TNN เปิด 5 พฤติกรรมเสี่ยง ทำบ่อยๆ ระวังเป็น "ตาปลา" ไม่รู้ตัว เช็กเลย!

TNN

Health

เปิด 5 พฤติกรรมเสี่ยง ทำบ่อยๆ ระวังเป็น "ตาปลา" ไม่รู้ตัว เช็กเลย!

เปิด 5 พฤติกรรมเสี่ยง ทำบ่อยๆ ระวังเป็น ตาปลา ไม่รู้ตัว เช็กเลย!

เปิด 5 พฤติกรรมเสี่ยง ทำบ่อยๆ ระวังเป็น "ตาปลา" ไม่รู้ตัว เช็กเลย!

รู้หรือไม่ ว่าพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด “ตาปลา” หรืออาการผิดปกติอย่างหนึ่งเกี่ยวกับผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบได้ที่บริเวณเท้า และตาปลานี้มักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันระวังตัวด้วย บทความนี้พาทุกคนไปดู 5 พฤติกรรมเสี่ยง ที่ควรหลีกเลี่ยง หากไม่อยากเสี่ยงเป็น “ตาปลา” เพื่อป้องกันปัญหานี้ก่อนสายเกินไป


5 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง เสี่ยงเป็น “ตาปลา”

1. ใส่รองเท้าคับหรือหลวมเกินไป

รองเท้าที่คับเกินไป สามารถสร้างแรงกดทับบริเวณผิวหนังที่เท้าซ้ำๆ จึงทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นๆ ด้านและหนาตัวขึ้นได้ ในทางกลับกันรองเท้าที่หลวมเกินไป ก็สามารถสร้างแรงเสียดสีจนทำให้เกิดตาปลาขึ้นได้เช่นกัน

2. เดินหรือยืนนานๆ

การเดินหรือยืนนานๆ โดยไม่ใส่รองเท้า หรือรองเท้าที่ใส่ไม่รองรับและซัพพอร์ตบริเวณส้นเท้า อาจทำให้เกิดตาปลาได้

3. ปล่อยให้ผิวหนังแห้ง

ผิวหนังที่แห้ง ขาดการบำรุงเป็นเวลานาน จะเสียความชุ่มชื้น สามารถทำให้เกิดรอยแตก รอยแผล จากการเสียดสี จนเกินเป็นอาการตาปลาขึ้นได้

4. ไม่ใส่ถุงเท้า

เมื่อต้องใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนัง ควรใส่ถุงเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างเท้ากับรองเท้าโดยตรง

5. ไม่รักษาลักษณะเท้าที่ผิดรูป

การมีลักษณะเท้าที่ผิดรูป ก็สามารถทำให้เกิดตาปลาได้เหมือนกัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทยืเฉพาะทาง และรับการรักษาที่ถูกต้อง


ป้องกันตาปลาได้ง่ายๆ เพียงปรับพฤติกรรม

1. เลือกรองเท้าที่พอดี ไม่คับหรือหลวม

2. ใส่รองเท้าที่รองรับส้นเท้า

3. ทาครีมบำรุงผิวเท้า

4. ปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขโครงสร้างเท้าผิดปกติ

5. ใส่ถุงเท้าที่ระบายอากาศ สัมผัสนุ่มเพื่อป้องกันการเสียดสี

6. หากมีสัญญาณเตือนของตาปลา เช่น รู้สึกเจ็บตื้อ บนเท้า มีตุ่มนูน ผิวหนังหนาแข็ง ควรรีบดูแลรักษาอย่าปล่อยไว้นาน


วิธีรักษามีหลายวิธี เช่น ทายา แช่น้ำอุ่น ใช้แผ่นแปะกันตาปลา ขัดผิวหนังด้วยหินขัดส้นเท้า หากตาปลาไม่หาย หรือมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป


ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, pobpad


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง