TNN รู้จัก "โรคกระดูกพรุน" คืออะไร พร้อมเปิดสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

TNN

Health

รู้จัก "โรคกระดูกพรุน" คืออะไร พร้อมเปิดสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

รู้จัก โรคกระดูกพรุน คืออะไร พร้อมเปิดสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

ชวนทำความรู้จัก "โรคกระดูกพรุน" คืออะไร พร้อมสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

โรคกระดูกพรุน ภัยร้ายที่อันตรายมากกว่าที่คิด เพราะโรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการบ่งบอกล่วงหน้า แต่ส่งผลร้ายแรงถึงขั้นกระดูกหักง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและอัตรายถึงชีวิต วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคกระดูกพรุน ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้


กระดูกพรุน คืออะไร?

กระดูกพรุน คือภาวะที่ร่างกายมวลกระดูกลดลง จนทำให้โครงสร้างภายในกระดูกเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและเสี่ยงต่อการหัก ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น


สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย

อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น มวลกระดูกจะลดลงตามธรรมชาติ

พันธุกรรม: หากมีญาติสายตรงเป็นโรคกระดูกพรุน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่า

เชื้อชาติ: คนผิวขาวมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนผิวสี

2. ปัจจัยที่ควบคุมได้

การขาดฮอร์โมนเพศหญิง: ในผู้หญิง เมื่อหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ส่งผลต่อมวลกระดูก

การขาดแคลเซียมและวิตามินดี: ร่างกายต้องการแคลเซียมและวิตามินดีเพื่อสร้างกระดูกที่แข็งแรง

การสูบบุหรี่: สารเคมีในบุหรี่ส่งผลเสียต่อมวลกระดูก

การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปส่งผลเสียต่อมวลกระดูก

การไม่ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายช่วยเพิ่มมวลกระดูก

ยาบางชนิด: ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านการชัก ยาขับปัสสาวะ ส่งผลต่อมวลกระดูก


อาการของโรคกระดูกพรุน

อาการของโรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการเบื้องต้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักรู้ตัวเมื่อกระดูกหักแล้ว ซึ่งบริเวณที่พบกระดูกหักได้บ่อยจากโรคกระดูกพรุน มีดังนี้

1.กระดูกสะโพก

2.ข้อมือ

3.หลัง

4.ต้นแขน

5.ข้อเท้า


แนวทางป้องกันโรคกระดูกพรุนง่ายๆ  มีดังนี้

1.ทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ผักใบเขียว เต้าหู้ งาดำ ถั่วเหลือง เป็นต้น

2.ทานอาหารที่มีวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีช่วยร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ดียิ่งขึ้น

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

4.ควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลต่อแรงกดทับกระดูก


ที่มาข้อมูล : RAMA CHANEL

ข่าวแนะนำ