TNN online ผวาโควิด! ตลาดเงินโลกผันผวนนักลงทุนเบนเข็มซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

TNN ONLINE

Wealth

ผวาโควิด! ตลาดเงินโลกผันผวนนักลงทุนเบนเข็มซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

ผวาโควิด! ตลาดเงินโลกผันผวนนักลงทุนเบนเข็มซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ทรงตัวที่ระดับ 33.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จับตาท่าทีเจ้าหน้าที่เฟดหนุนลดคิวอีดันดอลลาร์แข็ง ขณะที่นักลงทุนเบนเข็มตุนสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มผวาโควิดระบาดหนัก

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ  33.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยแนวโน้มมีโอกาสผันผวนและอ่อนค่าลงจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 รวมถึงโมเมนตัมขาขึ้นของเงินดอลลาร์ที่ยังมีอยู่จากท่าทีสนับสนุนการทยอยลดคิวอีในปีนี้ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด 


ส่วนของเงินดอลลาร์มองว่ายังมีแรงหนุนจากทั้งแนวโน้มเฟดทยอยลดคิวอีได้ในปีนี้ และความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลปัญหาการระบาดของเดลต้าทั่วโลก อย่างไรก็ดี ในระยะสั้น ถ้อยแถลงของประธานเฟดในสัปดาห์นี้ อาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ผันผวนและอ่อนค่าลงได้บ้าง หากประธานเฟดกลับไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมลดคิวอีได้ในปีนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวแข็งแกร่ง เหมือนกับบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่ออกมาก่อนหน้า 


ขณะที่โฟลว์การทำธุรกรรม เราเชื่อว่า บรรดาผู้ส่งออกยังรอที่จะทยอยขายเงินดอลลาร์อยู่ ทำให้เงินบาทยังคงมีโซนแนวต้านสำคัญใกล้ระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  แต่ เงินบาทก็อาจจะอ่อนค่าทะลุแนวต้านดังกล่าวได้ หากสถานการณ์การระบาดในประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น พร้อมกับแนวโน้มเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ไม่ว่าจากประเด็นเฟดพร้อมลดคิวอีในปีนี้ หรือ ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.40-33.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  


อย่างไรก็ตา แม้ว่าผู้เล่นในตลาดจะมีความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ระลอกล่าสุด ซึ่งกดดันหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มพลังงานและการเงิน ต่างปรับตัวลดลง  แต่ความกังวลปัญหาการระบาดนั้นได้กดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทรงตัวในระดับต่ำใกล้ 1.26% ซึ่งส่งผลดีต่อหุ้นเทคฯ ขนาดใหญ่ อาทิ Apple +1.35%, Facebook +0.93%, Microsoft +0.60% และช่วยหนุนให้ ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้นราว +0.26% ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ 


ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวลงกว่า -0.64% หลังผู้เล่นในตลาดกลับมากังวลแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปและเริ่มเห็นสัญ ญาณความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุนสถาบัน รวมถึงนักวิเคราะห์ที่ลดลง จากผลสำรวจโดยสถาบัน ZEW  ท่ามกลางปัญหาการระบาดของ COVID ที่ยังไม่สงบ ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวลดลงของหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มยานยนต์ Volkswagen -2.1%, BMW -1.9% หรือกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย Keings -4.7%, Louis Vuitton -2.1%, Adidas -1.87%


ทางด้านตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดยังมีความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลัง COVID-19 ยังคงระบาดหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐฯ จีน กดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 1.26% ทั้งนี้ เรามองว่า ยังมีโอกาสที่ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ จะสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ และมีโอกาสปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1.50%-1.60% ณ สิ้นปีนี้ ตามแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ในกรณีที่การระบาดเดลต้าเริ่มสงบลงได้ภายในไตรมาสที่ 3 และ เฟดเริ่มส่งสัญญาณพร้อมปรับลดการทำคิวอี 


 ฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงมีโมเมนตัมขาขึ้นหนุนอยู่ จากแนวโน้มเฟดทยอยอาจปรับลดคิวอีภายในปีนี้ นอกจากนี้ ัญหาการระบาดของ COVID -19 ทั่วโลก ยังคงหนุนความต้องการเงินดอลลาร์เพื่อเป็นหลุมหลบภัยความผันผวนในตลาด (Safe Haven asset)อยู่ 


โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 92.6 จุด แข็งค่าขึ้น หลังจากที่ย่อลงหนักเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมากกว่าคาด 


ทั้งนี้ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ได้กดดันให้สกุลเงินหลัก อาทิ เงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.178 ดอลลาร์ต่อยูโร ขณะที่ เงินเยน (JPY) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แตะระดับ 109.3 เยนต่อดอลลาร์ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย สะท้อนให้เห็นว่าผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคงมีมุมมองที่ระมัดระ วังตัวอยู่


สำหรับวันนี้ตลาดจะติดตามแนวโน้มสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก โดยในฝั่งประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่าง สหรัฐฯ และ จีน ซึ่งสำหรับสหรัฐฯ ตลาดจะติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด หลังปัญหาการระบาด Delta ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนอาจเริ่มส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ 


โดยตลาดประเมินว่า ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกรกฎาคม อาจหดตัวราว -0.2% จากเดือนก่อนหน้า จากทั้งปัญหาการระบาด รวมถึงระดับราคาสินค้าที่เร่งตัวสูงขึ้น ตามการทยอยเปิดเมือง 


นอกจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะ ประธานเฟด Powell ถึงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษ ฐกิจหลังสหรัฐฯ เผชิญการระบาดของ Delta และมุมมองต่อการทยอยลดคิวอีของเฟด ซึ่งท่าทีสนับสนุนการทยอยลดคิวอีภายในปีนี้ของประธานเฟด สา มารถหนุนให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้



ข่าวแนะนำ