TNN online เปิดคำแนะนำดูแลสภาพจิตใจ "เด็ก-ผู้ใหญ่" หลังเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลําภู

TNN ONLINE

สังคม

เปิดคำแนะนำดูแลสภาพจิตใจ "เด็ก-ผู้ใหญ่" หลังเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลําภู

เปิดคำแนะนำดูแลสภาพจิตใจ เด็ก-ผู้ใหญ่ หลังเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลําภู

เปิดคำแนะนำดูแลสภาพจิตใจของ "เด็ก-ผู้ใหญ่" มีความเสี่ยงภาวะเครียดหลังเหตุรุนแรง กราดยิงหนองบัวลําภู

กราดยิงหนองบัวลําภู เปิดคำแนะนำดูแลสภาพจิตใจของ "เด็ก-ผู้ใหญ่" มีความเสี่ยงภาวะเครียดหลังเหตุรุนแรง 


จากเหตุการณ์คนร้ายกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 38 ราย ซึ่งเหตุเกิดเมื่อช่วงเที่ยงวันนี้ (6 ต.ค.) ซึ่งต่อมาผู้ก่อเหตุได้ยิงปลิดชีพตัวเอง พร้อมลูกและเมีย ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น


ล่าสุด สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้ให้คำแนะนำ "ทำอย่างไร..การดูแลจิตใจเมื่อทราบข่าวหรือเห็นภาพความรุนแรง"ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการรับข่าวที่มากเกินไป : ใช้เวลากับกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพื่อลดอารมณ์ และความเครียดจากการรับข่าวสาร

2. หยุดส่งต่อภาพความรุนแรง : ไม่ส่งภาพเหตุการณ์ หรือ คลิปเหตุการณ์ ความรุนแรง ที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก

3. ให้ความสำคัญกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น : ทั้งอารมณ์ช็อก เสียใจ โกรธ ทำใจไม่ได้ รู้สึกผิด สงบและยอมรับ

4. แบ่งปันความรู้สึก : พูดคุย ระบายความรู้สึกโดยเน้นความเข้มแข็งของจิตใจ ที่สามารถจัดการความยากลำบากไปได้

5. ถ้ารู้สึกไม่ไหว ขอคำปรึกษา : ผ่านสายด่วนสุขภาพจิต1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง 


เปิดคำแนะนำดูแลสภาพจิตใจ เด็ก-ผู้ใหญ่ หลังเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลําภู ภาพจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

 



ขณะที่ คำแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ดูแลเด็กและวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงภาวะเครียดหลังเหตุรุนแรง "สำหรับเด็กเล็ก" มีรายละเอียดดังงนี้

สำหรับเด็กเล็ก

ข้อควรรู้ 

1.เด็กไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ความเครียด ไม่สามารถเข้าใจได้เท่าผู้ใหญ่ 

2.เด็กซึมซับ พฤติกรรมเลียนบบเร็วกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า


สัญญาณเตือน

1.งองแงง่าย เรียกร้องความสนใจมากกว่าปกติ แยกตัวไม่อยากไปโรงเรียน

2.นอนไม่หลับ หลับไม่ดี ฝันร้าย

3.หวาดผวา กลัวการแยกจากผู้ปกครอง


สิ่งที่ควรทำ

1.คำนึงความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตรใจของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง

2.รีบให้เด็กกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตปกติ

3.ผู้ใหญ่จัดการอารมร์ตนเองเป็นต้นแบบ

4.มีผู้ใหญ่/ผู้ปกครอง ดูแลใกล้ชิด เป็นที่พึ่งทางจิตใจโดยเฉพาะในครอบครัวที่มีการสูญเสีย

5.พาทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ปั้นดิน เล่นทราย ศิลปะ ร้องเพลง


สิ่งที่ไม่ควรทำ

1.ไม่ถามเด็กให้เล่าถึงเหตุการณ์

2.งดเอาเด็กมาออกข่าว เสพข่าว

3.ไม่เอาเด็กมาเป็นเครื่องมือการสร้างภาพ กระแสดราม่า


เปิดคำแนะนำดูแลสภาพจิตใจ เด็ก-ผู้ใหญ่ หลังเหตุการณ์กราดยิงหนองบัวลําภู ภาพจาก กรมสุขภาพจิต

 



ที่มา กรมสุขภาพจิต / สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง