TNN online ย้อนรอยเหตุจับ “52 จนท.ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

TNN ONLINE

World

ย้อนรอยเหตุจับ “52 จนท.ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

ย้อนรอยเหตุจับ “52 จนท.ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

ถอดรหัสถ้อยคำ “ทรัมป์” ขู่โจมตี 52 จุดตอบโต้ปมล้างแค้น ย้อนรอยเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จับตัว“52 ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

จากกรณีที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ได้ทวีตข้อความหลังอิหร่านประกาศแก้แค้น จากการที่เขาได้สั่งสังหารพลตรี กาเซ็ม โซเลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ หนึ่งในหน่วยงานของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติของอิหร่าน โดย 1 ในใจความสำคัญระบุว่า เขาจะสั่งจู่โจมเป้าหมายสำคัญ 52 จุด ในอิหร่านเพื่อเป็นสัญลักษณ์ตอบโต้ในอดีตที่อิหร่านเคยจับกุมตัวประกันชาวอเมริกันทั้งหมด 52 คน  

ย้อนรอยเหตุจับ “52 จนท.ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

โดยเหตุการณ์ที่ทรัมป์กล่าวถึงนั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่  4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 กลุ่มนักศึกษาปฏิวัติมุสลิมเคร่งศาสนา โกรธที่สหรัฐอเมริการับอดีตกษัตริย์ชาห์ ปาห์เลวี (Shah Pahlavi) แห่งอิหร่านให้ลี้ภัยในแผ่นดินสหรัฐอเมริกาได้ จึงได้จับตัวผู้ทำงานสถานทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (Tehran) ผู้ทำงานด้านการทูตอเมริกัน 52 คน ถูกกักตัวไว้นาน 444 วัน

ย้อนรอยเหตุจับ “52 จนท.ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

เหตุการณ์นี้ นับเป็นความรุนแรงที่ทำให้มีการตัดความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน และอิทธิพลของอเมริกันต่อชาวอิหร่านสายกลางได้สิ้นสุดลง นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan ผู้ไม่เห็นด้วยกับการจับตัวประกันได้ลาออกในเวลาต่อมา 

ส่วนฝ่ายที่จับตัวประกันให้เหตุผลว่า เป็นการตอบโต้ต่อสหรัฐ อันเป็นผลจากการที่สหรัฐหนุนหลังให้มีการรัฐประหารล้มอำนาจของนายกรัฐมนตรี Mosaddeq ในอิหร่านในปี ค.ศ. 1953 โดยกล่าวว่า “ท่านไม่มีเหตุผลใดที่ได้จับประเทศอิหร่านเป็นตัวประกันในปี ค.ศ. 1953” 

นอกจากนี้ ชาวอิหร่านบางส่วนกังวลว่าสหรัฐอเมริกาจะวางแผนรัฐประหารในปี ค.ศ. 1979 ในที่สุดตัวประกันการทูตของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการปล่อยตัว แต่การกักตัวทูตและผู้ทำงานการทูตในครั้งนั้น นับเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศเรื่อง ความละเมิดมิได้เกี่ยวกับสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ22 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายทางการทูต ค.ศ. 1961

ย้อนรอยเหตุจับ “52 จนท.ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

ส่วนในช่วงการกักตัวประกันไว้ในสถานทูต สหรัฐอเมริกาได้ใช้ความพยายามช่วยตัวประกัน โดยมี “ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์” (Operation Eagle Claw) ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1980 แต่ล้มเหลว ทำให้เสียทหารไป 8 นาย และต้องล้มเลิกแผนงาน เหตุวิกฤติจบลงในที่สุด เมื่อมีการลงนามในสัญญา Algiers Accords ในประเทศอัลจีเรียในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1981 และมีการปล่อยตัวประกัน ในข้อตกลง มีการปล่อยตัวคนอเมริกันที่ถูกกักตัวในอิหร่าน และอีกด้านหนึ่ง มีการปล่อยตัวคนสัญชาติอิหร่านที่ต้องโทษในสหรัฐอเมริกา

แต่สนธิสัญญานี้ครอบคลุมเพียงด้านกฎหมาย แต่ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1980 สหรัฐอเมริกาได้ตัดสัมพันธ์กับอิหร่าน ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1981 รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์สหรัฐในอิหร่าน และสถานทูตปากีสถานในกรุงวอชิงตันดีซี ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอิหร่านในสหรัฐอเมริกา แต่เพื่อเป็นการตอบโต้ต่ออิหร่าน จึงมีการลงโทษทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินของรัฐบาลอิหร่านในต่างประเทศ ในธนาคารต่างประเทศถูกอายัด มีการห้ามทุกประเทศทำการค้าขายกับอิหร่าน ด้วยเหตุดังกล่าว อิหร่านจึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ฝ่ายรัฐบาลกลับยิ่งใช้นโยบายกร้าวต่อประชากรที่เอนเอียงไปทางการรับวัฒนธรรมตะวันตก และกลุ่มที่เรียกร้องเสรีภาพ

ย้อนรอยเหตุจับ “52 จนท.ทูตอเมริกัน”จุดแตกหักอิหร่าน-สหรัฐฯ

เหตุการณ์ครั้งนี้ฮอลลีวู้ดได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โดยมีชื่อว่า Argo กำกับ ร่วมอำนวยการสร้างและร่วมแสดงโดยเบน แอฟเฟล็ก ดัดแปลงจากหนังสือชื่อ The Master of Disguise ที่แต่งโดยโทนี เมนเดซ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการซีไอเอ และบทความ The Great Escape แต่งโดยโจชัวห์ แบร์แมน ลงตีพิมพ์ในนิตยสารไวร์ (Wired) ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิบัติการแคนาเดียนคาเปอร์ (Canadian Caper)ซึ่งเมนเดซเป็นผู้นำทีมช่วยเหลือนักการทูตชาวอเมริกันหกคนจากกรุงเตหะราน


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง