TNN online น่าห่วง! คนเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท พบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย-มีหนี้สูง

TNN ONLINE

Wealth

น่าห่วง! คนเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท พบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย-มีหนี้สูง

น่าห่วง! คนเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท พบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย-มีหนี้สูง

วันแรงงานแห่งชาติ! เปิดผลสำรวจแรงงานไทยเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท พบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย-หนี้ครัวเรือนสูงถึง 270,000 บาท/ครัวเรือน

วันแรงงานแห่งชาติ! เปิดผลสำรวจแรงงานไทยเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท พบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย-หนี้ครัวเรือนสูงถึง 270,000 บาท/ครัวเรือน


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทย กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาในเรื่องของรายได้ไม่พอกับรายจ่ายจึงทำให้มีภาระหนี้ที่สูงขึ้น

เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงโดยมีการกู้เงินเพิ่มเพื่อใช้ชำระหนี้ จึงก่อให้เกิดหนี้สะสม โดยภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยปีนี้ขยายตัว 25.05% คิดเป็นมูลค่าหนี้ 272,528 บาทต่อครัวเรือน แต่สัดส่วนหนี้นอกระบบ ลดลงต่ำสุดในรอบ 14 ปี

ทั้งนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ในปีนี้แรงงานมีการวางแผนทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายและบางส่วนมองเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวส่งผลทำให้มีการใช้จ่ายในช่วงวันแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 บาทต่อคน คาดว่าวันแรงงานปีนี้ยอดเงินสะพัดอยู่ที่ 2,067 ล้านบาท ขยายตัว 29.8% สูงสุดในรอบ 4 ปี

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า แรงงานระวังการใช้จ่าย เนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่มั่นคงการซื้อสินค้าคงทนลดลง และหันไปซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นเท่านั้น ส่วนการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานชั้นต่ำนั้น อยากให้เป็นไปตามระบบไตรภาคี เพราะถ้าค่าแรงปรับขึ้นจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า

ทำให้ผู้ประกอบการหันมาปรับขึ้นราคาสินค้าและทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ย และเห็นว่าการขึ้นค่าแรงทุก 1 บาทส่งผลให้การใช้จ่ายเพิ่ม 3,500-4,000 ล้านบาทต่อเดือน และอาจทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปลงทุนประเทศอื่น เพราะต้นทุนการผลิตสูงและหันไปใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทน

สำหรับข้อเสนอของแรงงานไทยที่มีต่อรัฐบาลใหม่ คืออยากให้สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม เพิ่มสวัสดิการที่ดี ทำให้เศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ฟื้นตัวเกิดการสร้างงานโดยไม่ต้องเดินทางเข้าทำงานในเมือง ดูแลราคาสินค้าและค่าครองชีพให้สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงการปรับค่าแรงตามความเหมาะสมของอัตราเงินเฟ้อและรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น



ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง