TNN online Perseverance สร้างสถิติใหม่ ผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร

TNN ONLINE

Tech

Perseverance สร้างสถิติใหม่ ผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร

Perseverance สร้างสถิติใหม่ ผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร

ยานโรเวอร์เพอร์เซอเวียแรนซ์ (Perseverance) สำหรับสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร สร้างสถิติใหม่ในการผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร

นาซา (NASA) สร้างสถิติใหม่ในการผลิตก๊าซออกซิเจนบนดาวอังคารด้วยยานโรเวอร์เพอร์เซอเวียแรนซ์ (Perseverance) ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าม็อกซี่ (MOXIE หรือ Mars Oxygen In Situ Resource Utilization Experiment) โดยสถิติใหม่ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2023 ซึ่งม็อกซี่สามารถทำงานต่อเนื่องได้นานถึง 58 นาที และมีอัตราการผลิตออกซิเจน 6 กรัมต่อชั่วโมง


การทำงานของเครื่องม็อกซี่

โดยม็อกซี่เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ด้านในยานโรเวอร์เพอร์เซอเวียแรนซ์ ขนาดเทียบเท่าเครื่องปิ้งขนมปัง มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม อาศัยกระบวนการเคมีไฟฟ้าเพื่อแยกออกซิเจนหนึ่งอะตอมออกจากแต่ละโมเลกุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกากคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และออกซิเจน 1 อะตอม ซึ่งทีมเจ้าหน้าที่ของนาซาเชื่อว่าจะสามารถผลักดันอัตราการผลิตก๊าซออกซิเจนของม็อกซี่ให้สูงสุดได้ถึง 12 กรัมต่อชั่วโมง

Perseverance สร้างสถิติใหม่ ผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร

อย่างไรก็ตาม ออกซิเจนที่ได้จากเครื่องม็อกซี่เกิดขึ้นภายใต้อุณหภูมิที่สูง ทำให้มันมีความเสี่ยงที่จะติดไฟ ดังนั้นทีมเจ้าหน้าที่ของนาซาจึงต้องระวังไม่ให้ความต่างศักย์ของเครื่องม็อกซี่สูงเกินไป


ในปี 2021 ทีมเจ้าหน้าที่ได้ให้ม็อกซี่ทำงาน 7 ครั้ง และในปี 2022 ทีมเจ้าหน้าที่ได้ให้ม็อกซี่ทำงาน 14 ครั้ง ทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มเวลาการทำงานได้ถึง 1,000 นาที เพื่อพิสูจน์ว่าเครื่องมือสามารถทำงานได้ในสภาวะต่าง ๆ บนดาวอังคาร ซึ่งม็อกซี่เริ่มทำงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 บริเวณปล่องภูเขาไฟเจซีโร (Jezero)


โดยเครื่องม็อกซี่เป็นการสาธิตว่าเราสามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารให้กลายเป็นก๊าซออกซิเจนได้ ซึ่งความสำเร็จของเครื่องม็อกซี่ในครั้งนี้ จะปูทางให้กับการพัฒนาระบบผลิตก๊าซออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เต็มรูปแบบบนโลก ซึ่งสามารถสร้างออกซิเจนได้ 25 - 30 ตัน เพื่อรองรับมนุษย์ในภารกิจส่งนักบินอวกาศไปดาวอังคารในอนาคต

Perseverance สร้างสถิติใหม่ ผลิตออกซิเจนบนดาวอังคาร


ข้อมูลจาก space.com

ภาพจาก NASA

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง