TNN แคดเมียม คืออะไร? รู้จักโลหะอันตราย ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

TNN

สังคม

แคดเมียม คืออะไร? รู้จักโลหะอันตราย ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

แคดเมียม คืออะไร? รู้จักโลหะอันตราย ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

ทำความรูจัก แคดเมียม (Cadmium) โลหะอันตราย เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร อันตรายมากแค่ไหน

ภายหลังการพบกากสังกะสี-แคดเมียม บรรจุในถุงบิ๊กแบ๊กขนาดใหญ่ที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวนกว่า 15,000 ตัน โดยทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรสาคร ได้ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ใดๆ เข้าไปอยู่อาศัย หรือดำเนินกิจการใด ในพื้นที่โรงงานดังกล่าว ถ.เอกชัย ต.บางน้ำจืด อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เป็นระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
หมายเหตุ : ไม่ได้มีการประกาศภัยพิบัติฉุกเฉิน หรือประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย แต่อย่างใด


รู้จักโลหะหนัก แคดเมียม (Cadmium)


แคดเมียม มีสูตรทางเคมีคือ Cd เป็นโลหะสีเงินขาว แวววาวเป็นสีน้ำเงินจางๆ ไม่มีกลิ่น มีน้ำหนักโมเลกุล 112.4 ความถ่วงจำเพาะ 8.65 จุดหลอมเหลว 610 องศาฟาเรนไฮต์ จุดเดือดที่ 1409 องศาฟาเรนไฮต์ สามารถทำปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงกว่าสารที่ให้ออกซิเจน อันได้แก่ กำมะถัน ซีลีเนียม และเทลลูเรียม


แคดเมียม จะพบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ดังนั้นในการทำเหมืองสังกะสี จะได้แคดเมียมเป็นผลตามมาด้วย แคดเมียมจะพบได้ในอาหาร ในน้ำ ในเหมือง และในส่วนน้ำทิ้ง หรือน้ำเสีย หรือกลุ่มผู้สูบบุหรี่ นอกจากนี้ทั่วๆไป พบ แคดเมียมใช้ผสมในสีที่ผสมที่ใช้กับบ้านหรืออาคาร ความร้อนที่ 321 องศาเซลเซียส จะเกิดเป็นควัน ทำให้มีการกระจายไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ เมื่อร่างกายสูดดมสารแคดเมียม จะเก็บสะสมไว้ในตับ และส่วนของหมวกไต (renal cortex) สารแคดเมียมมี half life ในร่างกายมนุษย์ถึง 30 ปี


นอกจากนี้จะพบสารแคดเมียมได้ในปอด และมีความเสี่ยงเกิดอันตรายส่วนของไตทำให้หน้าที่การกรองของไต (GFR) ลดลง แคดเมียมอาจได้รับโดยการกินอาหารทะเลที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม นอกจากนี้จะได้รับควันของสารดังกล่าวจากการสูดดมในเหมือง หรือสิ่งแวดล้อมในประเทศญี่ปุ่น


โดยมีโรงงานปล่อยสารแคดเมียมมา กับน้ำเสียของโรงงาน และปล่อยลงในโรงข้าว ทาให้เกิดการปนเปื้อนของแคดเมียมในเมล็ดข้าว และอาหาร โดยพบว่าผู้ป่วยมากกว่าพันคน เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างทรมาน โดยบริเวณ แขน ขา สะโพก และบริเวณฟัน จะพบมีวงแหวนสีเหลืองติดกับเหงือก เรียกว่า วงแหวนแคดเมียม และจะมีอาการปวดร้าวสะสมนานถึง 20-30 ปี และเมื่อร่างกายเดินไม่ไหว ก็จะเกิดการกดกระดูกสันหลัง เรียกว่าโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease)


แคดเมียมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

แคดเมียมจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ เอาฝุ่นหรือควันของแคดเมียม หรือโดยการกินเข้าไป


อาการที่ได้รับสารแคดเมียม


จากการกิน จะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ปวดท้องและปอด โดยไตและตับจะถูกทำลาย ถ้าหากหายใจควันเข้าไปในปอด ก็จะมีอาการเจ็บคอ หายใจสั่น มีเสมหะเป็น เลือด น้าหนักลด โลหิตจาง การหายใจจะล าบากมากขึ้นสุดท้ายก็จะไตวาย



แคดเมียม คืออะไร? รู้จักโลหะอันตราย ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย ภาพจาก mt.mahidol.ac.th

 


การป้องกันพิษจากแคดเมียม จะป้องกันพิษจากแคดเมียมได้ โดยการเฝ้าระวังของแพทย์ โดย

1. ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โดยเน้นที่ประวัติการเป็นโรคไตที่สำคัญๆ ประวัติการสูบบุหรี่ และโรคทางเดินหายใจ และควรทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอด รวมทั้งเอกซเรย์ปอดด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น

2. การตรวจเป็นระยะๆ ขณะทำงาน ควรเน้นที่ระบบหายใจ รวมทั้งทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอดและไต



ที่มา https://mt.mahidol.ac.th / มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน



ข่าวแนะนำ