TNN online "ฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" เปิดสาเหตุทำไมโรคนี้? ถึงทำให้เสียชีวิต

TNN ONLINE

Health

"ฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" เปิดสาเหตุทำไมโรคนี้? ถึงทำให้เสียชีวิต

ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เปิดสาเหตุทำไมโรคนี้? ถึงทำให้เสียชีวิต

"ฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" เปิดสาเหตุทำไมโรคนี้ถึงทำให้เสียชีวิต! เตือนประชาชนให้ระวังเกิดได้ทุกเพศทุกวัย

"ฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" ความคืบหน้ากรณีนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เกิดอาการวูบหมดสติ คาดว่าน่าจะเกิดจากอาการฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เนื่องจากอากาศร้อนจัด ขณะซ้อมแข่งรถยนต์ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเตรียมแข่งขันและต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล


"ฮีทสโตรก" หรือ "โรคลมแดด" เปิดสาเหตุทำไมโรคนี้ถึงทำให้เสียชีวิต


กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เตือนประชาชนให้ระวังโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทยในช่วงนี้ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ โรคนี้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย และอันตรายถึงชีวิต


โรคลมแดด หรือ "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke)  


โรคลมแดด หรือ "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke)   เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน พบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นในฤดูร้อน 


อาการโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก


อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อยๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ ปวดศีรษะ หน้ามืด กระสับกระส่าย ซึม สับสน ชัก ไม่รู้สึกตัว ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบสมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เมื่อพบผู้ที่มีอาการจากโรคลมแดด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว


ใครเสี่ยงมีอาการโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก


โรคลมแดดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน กลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดดได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่ออกกำลังกายหรือใช้กำลังมากเป็นเวลานาน รวมถึงประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยระยะพักฟื้น 


การป้องกันโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก


สำหรับการป้องกัน สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลือกเวลา ที่ต้องการทำกิจกรรม เช่น ช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน ผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ 


ความเสี่ยงของการเป็นโรคลมแดด


หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้เสียน้ำทางปัสสาวะในปริมาณสูง หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคลมแดดได้ หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งควรปกป้องตนเองจากแสงแดด โดยอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น สวมใส่เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี หมวก ร่ม ถือเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด 

นอกจากนี้ การอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้ง ซึ่งมีอันตรายมาก นอกจากต้องพบกับอากาศร้อนแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซพิษ ที่มีผลต่อระบบประสาทจึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม โรคลมแดดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งผู้ที่เกิดอาการต้องได้รับความช่วยเหลือในทันที ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสมองและอวัยวะ ที่สำคัญในร่างกาย


ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เปิดสาเหตุทำไมโรคนี้? ถึงทำให้เสียชีวิต


 


ข้อมูลจาก กรมการแพทย์

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง