TNN online สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม

TNN ONLINE

Health

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? ควรบริโภคต่อวันเท่าไร และ โทษของน้ำตาลเทียมที่ต้องรู้

สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? ควรบริโภคต่อวันเท่าไร และ โทษของน้ำตาลเทียมที่ต้องรู้


จากกรณีที่มีข่าวว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมประกาศว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ‘แอสปาแตม (Aspartame)’ เป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง ซึ่งได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการดื่มเครื่องดื่มแบบไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาล 0% เพื่อต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้ได้รับพลังงานจากน้ำตาลเพิ่มแต่ก็ยังติดได้รสชาติหวานอยู่

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในปัจจุบันมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ปลอดภัยให้เลือกใช้ในท้องตลาดอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะมีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกันไป


สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย เผยว่า สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้นั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น


- โซเดียมไซคลาเมท (Sodium cyclamate) มีความหวาน 30 เท่าของน้้าตาลทราย
- ดัลซิน (Dulcin) หรือซูครอล (Sucrol) มีความหวาน 200 เท่าของน้้าตาลทราย
- ซัคคาริน (Saccharin) มีความหวานเป็น 500 เท่าของน้ำตาลทราย ส่วนในรูปของโซเดียมซัคคารีน ซึ่งเป็นรูปที่นิยมใช้ มีความหวานประมาณ 300-500 เท่าของน้้าตาลทราย
- อะซิซัลเฟม-เค ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า
- แอสปาร์แตม มีความหวาน 200 เท่าของน้้าตาลทราย
- ซอร์บิทอล (Sorbitol) มีความหวานน้อยกว่าน้้าตาลทราย คือประมาณ ½ - 2/3 เท่าของน้ำตาลทราย
- สติวิโอไซด์ (Stevioside) มีความหวานประมาณ 150-300 เท่าของน้้าตาลทราย
- ซัยลิทอล (Xylitol) มีความหวานเท่ากับน้ำตาลทราย
- ไดโซเดียมกลีซิลริซิเนต และไตรโซเดียมกลีซิลริซิเนต มีความหวาน 4,000 เท่าของน้ำตาลทราย ฯลฯ


สารให้ความหวาน หรือ น้ำตาลเทียมข้างต้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการนำมาใช้ในวัตถุประสงค์ แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิดที่ก่อให้เกิดพิษภัยต่อสุขภาพ ของผู้บริโภคได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศห้ามใช้ใส่ในอาหารทุกชนิด รวมทั้งน้าเข้าสารเคมีดังกล่าว เข้ามาในราชอาณาจักร สารดังกล่าว ได้แก่
- โซเดียมไซคลาเมท
- ดัลซิน
- สติวิโอไซด์


นอกจากนี้ ยังมีข้อก้าหนดห้ามใช้ซัคคารีน กับผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภท ได้แก่ เครื่องปรุงรส และ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ด้วยเหตุผลที่ว่า ซัคคารีนเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคในวัยเด็ก ซึ่งอยู่ในช่วงที่ต้องการพลังงานสูง


สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่


1. ซัคคาริน หรือขัณฑสกร ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาลทรายถึง 300-700 เท่า
2. แอสปาร์แตม ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้้าตาลทรายมากที่สุด จึงเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบัน
3. อะซิซัลเฟม-เค ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาล 200 เท่า
4. ซูคราโลส ให้ความหวานสูงกว่าน้้าตาลทรายถึง 600 เท่า


ปริมาณสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่บริโภคได้ต่อวัน


พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 อนุญาตให้ใชวัตถุที่ใหความหวานแทนน้ำตาลหรือใช้ร่วมกับน้ำตาล นอกจากการใช้น้ำตาลได้ โดยให้ใช้วัตถุที่ใหความหวานแทนน้้าตาลได้ตามมาตรฐานอาหาร Joint FAO/WHO, Codex โดยปริมาณที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USDA) อนุญาตให้รับบริโภคได้ตามค่า acceptable daily intake levels (ADI) ซึ่งสารให้ความหวานหรือน้ำตาล เทียมแต่ละชนิดจะมีค่า ADI แตกต่างกัน ดังนี้


- แอสปาร์เทม ค่า ADI เท่ากับ 40-50 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- ซัคคาริน ค่า ADI เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- อะซิซัลเฟมโพแทสเซียม ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- ซูคราโลส เท่ากับ, ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน


ประโยชน์ของน้ำตาลเทียม


1. ลดปริมาณพลังงานในอาหาร เหมาะส้าหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
2. สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือ


โทษของน้ำตาลเทียม


1. โทษของน้ำตาลเทียมแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน หากเป็นซัคคาริน หรือ ขัณฑสกร มีรายงานการวิจัยว่าท้าให้เกิดมะเร็งในหนูเมื่อใช้ในขนาดสูง ควรหลีกเลี่ยง


2. การบริโภคน้ำตาลเทียม ทำให้น้ำหนัก เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนลงพุง โดยมีรายงานการวิจัยแบบ Meta analysis โดยทำการทบทวนงานวิจัยจ้านวน 5 เรื่อง จำนวนตัวอย่างรวม 27,914 คน วิธีการศึกษาแบบไปข้างหน้าจากเหตุไปหาผล (Cohort Studies) โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนที่บริโภคน้ำเทียมน้อยที่สุด กับกลุ่มคนที่บริโภค น้ำตาลเทียมมากที่สุด พบว่าคนที่บริโภคน้ำตาลเทียมมากที่สุด จะเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องเกี่ยวกับกลุ่ม โรคเมตาบอลิก (อ้วนลงพุง) เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 31 และยังพบว่ากลุ่มที่บริโภคน้ำตาลเทียมมีดัชนีมวลกาย น้ำหนักและเส้นรอบเอวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่ไม่บริโภคน้ำตาลเทียมเลย


3. การบริโภคน้ำตาลเทียมเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มขึ้น รายงานการวิจัย แบบ Meta analysis ที่ทบทวนงานวิจัยและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลและ น้ำตาลเทียมกับโรคอ้วน จากงานวิจัยจ้านวน 11 เรื่อง พบว่าการบริโภคเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีน้ำตาล ทำให้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่มี 3 ผลการศึกษา เรื่องการบริโภคน้ำอัดลมใส่น้ำตาลเทียมท้าให้มีความเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วนได้ร้อยละ 59 ซึ่งมีการอภิปรายผลการศึกษาว่า ผู้มีภาวะน้้าหนักเกินและภาวะอ้วนมีพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียมมากกว่าผู้มีน้ำหนักตามมาตรฐาน 


เนื่องจากกลุ่มที่ดื่มน้้าอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียมนั้น เลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงมากกว่าอย่างมีนัยส้าคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยภาวะอ้วน และน้ำหนักเกินที่ดื่มน้ำอัดลมปกติที่มีน้ำตาล ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพราะผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียมคิดว่าการดื่มน้ำอัดลมที่ไม่มีพลังงาน ท้าให้สามารถบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงกว่าเดิมได้เพิ่มขึ้น และมักจะบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป


4. น้ำตาลเทียมส่งผลต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลิน โดยการบริโภคน้ำตาลเทียมเป็นประจำในปริมาณมากๆ จะส่งผลเช่นเดียวกันกับการบริโภคอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง (glycemic load) ได้แก่ อาหารจ้าพวกคาร์โบไฮเดรต ส่งผลให้เกิดภาวะการย่อยน้ำตาลบกพร่อง (glucose intolerance) และภาวะดื้ออินซูลิน อีกทั้งยังท้าให้การรับรู้รสชาติเปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย เนื่องจากเกิดความอยากบริโภคอาหารและเครื่องดื่มรสหวาน ท้าให้มีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้เพิ่มขึ้นจากปกติ ส่งผลต่อการเกิดโรคเมตาบอลิกและโรคเบาหวานชนิดที่ 2


สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง? เปิดโทษน้ำตาลเทียม



ขอบคุณที่มา สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 

ภาพจาก TNN Online / รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง