TNN online ความเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง

TNN ONLINE

Health

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิด "โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง" เช็กอาการบอกโรค ป้องกันอย่างไร อ่านที่นี่

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิด "โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง" เช็กอาการบอกโรค ป้องกันอย่างไร อ่านที่นี่


โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE (Systemic Lupus Erythematosus, SLE) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเนื้อเยื่อร่างกายของตนเอง แต่สาเหตุที่ภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดนั้นยังไม่แน่ชัด แต่ยังพอสามารถระบุพฤติกรรมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคพุ่มพวงอยู่หลายสาเหตุ โรคนี้ยังต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานและเคร่งครัดเนื่องจากอาการที่กำเริบอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


ทำไมจึงเรียกว่าโรคพุ่มพวง

โรคแพ้ภูมิตัวเองเป็นชื่อในเชิงทางการ แต่โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเรียกว่า “โรคพุ่มพวง” ซึ่งเรียกตามกันมาจากชื่อของนักร้องไทยชื่อดังในอดีต “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ที่ป่วยเป็นโรคนี้ และเสียชีวิตลงในเวลานั้น ทำให้หลายคนจำชื่อโรคของพุ่มพวงมาจนถึงปัจจุบัน


ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพุ่มพวง

-เกิดจากการใช้ยา และสารเคมีต่าง ๆ หรือยาประเภทควบคุมความดันเลือด ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

-เกิดจากฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในบางครั้งจะส่งผลด้วย เช่น ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงที่เติบโตในแต่ละวัย เป็นต้น

-การถ่ายทอดพันธุกรรม โรคหรืออาการบางชนิดที่เกิดในวงเครือญาติอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพุ่มพวงได้

-ปฏิกิริยาต่อแสงแดด สำหรับคนที่มีผิวหนังไวต่อแสงแดดจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากอาการแพ้ดังกล่าวได้



ความเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชลบุรี

 



อาการของโรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง

อาการของโรคนี้มีอยู่หลายระดับ ถึงแม้จะรักษาได้แต่ในผู้ป่วยบางรายถึงแม้จะรักษาไปแล้วอาการจะยังคงอยู่แบบถาวร โดยอาการดังกล่าวมีอยู่หลายแบบดังนี้

-มีการตรวจพบแอนติบอดีต่อดีเอ็นเอ (anti-dsDNA) หรือการตรวจพบแอนติฟอสโฟไลปิดแอนติบอดี หรือการตรวจเลือดพบผลบวกปลอมต่อการตรวจซิฟิลิส
-หากมีการตรวจเลือดจะพบแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดี (antinuclear antibody)
-ผื่นผิวหนังบริเวณใบหน้า ใบหู แขนขา และลำตัว
-มีผื่นบริเวณใบหน้าเป็นรูปผีเสื้อ
-อาการซีด จากเม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือดต่ำ
-หากโดนแดดจะมีผื่นผิวหนังแดงอย่างรุนแรง
-เกิดอาการอักเสบที่เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจหรือเยื่อหุ้มสมอง
-ไตอักเสบ
-มีแผลในปาก
-มีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น อาการชัก เป็นต้น
-ข้ออักเสบ
หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าวตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไปอาจเป็นสัญญาณว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพุ่มพวงได้ ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่แน่นอน

โรคพุ่มพวงรักษาได้ไหม

โรคนี้สามารถรักษาได้แต่ต้องใช้เวลานานพอสมควร อีกทั้งยังต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ร่วมกับการดูแลตนเอง ดังนี้
อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
-หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด
-พักผ่อนให้เพียงพอ
-พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-ในการติดตามอาการ และการเฝ้าระวังอาการที่กำเริบถือว่าสำคัญอย่างมากเนื่องจากบางอาการหากอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้


ความเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคพุ่มพวง หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง ภาพจาก ผู้สื่อข่าวชลบุรี

 



โรคพุ่มพวงป้องกันอย่างไร

โรคนี้เป็นโรคร้ายที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างชัดเจน ทำให้การป้องกันไม่สามารถทำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเรายังสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคได้อยู่ ถือเป็นการป้องกันที่เราพอจะทำได้เพื่อให้ห่างไกลโรคนี้

ด้วยการป้องกันและรักษาอย่างยากลำบากการดูแลตนเองของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ การมีวินัยตลอดการรักษาจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การรักษาประสบความสำเร็จได้





ข้อมูลจาก โรงพยาบาลเพชรเวช

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง