TNN online Carbon Credit คืออะไร?

TNN ONLINE

Wealth

Carbon Credit คืออะไร?

Carbon Credit คืออะไร?

กลุ่มพลังงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดราว 3 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งกลุ่มพลังงานหมายรวมถึงการใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่ง การใช้ในอาคาร เชื้อเพลิง เป็นต้น ตามมาด้วยอุตสาหกรรม การเกษตรที่ราว 20% ของทั้งหมด และทุกอุตสาหกรรมมีแนวโน้ม ปล่อยก๊าซมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Carbon Credit คือสิทธิ์(ที่ผ่านการรับรองจากมาตรฐาน) ใน การปล่อยมลภาวะคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจก โดยจะได้มาจาก การดำเนินงานที่สามารถลดปริมาณหรือดูดซับมลภาวะคาร์บอนได้ โดยสิทธิดังกล่าวสามารถซื้อ/ขายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ เช่น AirCarbon Exchange (ACX) , Carbon Trade Exchange (CTX), Toucan Protocol (Toucan), Xpansiv (Xpansiv CBL) เป็นต้น 
.
.
อ้างอิงจากสำนักงานข่าวรอยเตอร์ตลาดคาร์บอนทั่วโลกมี มูลค่าสูงถึง 8.51 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564 (เติบโต 164% YoY) โดยเป็นผลมาจากราคาคาร์บอนต่อหน่วยที่พุ่งขึ้นสูง เนื่องจากอุปสงค์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ที่มาของ Carbon Credit? ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ (Climate Change) เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน หลายประเทศจึงเริ่มให้ความสำคัญและร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการบังคับ/จูงใจให้ลด การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการทำให้มีต้นทุนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ/หรือต้องชดเชยผลกระทบที่ก่อก๊าซ เรือนกระจกขึ้นมา เช่น มาตรการด้านภาษี 
.
.
อุตสาหกรรมไหนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด? 
กลุ่มพลังงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดราว 3 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งกลุ่มพลังงานหมายรวมถึงการใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่ง การใช้ในอาคาร เชื้อเพลิง เป็นต้น ตามมาด้วยอุตสาหกรรม การเกษตรที่ราว 20% ของทั้งหมด และทุกอุตสาหกรรมมีแนวโน้ม ปล่อยก๊าซมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
.
หากมองเฉพาะคาร์บอน จะเห็นว่าส่วนใหญ่มากจาก ไฟฟ้าและความร้อน การขนส่ง และการผลิตและก่อสร้างสำหรับการปล่อยมีเทน (CH4) และ Nitrous oxide (N2O) ส่วนใหญ่มาจากการเกษตร 
.
.
ประเทศไหนปล่อยคาร์บอนมากที่สุด? 
ประเทศที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดในโลกคือจีน สหรัฐ อินเดีย 
ปัจจุบันตลาด Carbon Credit มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ 
1) ตลาด ภาคบังคับ (Mandatory Market) และ 
2) ตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary Market) ซึ่งทั้งสองตลาดจะมีเกณฑ์การได้ Carbon Credit ที่แตกต่างกัน ตลาดภาคบังคับ (Mandatory Market): เป็นกลุ่มที่มีเกณฑ์ กำหนดอย่างชัดเจนสำหรับปริมาณการปล่อยคาร์บอน เช่น ในยุโรป (EU) ซึ่งหากองค์กรใดๆที่จำเป็นต้องก่อให้เกิดปริมาณคาร์บอนที่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็จำเป็นต้องซื้อ Carbon Credit มาชดเชยในส่วนที่เกินไป 
.
.
ในขณะเดียวกัน องค์กรที่ปล่อยปริมาณคาร์บอนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้ส่วนต่าง หรือ Carbon Credit ที่สามารถนำมาซื้อขายในตลาดได้โดยตลาด คาร์บอนใน EU เติบโตขึ้นอย่างมากจากราคาคาร์บอนเครดิตที่ ปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่า (หลังจากที่ประกาศจะลดการปล่อย คาร์บอนให้ได้ 55% ภายในปี 2030 หนุนให้อุปสงค์พุ่งขึ้นอย่าง ก้าวกระโดด)
.
.
ตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary Market): 
เป็นกลุ่มเสรีที่ไม่ได้มีเกณฑ์กำหนด เช่นประเทศไทย ซึ่งในตลาดนี้จะไม่ได้มีเกณฑ์ กำหนดสำหรับปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่ชัดเจน แต่จะมาในรูปแบบของโครงการต่างๆ ซึ่งได้รับ Carbon Credit จาก หน่วยงานกลาง (เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก [อบก]) และสามารถเทรดกันได้ผ่านแพล็ตฟอร์มต่างๆ เช่นใน ประเทศไทยสามารถซื้อขายกันได้ผ่าน อบก. (T-VER) 
.
.
ภาษีคาร์บอนคืออะไร…ถึงเวลาต้องเข้าสู่โหมดบังคับ Carbon Tax (ภาษีคาร์บอน) คือ การคิดภาษีหากมีการปล่อย คาร์บอนมากกว่ากำหนด โดยส่วนมากบังคับใช้ร่วมกับการซื้อขาย เครดิตเรียกรวมว่า Carbon Pricing (ราคาของคาร์บอน) ประเทศในยุโรปที่มีภาษีคาร์บอนหรือภาษีพลังงาน คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวีเนีย สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ยุโรปมีการคิดภาษีคาร์บอนร่วมกับการซื้อขายคาร์บอน (cap and trade) โดยเดนมาร์กคิดภาษีคาร์บอนแพงที่สุดในโลกที่ 750-1,125 Danish crowns ต่อตันภายในปี 2030 
.
.
ทั้งนี้ สหรัฐมีภาษีคาร์บอนในรัฐแค่ลิฟอร์เนีย โอเรกอน วอชิงตัน ฮาวาย เพนซิลเวเนีย และแมสซาชูเซต แต่ยังไม่ผ่านกฎหมายในระดับชาติ ในเดือนมิถุนายน ทำเนียบขาวและสมาชิกพรรคเดโมแครตเสนอ การคิด 55 ดอลลาร์ต่อตันคล้ายกับของสหภาพยุโรป แต่ทางรีพับบลิกันมองว่าจะเป็นการลดความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐเมื่อเทียบกับจีนและรัสเซีย .
.
.
จีนเคยมีการเสนอภาษีคาร์บอนในปี 2010 แต่ไม่ผ่าน ปัจจุบันใช้ ระบบ cap and trade ไต้หวันกำลังผลักดันกฎหมายใหม่ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอน 300 ดอลลาร์ไต้หวันต่อตัน (ราว 10 ดอลลาร์/ตัน) ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศในเอเชีย แต่ยังห่างจากระดับที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่ามีประสิทธิภาพในรับมือกับภาวะโลกร้อน ซึ่งอยู่ที่ 75 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน 
.
.
โดยญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่เรียกเก็บภาษีคาร์บอนในปี 2012 กำหนดให้เก็บภาษีไว้ที่ 289 เยน (ราว 2 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1 ตัน, ภาษีคาร์บอนของสิงคโปร์อยู่ที่ 5 ดอลลาร์สิงคโปร์ (หรือราว 3.52 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตัน ขณะที่เกาหลีใต้อยู่ที่ 25,400 วอน (ราว 18.11 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือประมาณ 1 ใน 4 ของระดับในสหภาพยุโรป อินเดียไม่มีการเก็บภาษีโดยตรง แต่มีการเก็บภาษี ถ่านหินซึ่งเป็นต้นกำเนิดของไฟฟ้าส่วนใหญ่ในอินเดีย ส่วนอินโดนีเซียมีมาตรา 13 ของ Law 7/2021 ซึ่งมีทั้งแบบ cap and tax และ cap and trade สามารถซื้อขายเครดิตได้ แต่หากยังเกิน จะโดนภาษี
.
.
CBAM สะเทือนการส่งออกไทย 
นอกจากนี้ ยุโรปยังมี Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ซึ่งเป็นมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป CBAM คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้า บางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เข้ามาใน EU ในสินค้า 5 กลุ่มแรก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหล ของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม มีกลุ่มอุตสาหกรรมตามที่ได้มีการแก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2022 คือ เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์จากการกลั่น น้ามัน ซีเมนต์ อลูมิเนียม สารเคมีอินทรีย์พื้นฐาน ไฮโดรเจน โพลี เมอร์และปุ๋ย (แอมโมเนียไม่ได้เพิ่มเข้าไปในรายชื่อ) 
.
.
โดยธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าที่เข้าเกณฑ์ CBAM ของไทยไป EU ในปี 2564 มีมูลค่าสูงถึง 952 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 28,573 ล้านบาท และถ้าหากมีการปรับใช้มาตรการ CBAM กับสินค้าที่เข้าเกณฑ์การพิจารณาค่าคาร์บอนในระยะแรกจะกระทบสินค้า ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า และอะลูมิเนียม ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2564 อยู่ที่ 196 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,883 ล้านบาท 
.
.
Carbon Credit มาจากไหน? 
Carbon Credit สามารถสร้างขึ้นได้จากการลด หรือ หลีกเลี่ยง การปล่อยมลภาวะคาร์บอนในแต่ละประเภทของโครงการจะมีราคาต่อหน่วย (ตันคาร์บอน) ที่แตกต่างกัน โดยจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงแค่โครงการนั้นๆ สามารถลดปริมาณคาร์บอนได้เท่าไหร่ แต่รวมถึงต้นทุนมาตรฐาน และคุณค่าของโครงการนั้นๆว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงบวกอย่างไรบ้าง (Positive Externality) ที่นอกเหนือจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 
.
.
ตัวอย่างโครงการที่สร้าง Carbon Credit ได้แก่
1. โครงการพลังงานทดแทน (Renewable Energy) 
a. พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar farm) 
b. พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) 
c. พลังงานลม (Wind farm) 
d. ชีวมวล (Biomass) 
.
.
2. โครงการปลูกป่า 
3. โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage [CCS]) 
4. ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) 
5. การบำบัดน้ำ
.
.
ทิศทางราคาคาร์บอนเครดิต EY คาดปริมาณซื้อขายของคาร์บอนเครดิตจะเพิ่มขึ้นไปอีก 30- 40 เท่าของอุปทานปัจจุบันภายในปี 2578 และคาดว่าราคาคาร์บอนเครดิตอาจจะปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ราว 80-150 เหรียญ สหรัฐ/ตันคารบ์อน ในปี 2578 และน่าจะขึ้นไปอยู่ที่ราว 150-200 เหรียญสหรัฐ/ตันคาร์บอนในปี 2593 ขณะที่ Bloomberg Market Specialists ประเมินว่าราคาคาร์บอนจะปรับตัวขึ้นไปอยู่ ที่ 224 เหรียญสหรัฐ/ตันภายในปี 2572 ภายใต้กฎที่เข้มงวดยิ่งขึ้นจากอุปทานที่จำกัด (เช่น พื้นที่ป่าไม้) ในขณะที่อุปสงค์จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
.
.
ยกตัวอย่างสำหรับประเทศไทย จำเป็นต้องมีพื้นที่ป่าไม้เพื่อให้ครอบคลุม 55% (หรือ 187 ล้านไร่) ของประเทศภายในปี 2580 เพื่อที่จะมีกำลังการดูดซับคาร์บอนเพียงพอสำหรับ 120 ล้านตันคาร์บอน (เทียบกับ 30% ในปัจจุบัน) ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย 
.
.
ภาษีไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะกำหนดราคา? 
นอกจากอัตราภาษีที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศแล้ว ราคาของคาร์บอนเครดิตอาจแตกต่างกันตามแต่ละโครงการ เช่น คาร์บอนเครดิตจากโครงการพลังงานลมมีราคาเฉลี่ยที่ 1.9 เหรียญสหรัฐ/ตันคาร์บอน จากโครงการบำบัดน้ำมีราคาเฉลี่ยที่ 3.8 เหรียญสหรัฐ/ตันคาร์บอน จากโครงการปลูกป่าอยู่ที่ 7.5 เหรียญสหรัฐ/ตันคาร์บอน เป็นต้น 
.
.
ราคาที่ต่างกันจะมีการพิจารณามาจาก 6 ปัจจัยหลักๆด้วยกัน ได้แก่ 
1) ระบบนิเวศ (Ecosystem) 
2) การพัฒนาเศรษฐกิจ 
3) การจ้างงาน 
4) ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบ 
5) สุขภาพของชุมชน โดยรอบ และ 
6) การลดคารบ์อน ซึ่งจากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโครงการปลูกป่ามีราคาคาร์บอนเครดิตที่สูงที่สุด เพราะนอกจากไม่ได้สร้างมลภาวะคาร์บอนแล้วยังช่วยดูดซับคาร์บอนที่สร้างจากแหล่งอื่นอีกด้วย ซึ่งจะหนุนต่อทั้งชีวิตความเป็นอยู่สุขภาพ และระบบนิเวศโดยรอบ 
.
.
นอกจากนี้ ยังจะเกิดการจ้างงาน จำนวนมากเนื่องจากการปลูกป่าจำเป็นต้องใช้แรงงาน รวมถึงจะมีการจ้างงานอย่างต่อเนื่องเพื่อการดูแลป่า การประเมินโดย S&P Global Platts ชี้ให้เห็นว่าเครดิตจากโครงการดูดซับ (เช่น การปลูกป่า) มีราคาสูงกว่าเครดิตจากโครงการอื่นๆ ในช่วงเริ่มต้นของการใช้คาร์บอนเครดิตหลายบริษัทอาจจะเลือกซื้อ คาร์บอนเครดิตจากโครงการที่มีราคาต่ำก่อน แต่จากอุปทานที่ จำกัด ทำให้สุดท้ายแล้วจะต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการที่ ราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่เว้นแม้แต่ CCS ซึ่งถือได้ว่ามีต้นทุนสูงมากในปัจจุบัน เทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (Carbon capture and storage - CCS) เนื่องจากการพัฒนาโครงการต่างๆ เช่นโครงการพลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือแม้แต่การปลูกป่า จำเป็นต้องใช้พื้นที่จริงบนผิว โลกซึ่งมีจำนวนจำกัด ขณะที่อุปสงค์มีแต่จะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของแต่ละประเทศ 
.
.
ดังนั้น เทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน หรือ CCS จึงถือเป็นอีกเทคโนโลยีที่จะเข้ามีบทบาทสำคัญในอนาคต CCS คือเทคโนโลยีที่จะดักจับคาร์บอนในจุดที่เป็นแหล่งก่อคาร์บอนขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลหรือโรงงาน อุตสาหกรรมขนาดมใหญ่ต่างๆ และจะนำส่งไปจัดเก็บไว้ในที่ที่ไม่สามารถกลับไปยังชั้นบรรยากาศได้ซึ่งในที่นี้คือโพรงใต้ดิน (รวมถึงแหล่งก๊าซที่หมดไปแล้ว) โดยในปัจจุบัน ยังไม่มีการ รั่วไหลใดๆ เนื่องจาก CCS เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก จึงมีต้นทุนสูง และมีต้นทุนการควบคุมและตรวจสอบระหว่างการกักเก็บเพื่อไม่ให้ เกิดการรั่วไหล จึงส่งผลให้มีราคาคาร์บอนเครดิต/ตันคาร์บอนสูงมาก ซึ่งเมื่อทางเลือกอื่นๆ เริ่มจำกัดเราคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะเริ่มแพร่หลายมากขึ้น แพลตฟอร์มคาร์บอนเครดิตในต่างประเทศ (Carbon Exchanges) องค์กรที่มีปริมาณคาร์บอนเครดิตมากกว่าจำนวนที่สร้างคาร์บอน (ในตลาดภาคบังคับ) สามารถขายให้กับองค์กรที่มีความต้องการคาร์บอนเครดิตและ/หรือมีการสร้างคาร์บอนมากกว่าเกณฑ์ โดยจะสามารถซื้อขายผ่าน OTC โดยการเจรจาระดับประเทศ (เช่น ไทยและสวิตเซอร์แลนด์) และระดับองค์กรรวมถึงการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันเป็น จำนวนมาก 
.
.
1) Carbon Trade Exchange (CTX) - UK: เป็นแพลตฟอร์ม เทรดที่สามารถจำแนกตามมาตรสากลได้ลูกค้ามีทั้งลูกค้า บุคคลและองค์กรทั่วโลก มีวอลุ่มการซื้อขายรวมหลายร้อยล้านตันคาร์บอน (มากกว่า 1 ล้านสัญญาในเดือน พ.ย. 2564) 
.
.
2) Xpansiv’ CBL - US: เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้าน ESG ซึ่งรวมถึงคารบ์อนเครดิต มีลูกค้าบุคคลและองค์กรโดยมีวอลุ่มในxu 2564 อยู่ที่ราว 70 ล้าน ตันคาร์บอน 
.
.
3) AirCarbon Exchange (ACX) - Singapore: แพลตฟอร์ม เทรดที่มีเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาเกี่ยวเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการซื้อขาย มีลูกค้าบุคคลและองค์กร มีรูปแบบการซื้อ ขายแบบเหรียญ (Renewable Energy token (RET), Global Nature token (GNT), etc) ซึ่งแต่ละเหรียญจะคิดเป็น 1 เหรียญ/1,000 ตันคาร์บอน โดยราคาจะไม่เท่ากัน 4 มาตรฐานสากลในตลาดโลก มีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับสากลอยู่ 4 มาตรฐานหลัก แต่ละมาตรฐานมีทะเบียนเป็นของตัวเองเพื่อที่จะบันทึกและนับว่าเครดิตไหนได้มีการใช้ไปแล้ว (Retirement)
.
.
จุดยืนของประเทศไทยในเวทีโลก 
นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ COP26 ประกาศ เจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่าง เต็มที่ด้วยทุกวิถีทางเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emission) ภายในหรือก่อนหน้า ปี 2065 โดยปัจจุบัน มีการผลักดันจากทุกภาคส่วน เช่น การผลักดันด้านพลังงานทดแทนการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าการสิทธิ์เอกชนในการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต อีกทั้งภาครัฐยังยู่ในระหว่างทำการศึกษาภาษีคาร์บอนภาคบังคับ หน่วยงานด้านคาร์บอนเครดิตในไทย สำนักส่งเสริมตลาดคาร์บอนและนวัตกรรม ภายใต้องค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นผู้ทำระบบทะเบียนซื้อขาย คาร์บอนเครดิตของไทย โดย อบก. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ที่กำหนดมาตรฐานในการวัดและลดก๊าซเรือนกระจก
.
.
ปัจจุบันมี 136 โครงการที่ลงทะเบียนในแพลตฟอร์มสำหรับคาร์บอนเครดิตของไทย ซึ่งเป็นการลดคาร์บอนที่ราว 13.5 ล้าน ตัน/ปี หรือเพียง 3% ของการปล่อยคาร์บอนของประเทศไทย (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการใช้คาร์บอนเครดิตทั่วโลกที่ครอบคลุม 23% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกอ้างอิงจากรายงาน State and Trends of Carbon Pricing ของ World Bank ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) มีหน้าที่ตรวจสอบ และรับรองผลของข้อเสนอโครงการและติดตามประเมินผล ต้อง ได้รับการรับรองระบบงาน (Accreditation) 
.
.
สำหรับหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกระจกตามมาตรฐาน ISO 14065: 2013 หรือ มอก.14065 พ.ศ.2556 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกำหนดสำหรับหน่วย ตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก และ IAF MD 6: 2014 หรือการยอมรับในรูปแบบอื่นๆ (Requirements for Greenhouse Gas Validation and Verification Bodies for Use in Accreditation or Other Forms of Recognition) และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) หรือ อบก. 
.
.
ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 หน่วยงาน 
1) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
2) หน่วยรับรองการจัดการก๊าซเรือนกระจก มหาวิทยาลัยพะเยา 
3) วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร 
4) บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด 
5) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนา มูลนิธิ 
6) บริษัท บูโรเวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด 
7) บริษัท อีซีอีอี จำกัด 
 หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 
.
.
แนวโน้มตลาดคาร์บอนเครดิตของโลก อิงจากเป้าหมาย COP26 ที่ต้องการจะควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส หรือต้องลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกให้ได้ 45% บนสมมุติฐานที่การลด 1 ตันคาร์บอน เท่ากับ 1 คาร์บอนเครดิต การลดคาร์บอนจาก 3.6 หมื่นล้านตันมา เหลือ 2.02 หมื่นล้านตัน หมายถึงจะต้องมี 1.58 หมื่นล้านคาร์บอนเครดิต ปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในปี 2564 อยู่ที่เพียง 10 See disclaimer at the end of report Knowledge Sharing 31 October 2022 500 ล้านเครดิต (อิงจาก DGB Group) และมูลค่าตลาดคาร์บอน ที่ 8.51 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ที่ราคาเฉลี่ย 84 เหรียญสหรัฐ/ เครดิต หรือ 71 ยูโรเพราะฉะนั้นหากจะบรรลุเป้าหมายของ COP26 ปริมาณการซื้อขายอาจจะเติบโตได้ถึง 30.6 เท่า และหากอิงราคาเฉลี่ยที่ 84 เหรียญสหรัฐ (Worst case - ไม่มีการเติบโต ของจำนวนการปล่อยคาร์บอน) มูลค่าตลาดอาจจะไปแตะระดับ 1.32 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ 
.
.
แต่หากมีการเติบโตของการใช้คาร์บอนอิงตาม CAGR ปี 2010-19 ที่ 1.22% จะคิดเป็นการปล่อยคาร์บอนที่ราว 4.5 หมื่นล้านตัน เท่ากับต้องลดการปล่อยคาร์บอน 2.48 หมื่นล้านตัน มูลค่าตลาดคาดจะไปแตะ 2.08 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ราคาคาร์บอนเครดิตน่าจะมีแนวโน้มที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอุปทานที่มีจำกัดซึ่งถือเป็นอัพไซด์ต่อมูลค่าตลาดคาร์บอนโลกอย่างมาก
.
.
ติดตามข่าวหุ้นและการลงทุนทางไลน์
• Line @TNNWEALTH : https://bit.ly/3tCKmiD
———————————————————————
ติดตาม TNN Wealth ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ที่ 
หรือดูรายการ Live ได้ทาง https://bit.ly/3HmUu4O

ข่าวแนะนำ