TNN ทำความรู้จัก "อาหารเป็นพิษ" สาเหตุเกิดจากอะไร อากาศร้อนต้องระวัง!

TNN

Health

ทำความรู้จัก "อาหารเป็นพิษ" สาเหตุเกิดจากอะไร อากาศร้อนต้องระวัง!

ทำความรู้จัก อาหารเป็นพิษ สาเหตุเกิดจากอะไร อากาศร้อนต้องระวัง!

ชวนทำความรู้จัก "อาหารเป็นพิษ" สาเหตุเกิดจากอะไร อากาศร้อนต้องระวัง!

อาหารเป็นพิษ อีกหนึ่งโรคที่สามาราถเกิดได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ โดยแม้ทั่วไปอาหารเป็นพิษนี้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถสร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจต่อผู้ที่ต้องเผชิญได้ไม่น้อย และในบางกรณียังอาจรุนแรงถึงขั้นต้องพบแพทย์และนอนโรงพยาบาลเลยทีเดียว 


อาหารเป็นพิษคืออะไร?

อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษจากอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย บางครั้งอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ตาพร่ามัว เป็นต้น


สาเหตุของอาหารเป็นพิษ

สำหรับสาเหตุของอาหารเป็นพิษ มักเกิดจากเชื้อโรคหรือสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารหรือน้ำดื่ม ซึ่งเชื้อโรคที่พบบ่อยและเป็นตัวก่อให้เกิดภาวะนี้ มีดังนี้

1. เชื้อแบคทีเรีย เช่น Salmonella, Escherichia coli (E. coli), Staphylococcus aureus, Clostridium perfringens, Vibrio cholerae เป็นต้น

2. เชื้อไวรัส เช่น Norovirus, Rotavirus, Hepatitis A เป็นต้น

3. โปรโตซัว หรือพวกสัตว์เซลล์เดียว เช่น Giardia lamblia, Cryptosporidium parvum เป็นต้น

4. สารพิษ เช่น สารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย สารพิษจากพืชหรือสัตว์บางชนิด


ปัจจัยเสี่ยงการเกิดอาหารเป็นพิษ 

สำหรับปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาหารเป็นพิษ มีดังนี้

1. รับประทานอาหารที่ไม่สุกหรือปรุงสุกไม่เพียงพอ

2. รับประทานอาหารที่เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เชื้อโรคโตขึ้นได้

3. รับประทานอาหารที่สัมผัสกับวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค


อาการของอาหารเป็นพิษ

อาการของอาหารเป็นพิษมักเริ่มแสดงภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน อาการที่พบบ่อย ได้แก่

1. คลื่นไส้ อาเจียน

2. ปวดท้อง ท้องเสีย

3. ปวดศีรษะ

4. อ่อนเพลีย

5. หนาวสั่น

6. ปวดกล้ามเนื้อ

7. ตาพร่ามัว


การรักษาอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มักหายได้เองภายใน 1-2 วัน โดยการรักษาเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ได้แก่

1. ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่

2. รับประทานยาแก้ปวด แก้คลื่นไส้ อาเจียน ตามอาการ

**ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เช่น อาเจียนมาก ท้องเสียมาก ปวดท้องมาก อาจมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่รุนแรง ดังนั้นควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิดต่อไป


อาหารเป็นพิษ แม้ไม่ใช่โรคที่อนตรายและสามารถหายเองได้ แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นในช่วงฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัด เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ดี จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับประทานอาหาร เพื่อให้ห่างไกลจากอาหารเป็นพิษ



ที่มาข้อมูล : Medpark,โรงพยาบาลศิครินทร์ 

ที่มาภาพปก : freepik/diana.grytsku

ข่าวแนะนำ