TNN "โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก" คืออะไร เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน

TNN

Health

"โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก" คืออะไร เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก คืออะไร เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน

ชวนทำความรู้จัก "โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก" คืออะไร เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน

อากาศร้อน นอกจากจะทำให้รู้สึกเหนอะหนะไม่สบายตัวแล้ว ยังสามารถทำให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด วิงเวียน หรือรุนแรงจนกระทั่งมีอาการของ “โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก” ได้อีกด้วย ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศจะร้อนจัดเป็นพิเศษ จึงตองเฝ้าระวังมากกว่าปกติ ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงบอกวิธีการป้องกันตัวเองเบื้องต้นด้วย จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้


โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก คืออะไร?

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) คือภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ส่งผลต่อระบบประสาท หัวใจ และไต ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะมีกลไกควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่เมื่อต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน กลไกเหล่านี้ก็อาจทำงานได้ไม่เพียงพอ จนส่งผลให้ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว


โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก เกิดจากอะไร?

1. อยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิร้อนจัดเป็นเวลานาน

2. ทำงานหรือออกกำลังกายหนักในสภาพอากาศร้อน

3. ดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ

4. สวมเสื้อผ้าหนา หรือ รองเท้าที่ไม่ระบายอากาศ

5. เป็นโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคอ้วน


อาการของโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก เป็นอย่างไร?

1. อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส

2. ผิวหนังร้อนและแห้ง แดง หรือ ซีด

3. เหงื่อออกน้อย หรือ ไม่มีเหงื่อออก

4. รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

5. มึนงง สับสน เพ้อ ชัก หรือ หมดสติ

6. หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว

7. ปัสสาวะน้อย หรือ สีเข้ม


วิธีการป้องกันเบื้องต้น

• หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน

• ดื่มน้ำเปล่ามากๆ

• สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี

• พักผ่อนให้เพียงพอ

• ออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็น

• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

• ดูแลผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นพิเศษ


วิธีปฏิบัติ เมื่อพบเจอผู้ที่เป็นโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก

1. รีบนำผู้ป่วยไปยังที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก

2. คลายเสื้อผ้าให้ผู้ป่วย

3. เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือ ประคบด้วยถุงน้ำแข็ง

4. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่าเย็นๆ

5. กรณีผู้ป่วยมีอาการสับสน เพ้อ ชัก หรือ หมดสติ รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที


ที่มาข้อมูล : RAMA CHANNEL

ข่าวแนะนำ