TNN online ศบค.มีมติยกเลิก "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" คุมโควิดระบาด ตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้

TNN ONLINE

การเมือง

ศบค.มีมติยกเลิก "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" คุมโควิดระบาด ตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้

ศบค.มีมติยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุมโควิดระบาด ตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้

ศบค.ชุดใหญ่ มีมติเคาะยกเลิก “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” คุมการระบาดโควิด-19 พร้อม ยุบ “ศบค.” หลัง คกก.โรคติดต่อฯ ประกาศให้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป

ศบค.ชุดใหญ่ มีมติเคาะยกเลิก “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” คุมการระบาดโควิด-19 พร้อม ยุบ “ศบค.” หลัง คกก.โรคติดต่อฯ ประกาศให้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป

วันนี้ (23 ก.ย.65) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ ครั้งที่ 12/2565 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม ศบค. เห็นควรให้พิจารณายกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่ว ราชอาณาจักร ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 และการขยายระยะเวลาการ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 19 ) 

รวมทั้งบรรดาข้อกาหนด ประกาศ และคาสั่ง ที่ นรม. และ ครม. ใช้อานาจแห่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมด โดยให้มีผลใน วันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบค.รับทราบแผนการบริหารจัดการวัคซีน Pfizer ฝาสีแดงเข้ม สาหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี คาดว่าจะได้รับมอบประมาณกลางเดือนตุลาคม 2565

ด้าน พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประวิตร เป็นประธาน 

เห็นชอบยกเลิกประกาศการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เพื่อกลับไปใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ภายหลังจากจากคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ประกาศให้โควิด-19 จากที่เป็นโรคติดต่ออันตราย มาเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของศบค. ก็จะถูกยุบตามไปด้วย 



ด้าน นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. กล่าวก่อนการประชุม ศบค. ว่า ขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ของไทย ตัวเลขผู้ป่วยที่เข้ารักษามีประมาณ 800-1,000 คน

ส่วนการตรวจเอทีเคที่รายงานเข้าระบบมีประมาณ 13,000-14,000 คนต่อวัน แต่มีอาการที่ไม่รุนแรง จึงเป็นเหตุผลการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 จากโรคติดต่อร้ายแรงสู่โรคติดต่อเฝ้าระวัง แต่ยังไม่ได้เป็นโรคประจำถิ่น เพราะการประกาศเป็นโรคประจำถิ่น จะต้องมีตัวเลขผู้ติดเชื้อน้อยกว่านี้

เมื่อประกาศเป็นโรคเฝ้าระวัง สามารถผ่อนคลายกิจกรรมได้ แต่ยังย้ำให้ทุกคนต้องดูแลตัวเอง ประเมินความเสี่ยง ไม่ไปในที่แออัด สวมใส่หน้ากากอนามัย พร้อมเน้นย้ำเรื่องวัคซีน โดยเฉพาะเข็มกระตุ้นมีประโยชน์ 

นพ.อุดม ยืนยันว่า หากมีการระบาดระลอกใหม่ รัฐบาลไม่กังวล เพราะได้มีการวางระบบไว้หมดแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาเป็นการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดย ศบค. ทำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการร่วมกันได้ 

และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป ไม่ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็ต้องยุบ ศบค. ไปด้วย โดยวันนี้จะหารือกันเบื้องต้นให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายงานเหมือนกับ ศบค. เพื่อให้กระทรวงต่างๆ ทำงานร่วมกันก่อน เพื่อรอการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ที่ขณะนี้จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า จะไม่เกิดสุญญากาศระหว่างรอกฏหมาย เพราะสถานการณ์โควิด-19 ไม่รุนแรง กระทรวงต่างๆ คุ้นเคยและมีการเชื่อมโยงการทำงานกันหมดแล้ว.


ภาพจาก Thaigov

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง