TNN เปิด "อาหารบำรุงสมอง" ป้องกันโรคสมองเสื่อม ประเภทไหนทำร้ายสมอง?

TNN

Health

เปิด "อาหารบำรุงสมอง" ป้องกันโรคสมองเสื่อม ประเภทไหนทำร้ายสมอง?

เปิด อาหารบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ประเภทไหนทำร้ายสมอง?

เปิด "อาหารบำรุงสมอง เสริมความจำ" ป้องกันโรคสมองเสื่อม และ อาหารประเภทไหนทำร้ายสมอง?

เปิด "อาหารบำรุงสมอง เสริมความจำ" ป้องกันโรคสมองเสื่อม และ อาหารประเภทไหนทำร้ายสมอง?


ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ดูแลต้องรับหน้าที่หนักหลายด้าน หลายครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้านอาจมีความกังวลเรื่องภาวะสมองเสื่อม การสังเกตอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น


สมองเสื่อมคืออะไร?


สมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไป


สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?


เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่แก้ไขได้และไม่ได้  เช่น โรคอัลไซเมอร์  โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว ขาดวิตามิน หรือจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส และเอดส์ เป็นต้น แต่โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอยู่ได้นาน 8 - 10 ปี



ดังนี้ สมองดี เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เพราะสมองมีบทบาทต่อการทำงานของอวัยวะหรือระบบอื่น ๆ ด้วย เช่น ระบบประสาท การเคลื่อนไหวของแขน ขา ไปจนถึงการเดิน การทรงตัว และความจำ

ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ดังเช่นหลาย ๆ ประเทศที่กำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ยิ่งเราอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคระบบประสาทมากเช่นกัน



สารอาหารช่วยสมองฟิตชะลอความเสื่อมของสมอง

สารอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุง สนับสนุนการทำงาน และชะลอความเสื่อมของสมอง ได้แก่ วิตามินชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินบี 1 บี 6 บี 12 วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งมีอยู่ในอาหารหลายประเภท ดังนี้

-วิตามินบี 1 มีมากในอาหารจำพวกข้าวแข็ง ๆ ไข่แดง ปลา ถั่วเหลือง


-วิตามินบี 6 แนะนำให้รับประทานไข่ เนื้อสัตว์ จมูกข้าว ข้าวโพด กล้วย


-วิตามินบี 12 ช่วยสนับสนุนการทำงานของกระแสประสาท ทำให้ความจำระยะสั้นดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุราว 4 เท่า อาหารที่เหมาะสมประกอบด้วยไข่ เครื่องในสัตว์ นม เนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่มีไขมันต่ำ


-วิตามินซี มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ พบในผลไม้จำพวกกีวี ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง


-วิตามินอี มีมากในผักคะน้า ผักโขม ถั่ว อัลมอนด์ น้ำมันรำข้าว ธาตุเหล็ก ซึ่งจะช่วยส่งออกซิเจนเลี้ยงสมอง


อย่างดไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไข่แดง

มีความเข้าใจผิดในการเลือกรับประทานอาหารหลายประเภท เพราะคิดว่าอาหารเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าก่อให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรตและไข่แดง ซึ่งจริงๆแล้วอาหารทั้ง 3 ประเภทนี้มีความสำคัญมากกว่าส่งผลกระทบต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม

1) ไขมัน

ร่างกายคนเรายังต้องการไขมันและโครงสร้างสมองก็มีไขมันอยู่ถึง 60% การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งไขมันที่ดี จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและสร้างความแข็งแรงให้เซลล์สมอง อาหารที่ให้โอเมก้า 3 สูง ประกอบด้วย ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจะละเม็ด รวมถึงไข่แดง สาหร่ายทะเล เมล็ดเซีย เมล็ดฟักทอง งา น้ำมันมะกอก น้ำมันทานตะวัน อาหารเหล่านี้ล้วนมีส่วนประกอบของไขมันดีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

2) คาร์โบไฮเดรต

สมองยังต้องใช้น้ำตาลกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตที่เรารับประทาน การที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลกลูโคส ในปริมาณที่ไม่เพียงพออาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง มีอาการหาวนอน เพลีย หน้ามืด ใจสั่น เพราะได้รับพลังงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ควรทานข้าวกล้อง เผือก มัน ข้าวโพด ธัญพืช ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานคุณภาพที่ร่างกายต้องการ

3) ไข่แดง

เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่พบว่าหลายคนมักเลี่ยงที่จะรับประทาน ซึ่งการทำงานของสมองต้องอาศัยโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ การรับประทานอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนเหมาะสมและสมดุลเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เน้นอย่างใดอย่างหนี่งแล้วละเลยส่วนอื่น อาหารจากพืชและสัตว์จำพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับและธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง จมูกข้าวสาลี เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ไก่ ปลา เป็นต้น 

เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่อุดมด้วยโคลีน ซึ่งมีความจำป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง และอาหารประเภทนม ไข่ งา อัลมอนด์ และเมล็ดฟักทอง ยังมีส่วนช่วยในเรื่องความจำอีกด้วย



อาหารที่ทำร้ายสมอง



อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทนี้ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ บางชนิดยังใส่สารกันบูด หรือมีโซเดียมในปริมาณมาก หากกินมากเกินไปอาจส่งผลต่อสมองให้ทำงานช้าลงได้ อาทิ พิซซ่า เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ


อาหารที่มีเกลือเยอะ โซเดียมในเกลือนอกจากจะทำให้ตัวเราบวมน้ำแล้ว ยังทำให้ระบบประสาทเกิดความขัดข้องได้ด้วย อาทิ เฟรนช์ฟรายส์ ขนมขบเคี้ยว


โปรตีนแปรรูป เนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง เป็นโปรตีนแปรรูป อาหารจำพวกนี้จะใส่สารเคมีอย่างสารกันบูด และมีโซเดียมสูง หากสะสมในปริมาณที่มากจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ในการประมวลผลต่างๆ ได้


เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มประเภทนี้มีสารกระตุ้นให้สมองตื่นตัว แต่มันทำให้สมองเฉื่อยซึมลงทันทีเมื่อฤทธิ์ของสารกระตุ้นหมดไป


ไขมันทรานส์ อาหารจำพวก ขนมปังกรอบ คุกกี้ เค้ก โดนัท กล้วยแขก ปาท่องโก๋ หรือ อาหารที่ทอดในน้ำมันซ้ำๆ ก็ยิ่งมีไขมันทรานส์มาก ซึ่งหากมีสะสมในร่างกายในปริมาณมาก เสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมอง


น้ำตาลเทียม แม้ว่าน้ำตาลเทียมใส่ในเครื่องดื่มและอาหารจะช่วยควบคุมเรื่องแคลอรี่ในร่างกายได้ดี แต่ความจริงสารพวกนี้มีส่วนประกอบของเคมี อย่าง กรดแอสปาร์ติก และเมธานอล หากกินมากๆ จะส่งผลกระทบต่อระบบสมองได้


อาหารทอด อาหารแปรรูปที่เพียงนำมาทอดก็กินได้แล้ว มักจะผสมเติมแต่งรสชาติ และสารกันบูด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมองในระยะยาว คือ ทำลายเซลล์ประสาท ทำให้สมาธิสั้นลงได้ ที่สำคัญการทอดในน้ำมันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ





ข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราชฯ / โรงพยาบาลกรุงเทพ / โรงพยาบาลนครธน 

ภาพจาก AFP/TNN Online

ข่าวแนะนำ