...อีก 2 เรื่องสำคัญที่ควรติดตามคือ ตามเงื่อนเวลาแล้วภาวะ Long COVID ควรจะปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อันเป็นผลจากการระบาดใหญ่ตลอดปีก่อน ตั้งแต่ระลอกสายพันธุ์ G สายพันธุ์อัลฟ่า และสายพันธุ์เดลต้า ดังนั้นหากใครเคยติดเชื้อมาก่อน และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย อารมณ์ หรือสภาพจิตใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและดูแลรักษา

แต่สำหรับระลอกสายพันธุ์ Omicron นั้น คาดว่าจะมีคนติดเชื้อจำนวนมากกว่าทุกระลอกที่ผ่านมา เชื่อว่าในช่วงกลางปีนี้ไป งานวิจัยเกี่ยวกับ Long COVID จาก Omicron น่าจะทยอยออกมากันมากขึ้น เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของโรค ดังนั้นตราบใดที่เรายังไม่รู้เรื่องนี้ ต้องไม่ประมาท

ป้องกันตัวอยู่เสมอ เป็นกิจวัตร

ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด




ข้อมูลจาก รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ 

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง