TNN online ศาลรัฐธรรมนูญ มติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องปมถวายสัตย์

TNN ONLINE

การเมือง

ศาลรัฐธรรมนูญ มติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องปมถวายสัตย์

ศาลรัฐธรรมนูญ มติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้องปมถวายสัตย์

ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุชัด การถวายสัตย์ เป็นการกระทำทางการเมืองของคณะรัฐมนตรีในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ จึงไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง









11 กันยายน 2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินส่งคำร้องของนายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอให้พิจารณาส่งศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง วินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี กล่าวคำถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ 


โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้อง และเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่าแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฎว่า ผู้ร้อง ได้ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่าการกระทำที่ถูกกล่าวอ้างว่าละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้พิจารณา วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7(11)และมาตรา 46 ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 47 (1)บัญญัติว่า การใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 46 ต้องเป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ อันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐและต้องมิใช่เป็นของกรณี อย่างหนึ่งอย่างใด 


ดังต่อไปนี้(1)การกระทำของรัฐบาลและมาตรา 46 วรรค 3 บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่า เป็นกรณีต้องห้าม ตามมาตรา 47 ให้ศาลสั่งไม่รับคำร้อง ไว้พิจารณา เห็นว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำทางการเมือง ของคณะรัฐมนตรี ในฐานะที่เป็นองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหารในความสัมพันธุ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ อันอยู่ในความหมายของการกระทำของรัฐบาล ตาม พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 47(1)ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจรับคำร้องไว้พิจารณาได้ตามาตรา 46 วรรค 3 ประกอบกับเมื่อวันที่ 16 ก.ค.2562 เวลา 17.45 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ.พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต หลังจากนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีกล่าว คำถวายสัตย์ปฏิญาณจบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัส เพื่อให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้น้อมนำไปเป็นแนวทาง ในการบริหารราชการแผ่นดิน


และต่อมาเมื่อวันที่ 27 ส.ค.62 เวลา 09.00 น.นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรีได้เข้ารับพระราชดำรัสในโอกาส เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ซึ่งพระราชทาน เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งลงพระปรมาภิไธย โดยเข้ารับต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ การถวายสัตย์ปฎิญาณต่อพระมหากษัตริย์ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กร ตามรัฐธรรมนูญใด ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มตรา 46 วรรค 3 และมาตรา 47(1)






ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง