TNN "สำลักอาหาร" ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน

TNN

Health

"สำลักอาหาร" ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน

สำลักอาหาร ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน

"สำลักอาหาร" ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน ลดเสี่ยงเสียชีวิต

"สำลักอาหาร" ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน ลดเสี่ยงเสียชีวิต


อาหารติดคอ หรือ การสำลักอาหารเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลได้อย่างทันท่วงที หากมีอาการเหมือนอาหารติดคอ ให้ลองสังเกตอาการดูว่ายังสามารถไอหรือพูดได้อยู่ไหม หากยังไอหรือพูดได้ อาหารอาจไปอุดกั้นทางเดินหายใจบางส่วน แต่หากมีอาการหายใจไม่ออก พูดหรือร้องไม่มีเสียง มีอาการหน้าเขียว ปลายมือเท้าเขียว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือหากไม่แน่ใจวิธีปฐมพยาบาลให้รีบแจ้งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทร 1669




สำลักอาหาร ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน ขอบคุณภาพจาก ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอานามัย

 



การช่วยเหลือผู้สำลักวัยผู้ใหญ่ (อายุมากกว่า 8 ปี)


การช่วยเหลือ : กรณีรู้สึกตัว เพื่อนำสิ่งอุดกั้นออกและการหายใจเป็นปกติ


-ถ้าไอได้ กระตุ้นให้ไอแรงๆ

-ถ้าไอไม่ได้ : ดันใต้กะบังลม 5 ครั้ง ทำต่อเนื่องจนสิ่งอุดกั้นหลุดออก ตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างลิ้นปี่กับสะดือ

-วางนิ้วโป้งตรงลิ้นปี่ นิ้วกลางตรงสะดือ นิ้วชี้อยู่ตรงกลาง

-มืออีกข้างทำกำปั้นวางตรงโคนนิ้วชี้ ให้ด้านนิ้วโป้งแนบลำตัว

-ดึงมือที่หาตำแหน่งออกมากุมกำปั้นไว้

-ให้ผู้สำลักก้มตัวลง ผู้ช่วยเหลือกางข้อศอกออก

ห้าม! ใช้นิ้วพยายามล้วงสิ่งอุดกั้นออก



สำลักอาหาร ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน ขอบคุณภาพจาก ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอานามัย

 



การช่วยเหลือ : กรณีหมดสติ


-ประเมินการตอบสนองและการหายใจ

-ถ้าไม่มีการตอบสนองและไม่หายใจ ให้ตะโกนขอความช่วยเหลือ

-กดหน้าอก 30 ครั้ง

-เป่าปาก 2 ครั้ง

-ทำการกดหน้าอก 30 ครั้งสลับเป่าปาก 2 ครั้ง

-ต่อเนื่องจนกว่าจะมองเห็นสิ่งอุดกั้นในปากชัดเจน จึงใช้นิ้วล้วงออก


เมื่อสิ่งอุดกั้นออกแล้ว


-ถ้าผู้สำลักยังไม่มีการ ตอบสนองและไม่หายใจ ช่วยโดยการทำ CPR

-ถ้าผู้สำลักยังไม่มีการ ตอบสนองแต่มีการหายใจ และชีพจรปกติ จัดให้นอนท่านอนที่ปลอดภัย (Recovery position)



กรณีเด็กเล็ก หรือ น้อยกว่า 1 ปี


-กรณีไม่หมดสติ ตรวจดูอาการทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น ร้องไม่มีเสียง ไอไม่ออก

-จับคว่ำตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับนอนหงาย กดหน้าอก 5 ครั้ง

-ใช้ฝ่ามือรองเพื่อซัพพอร์ตคอเด็กขณะตบหลัง

-ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา

-กรณีหมดสติ ให้ทำปฏิบัติการกู้ชีพ ขอความช่วยเหลือ ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมค่อยดึงเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา ทำการปฏิบัติการกู้ชีพจนความช่วยเหลือมาถึง



สำลักอาหาร ทำอย่างไร? เปิดวิธีปฐมพยาบาล ขั้นตอนสำคัญยามฉุกเฉิน ขอบคุณภาพจาก โรงพยาบาลจุฬาฯ

 





ขอบคุณที่มา โรงพยาบาลจุฬาฯ / ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอานามัย / RAMA CHANNEL

ภาพจาก AFP


ข่าวแนะนำ