TNN online ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ป้องกันได้อย่างไร?

TNN ONLINE

Health

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ป้องกันได้อย่างไร?

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ป้องกันได้อย่างไร?

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้ ความเครียด การสูบบุหรี่ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยง

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้ ความเครียด การสูบบุหรี่ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยง


โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือไฟฟ้า ในหัวใจลัดวงจร โดยปกติ ที่หัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60 - 100 ครั้งต่อนาที ก็อาจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งวินาที) หรือเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเต้นเดี๋ยวหยุด หรือ เต้นเร็วสลับกับเต้นช้า การรักษาให้หายขาด สามารถทำได้ด้วยการจี้คลื่นไฟฟ้า

การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้ ดังนี้
-หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ


สาเหตุหลักๆ ของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-กรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าหัวใจตั้งแต่กำเนิด
-การเสื่อมสภาพของระบบไฟฟ้าหัวใจ มักเกิดในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เนื่องจากหัวใจทำงานมาเป็นเวลานาน จึงเกิดความเสื่อมตามอายุการใช้งาน ระดับพลังงานที่กระตุ้นหัวใจจึงทำงานน้อยลง ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าผิดปกติ
-โรคบางชนิด ส่งผลให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคเบาหวาน และผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
-ยา และสารเสพติดบางชนิด การทานยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น ยารักษาโรคหวัด ยาขยายหลอดลม ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ


การรักษา
-การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ
-การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)
-การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion)
-การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (ablation therapy)
-การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator)
-การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (Cardiac Electrophysiology Lab - EP Lab)

กลุ่มอาหารเสริมที่อาจพบยาต้องห้ามหรือสารปลอมปน และส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการเต้นของหัวใจ

อาหารเสริมลดความอ้วน (Weight loss)
-ยาลดความอยากอาหาร เช่น Fenfluramine ทำให้ลิ้นหัวใจและที่ยึดระหว่างลิ้นหัวใจกับผนังหัวใจ (Chordae Tendineae) หนาขึ้น
-ยาลดความอยากอาหารและเร่งการเผาผลาญ เช่น Sibutramine ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น เจ็บหน้าอก นอกจากนั้นยังพบว่า ยาไซบูทรามีนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และสโตรกในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
-ยาไทรอยด์ เช่น Thyroxine ทำให้ไทรอยด์ทำงานหนัก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันสูง ใจสั่น
-มาเต หรือชาบราซิล Maté ทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว (จากผลของคาเฟอีน)

ยาเพิ่มสมรรถนะทางเพศ (Sexual enhancement)
ยากลุ่มกระตุ้นการแข็งตัวขององคชาต เช่น Sildenafil, vardenafil, tadalafil acetildenafil, hydroxyacetildenafil, hydroxyhomosildenafil, piperidenafil) ทำให้ร้อนวูบวาบ มึนงง ใจสั่น ความดันตก

าหารเสริม หรือยาเพิ่มสมรรถนะร่างกายในนักกีฬา (Athletic performance enhancement)
ยาสังเคราะห์กลุ่มฮอร์โมนเพศชาย 19‐norandrosterone, metandienone, stanozolol, testosterone ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Possible myocardial infarction)

อาหารเสริมไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หากจำเป็น ควรตรวจการทำงานของตับ เช่น ตรวจเอนไซม์ตับ (AST, ALT) การทำงานของไต (BUN, Cr) ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้ ควรหยุดใช้ทันทีและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรดังนั้นหากจะใช้อาหารเสริม ควรที่จะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆ ว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ ผ่านมาตรฐานการผลิตหรือไม่ ส่วนผสมมีอะไรบ้าง เพราะหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากส่วนผสมชนิดใด จะได้เก็บไว้เป็นข้อมูลและระวังในการใช้ต่อไป



ขอบคุณที่มา โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ / โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ / โรงพยาบาลเปาโล / โรงพยาบาลสมิติเวช
ภาพจาก AFP




ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง