TNN "มะเร็งช่องปาก" เกิดจากอะไร เปิดสาเหตุ อาการ และปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง

TNN

Health

"มะเร็งช่องปาก" เกิดจากอะไร เปิดสาเหตุ อาการ และปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง

มะเร็งช่องปาก เกิดจากอะไร เปิดสาเหตุ อาการ และปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง

"มะเร็งช่องปาก" เกิดจากอะไร เปิดสาเหตุ อาการ และปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง

มะเร็งช่องปาก ภัยร้ายใกล้ตัวที่พบได้บ่อยในคนไทย โดยสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เคี้ยวหมาก เป็นต้น โดยบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับมะเร็งช่องปาก และเจาะลึกถึงสาเหตุ ว่าอะไรคือตัวการร้ายที่นำไปสู่โรคร้ายนี้ รวมถึงแนวทางป้องกันและการรักษาของโรคนี้ด้วย


สาเหตุของมะเร็งช่องปาก เกิดจากอะไร?

สาเหตุหลัก ของมะเร็งช่องปาก มาจากพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

1. การสูบบุหรี่: สารเคมีอันตรายในควันบุหรี่ เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งช่องปาก พบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่จัด

2. การดื่มสุรา: เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งช่องปาก โดยเฉพาะเมื่อดื่มร่วมกับการสูบบุหรี่

3. การเคี้ยวหมาก: ฝรั่งหอม และใบพลู เป็นแหล่งของสารก่อมะเร็ง

4. การติดเชื้อไวรัส HPV: สายพันธุ์ 16 และ 18 เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งช่องปาก

5. พันธุกรรม: บุคคลที่มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งช่องปาก มีความเสี่ยงสูงกว่า

6. การใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี: กดหรือเสียดสีเยื่อบุช่องปากเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสริม ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งช่องปาก ได้แก่

1. เพศชายมีสถิติและโอกาสพบบ่อยกว่าเพศหญิง

2. มักพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

3. ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โดยเฉพาะผู้ป่วย HIV/AIDS หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน


อาการ ของมะเร็งช่องปาก เป็นแบบไหน?

มะเร็งช่องปากในระยะแรกเริ่ม อาจไม่มีอาการที่ชัดเจน แต่เมื่อโรคกำเริบอาจพบอาการดังต่อไปนี้

1. แผลในปากที่ไม่หายเรื้อรังเกิน 2-3 สัปดาห์

2. มีตุ่มหรือก้อนเนื้อในช่องปาก

3. รู้สึกชาในช่องปาก

4. เหงือกบวมและมีเลือดออกง่าย

5. ปวดลิ้นหรือลำคอ

6. กลืนลำบาก

7. ฟันโยก

8. ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต


การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะวินิจฉัยมะเร็งช่องปาก โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจทางพยาธิวิทยา และอาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือการตรวจภาพถ่ายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)


การป้องกัน มะเร็งช่องปาก

1. งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา

2. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมาก

3. แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ

4. ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุกปี

5. ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักและผลไม้

6. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV (สำหรับผู้หญิง)


ที่มาข้อมูล : RAMA CHANNEL, โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ

ข่าวแนะนำ