TNN เปิดอาหารสำหรับ "โรคเก๊าต์" ควรกิน-ไม่ควรกินอะไร ห้ามกินไก่จริงหรือไม่? เช็คที่นี่

TNN

Health

เปิดอาหารสำหรับ "โรคเก๊าต์" ควรกิน-ไม่ควรกินอะไร ห้ามกินไก่จริงหรือไม่? เช็คที่นี่

เปิดอาหารสำหรับ โรคเก๊าต์ ควรกิน-ไม่ควรกินอะไร ห้ามกินไก่จริงหรือไม่? เช็คที่นี่

เปิดอาหารสำหรับ "โรคเก๊าทต์" ควรกิน-ไม่ควรกินอะไร ห้ามกินไก่จริงหรือไม่? เช็คที่นี่

เปิดอาหารสำหรับ “โรคเก๊าต์” ควรกิน-ไม่ควรกินอะไร ห้ามกินไก่จริงหรือไม่? เช็คที่นี่


โรคเก๊าต์ เป็นโรคที่เกิดจากภาวะปริมาณของกรดยูริกในร่างกายสูงเกินไป จนไม่สามารถขับออกได้หมด เมื่อเกิดการสะสมในร่างกายมากขึ้น จะเกิดเป็นผลิกอยู่ตามข้อ ทำให้ผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บทางกายเป็นอย่างมาก โดยอาการที่เด่นชัดคือมักปวดตามข้อ มีอาการบวมแดง แสบร้อน บริเวณขอ้และเนื่อเยื่อเกี่ยวพัน 

ซึ่งวิธีการรักษาในปัจจุบันจะเป็นการใช้ยา ควยคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะการบริโภคอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับการสะสมกรดยูริกโดยตรง หากผู้ป่วยโรคเก๊าต์กินของที่มีกรดยูริกเข้าไป ก็อาจส่งผลให้มีอาการของโรคกำเริบ และรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นควรดูแลและใส่ใจการกินอย่างใกล้ชิด


อาหารที่ผู้ป่วย “โรคเก๊าต์ ” ไม่ควรกินอะไร มีอะไรบ้าง?  

อาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ควรหลีกเลี่ยง คืออาหารจำพวกที่มีสารพิวรีนมากกว่า 150 มิลลิกรัม โดยเมื่อร่างกายรับพิวรีนเข้าไป จะถูกสลายเป็นกรดยูริก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการโรคเก๊าท์กำเริบนั่นเอง 

สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ตับ ไต น้ำต้มเนื้อ น้ำสกัดจากเนื้อเข้มข้น น้ำปลาและกะปิจากปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน หอยเชลล์ ปลาทู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด ไข่ปลา และที่สำคัญคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์และเหล้า ควรงดห้ามดื่มเด็ดขาด


อาหารสำหรับผู้ป่วย “โรคเก๊าต์” มีอะไรบ้าง?

สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าต์สามารถรับประทานได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. อาหารที่มีสารพิวรีนอยู่ 50-150 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณไม่สูงมาก สามารถทานได้ แต่อยู่ในปริมาณที่จำกัด เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา กระเพาะ ผ้าขี้ริ้ว ปู กุ้ง หอย ถั่วต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง ผักขม เห็ด ดอกกะหล่ำ ชะอม เป็นต้น

2. อาหารที่มีสารพิวรีน 0-50 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าน้อยมากหรือเกือบไม่มีเลย ซึ่งอาหารเหล่านี้สามารถทานได้โดยไม่ต้องจำกัดปริมาณ เช่น ข้าว ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด ขนมปัง มักกะโรนี ข้าวโพด ไข่ นม กะทิ เนย น้ำมันหมู ผักและผลไม้ทุกชนิด เกาลัด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ขนมหวานต่างๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เค้ก คุกกี้ กาแฟ ชา โกโก้  เป็นต้น


ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, โรงพยาบาลวิภาวดี, Wikipedia

ที่มาภาพ : freepik/master1305

ข่าวแนะนำ