TNN online APEC 2022 ทำความรู้จักกับ 8 สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมเอเปค ปี 2565

TNN ONLINE

Wealth

APEC 2022 ทำความรู้จักกับ 8 สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมเอเปค ปี 2565

APEC 2022 ทำความรู้จักกับ 8 สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมเอเปค ปี 2565

ทำความรู้จักกับ 8 สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมเอเปค ปี 2565

APEC 2022   ทำความรู้จักกับ 8 สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมเอเปค ปี 2565

APEC 2022 ทำความรู้จักกับ 8 สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมเอเปค ปี 2565

1.ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน
.
ไทยจะผลักดันการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ MSMEs ตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการหารือเชิงนโยบายการค้าระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและ
ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP หลังยุคโควิด-19
.
2.ความร่วมมือด้านการคลัง
.
ไทยจะส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อให้ สอดรับกับการผลักดัน BCG Economy ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ และภารกิจของรัฐบาลในการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านตลาดทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศนอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเป็นสังคมดิจิทัล (Digitalization for Digital Economy) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ การเชื่อมโยงการชำระเงิน ในภาคการเงิน การระดมทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการในตลาดทุน เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกันในภูมิภาค
.
3.ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
.
ไทยจะนำเสนอข้อเสนอแนะนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม โดยพลักดันการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากการเผชิญโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างไม่คาดคิดมาก่อน 
.
4.ความร่วมมือด้านการเกษตร
.
ไทยจะผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับนโยบาย “3S” ได้แก่ Safety ความปลอดภัยของอาหาร Security ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability ความยั่งยืนของภาคการเกษตร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเปค นอกจากนี้ ไทยในฐานะประธานหุ้นส่วนเชิงนโยบายความมั่นคงอาหาร ดังนั้น เอเปคจะมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการของแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. ๒๐๓๐ (APEC Food Security Roadmap Towards 2030 Implementation Plan) เพื่อให้เขตเศรษฐกิจสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกร่วมกันต่อไป
.
5.ความร่วมมือด้านป่าไม้
.
ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นเวทีให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านป่าไม้ของเขตเศรษฐกิจเอเปคได้ร่วมหารือและกำหนดทิศทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านป่าไม้ในภูมิภาค โดยไทยจะผลักดันการใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ และเปลี่ยนข้อได้เปรียบให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน กระจายรายได้สู่ชุมชนที่พึ่งพาทรัพยากรป่าไม้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุมชนเข้มแข็งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจ BCG 
.
6.ความร่วมมือด้านกิจการสตรี
.
ไทยจะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจของสตรีในยุคหลังโควิด-19 และยุคดิจิทัล โดยจะนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาปรับใช้ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตที่สมดุลและครอบคลุม มุ่งเน้นการดำเนินงานด้านสตรีที่ยึดโยงกับแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลา เซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม นอกจากนี้ ยังมุ่งผลักดันการสร้างเครือข่ายสตรีผู้ประกอบการ BCG ไทยไปขยายผลในเอเปค เพื่อส่งเสริมบทบาท และสร้างโอกาสให้กับสตรีผู้ประกอบการ BCG ของไทยในระดับภูมิภาค
.
7.ความร่วมมือด้านการส่งเสริม MSMEs
ไทยจะจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “Ready for the ‘Next Normal’: How MSMEs should adapt to an evolving market landscape” เพื่อหารือข้อมูล เชิงลึกเกี่ยวกับตลาดสำหรับ MSMEs ในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป โดยจะแสวงหากลไกสนับสนุน MSMEs ให้ฟื้นตัว ได้อย่างยั่งยืนและครอบคลุม 
.
8.ความร่วมมือด้านสาธารณสุข
.
ไทยเสนอให้หัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมคณะทำงานด้านสุขภาพของเอเปค (APEC Health Working Group: HWG) ในปี ๒๕๖๕ คือ “Open to Partnership. Connect with the World. Balance Health and the Economy.” โดยจะมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ 
.
1.ด้าน Open to Partnership จะขยายการสร้างสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือในประเด็นด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
.
2.ด้าน Connect with the World จะจัดทำเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อจำกัดการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเปคและหลักฐานการได้รับวัคซีน และการพัฒนามาตรฐานการใช้งานร่วมของระบบแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-๑๙ (Interoperability of Vaccination Certificates) ระหว่างเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค และ 
.
3.ด้าน Balance Health and Economy จะจัดทำแถลงการณ์ร่วมของการประชุม 12th High-Level Meeting on Health and the Economy ซึ่งไทยจะผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับการส่งเสริมประเด็นการเพิ่มการลงทุนด้านความมั่นคงทางสุขภาพ (health security) และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุข (digital health) เพื่อลดผลกระทบของภัยคุกคามทางสุขภาพต่อเศรษฐกิจ

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง